โครงการ ปันรัก ปันสุข เยี่ยมบ้านบูรณาการสำหรับกลุ่มเปราะบาง

detail

ปันรัก ปันสุข เยี่ยมบ้านบูรณาการ ระบบบริการไร้รอยต่อ เราจะไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง

1. ขั้นตอน/กระบวนการดำเนินงาน (Procedure/Process)

โครงการปันรัก ปันสุข เยี่ยมบ้านบูรณาการสำหรับกลุ่มเปราะบาง ได้รับทุนสนับสนุนการดำเนินโครงการจากกองทุนศูนย์ดูแลกลางวันสำหรับผู้สูงอายุ ตำบลโนนหนามแท่ง จำนวน 20,000 บาท  มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการดูแลกลุ่มเปราะบางแบบบูรณาการไร้รอยต่อ โดยมีกระบวนการดำเนินงาน ดังนี้

1.1 ประชุมคณะทำงาน ประกอบด้วย ตัวแทนคณะทำงานศูนย์ดูแลกลางวันสำหรับผู้สูงอายุ ตำบลโนนหนามแท่ง เครือข่ายอาสาสมัครชุมชนตำบลโนนหนามแท่ง ร่วมกับภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จังหวัดอำนาจเจริญ องค์การบริหารส่วนจังหวัดอำนาจเจริญ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอำนาจเจริญ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเมือง ภาคการเมือง อาจารย์ผู้รับผิดชอบวิชาอนามัยครอบครัว คณะสาธารณสุขศาสตร์ วิทยาเขตอำนาจเจริญ มหาวิทยาลัยมหิดล และโรงพยาบาลอำนาจเจริญ เป็นต้น ตัวแทนอเพื่อชี้แจงโครงการปันรัก ปันสุข เยี่ยมบ้านบูรณาการสำหรับกลุ่มเปราะบาง เพื่อวางแผนการดำเนินงานร่วมกัน ได้แก่ การค้นหากลุ่มเปราะบางที่มีปัญหาซับซ้อน ประสานภาคีเครือข่าย และวางแผนการเยี่ยมบ้าน

1.2 บูรณาการร่วมกับโครงการ การพัฒนาและยกระดับขีดความสามารถของเครือข่ายอาสาสมัครชุมชนในการดูแลช่วยเหลือ ติดตามหนุนเสริมศักยภาพเพื่อการดำรงชีวิตที่ยั่งยืนของกลุ่มผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กลุ่มคนยากลำบากและเปราะบางทางสังคม ตำบลโนนหนามแท่ง จังหวัดอำนาจเจริญ ปีงบประมาณ 2566 ซึ่งได้รับงบประมาณสนับสนุนจากมูลนิธิหญิงชายก้าวไกล จำนวน 51,050 บาท โดยการค้นหาและพัฒนาศักยภาพอาสาสมัคร/ผู้นำแห่งอนาคต ได้แก่ การรับสมัครอาสาสมัครและผู้นำแห่งอนาคต การคัดเลือกจากเครือข่ายในชุมชน การอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครและผู้นำแห่งอนาคต อบรมเชิงปฏิบัติการ “ครูพี่เลี้ยงอาสา” ในการโค้ชและการติดตาม ระบบการให้ปรึกษาเกี่ยวกับการทำงานในพื้นที่สำหรับเครือข่ายอาสาสมัครที่ทำงานในพื้นที่ต่อเนื่องตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป และประชุมเชิงปฏิบัติการ การออกแบบระบบการดูแล ช่วยเหลือ ติดตามและ หนุนเสริมศักยภาพกลุ่มผู้ได้รับผลกระทบจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กลุ่มคนยากลำบาก และเปราะบางทางสังคม ที่มีปัญหาซับซ้อนเพื่อการดำรงชีวิตที่ยั่งยืน

1.3 พัฒนาระบบฐานข้อมูลกลุ่มเปราะบางที่มีปัญหาซับซ้อนที่ต้องให้การดูแลช่วยเหลือ โดยมีศูนย์แพทย์โนนหนามแท่งเป็นศูนย์ประสานงานและศูนย์จัดการข้อมูลกลุ่มเปราะบางระดับตำบล ครอบคลุมทั้ง 14 หมู่บ้าน

1.4 พัฒนาระบบสื่อสารการเยี่ยมกลุ่มเปราะบาง สำหรับเครือข่ายอาสาสมัครชุมชนตำบลโนนหนามแท่ง โดยการตั้งกลุ่มไลน์ เครือข่ายอาสาสมัครชุมชน ตำบลโนนหนามแท่ง เพื่อให้อาสาสมัครรายงานข้อมูลกลุ่มเปราะบาง และรายงานผลการติดตามเยี่ยมรายสัปดาห์

1.5 ประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนารูปแบบการเยี่ยมบ้านบูรณาการสำหรับกลุ่มเปราะบาง ได้แก่ การจัดทำแผนการเยี่ยมบ้านรายกรณี การจัดหาวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นในการเยี่ยมบ้าน การรับบริจาคผ่านกองทุนศูนย์ดูแลกลางวันสำหรับผู้สูงอายุ ตำบลโนนหนามแท่ง การพัฒนานวัตกรรมเพื่อส่งเสริมสุขภาพและฟื้นฟูสภาพกลุ่มเปราะบางโดยนักศึกษาหลักสูตรสาธารณสุขศาสตร์ วิทยาเขตอำนาจเจริญ ชั้นปีที่ 3 โดยบูรณาการร่วมกับรายวิชาอนามัยครอบครัว สนับสนุนงบประมาณในการพัฒนานวัตกรรมโดยวิทยาเขตอำนาจเจริญ มหาวิทยาลัยมหิดล กองทุนศูนย์ดูแลกลางวันสำหรับผู้สูงอายุ ตำบลโนนหนามแท่ง และผู้มีจิตศรัทธา

1.6 คณะทำงานและภาคีเครือข่ายลงพื้นที่เยี่ยมบ้านบูรณาการสำหรับกลุ่มเปราะบางตามแผนการเยี่ยมบ้านรายกรณี โดยร่วมกันดูแลตามปัญหาความต้องการรายกรณี เฝ้าระวัง ป้องกัน ร่วมจัดการดูแล ช่วยเหลือ ติดตาม หนุนเสริมศักยภาพ โดยจัดกิจกรรมในรูปแบบศูนย์ดูแลกลางวันสำหรับผู้สูงอายุสัญจร ไปเปิดให้บริการยังบ้านกลุ่มเปราะบาง เช่น การสระผม  การตัดผม การร่วมกันทำความสะอาดบ้าน การให้ความรู้เพื่อการดูแลสุขภาพ และประสานภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องในการให้การดูแลแบบไร้รอยต่อ เช่น การปรับปรุงห้องน้ำ และการประสานส่งต่อ เป็นต้น

1.7 นักศึกษาหลักสูตรสาธารณสุขศาสตร์ ชั้นปีที่ 3 ร่วมกับอาจารย์ประจำรายวิชาอนามัยครอบครัว หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต วิทยาเขตอำนาจเจริญ มหาวิทยาลัยมหิดล ลงพื้นที่มอบนวัตกรรมส่งเสริมสุขภาพและฟื้นฟูสภาพกลุ่มเปราะบาง จำนวน 5 ราย โดยมีนวัตกรรม ประกอบด้วย 1) เสื่อลำเพลินสะเวินใจ 2) มุมปลอดภัยไอรอนแมน 3) รถเข็นโดเรมอน 4) มุมผ่อนคลายสบายไต และ 5) ตาราง 9 ช่อง สอดส่องผู้สูงอายุ พร้อมทั้งให้ความรู้ในการใช้งานนวัตกรรมแก่กลุ่มเปราะบาง ผู้ดูแลในครอบครัวและอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านที่รับผิดชอบ กำกับ ติดตาม และประเมินผล

1.8 ลงพื้นที่เยี่ยมบ้านกลุ่มเปราะบางที่มีปัญหาซับซ้อน เช่น ผู้ที่เจ็บป่วยติดเตียงและอาศัยอยู่ลำพัง ขาดผู้ดูแล จึงดำเนินการค้นหาญาติ ให้การดูแลระหว่างยังไม่สามารถติดต่อญาติได้ และได้ประสานสานส่งต่อญาติเพื่อรับกลุ่มเปราะบางที่ไปดูแลต่อที่จังหวัดกรุงเทพมหานคร โดยได้รับความอนุเคราะห์การส่งต่อกลุ่มเปราะบางจากมูลนิธิเพชรเกษม จังหวัดอำนาจเจริญและผู้มีจิตศรัทธาร่วมบริจาคสมทมทุนค่าเดินทาง

1.9 สรุปผลการดำเนินงาน ปัญหา อุปสรรค การดูแลช่วยเหลือเพื่อปรับปรุงแก้ไข และติดตามเยี่ยมกลุ่มเปราะบางรายกรณี ตามแผนการเยี่ยมบ้าน ทุก 1 เดือน

1.10 สรุปบทเรียนการดำเนินงานโครงการปันรัก ปันสุข เยี่ยมบ้านบูรณาการสำหรับกลุ่มเปราะบาง และพัฒนาข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการดูแลกลุ่มเปราะบาง เพื่อให้เกิดระบบการดูแลแบบไร้รอยต่อ

ประโยชน์หรือผลลัพธ์

2.1 ชุดข้อมูลกลุ่มเปราะบางที่มีปัญหาซับซ้อน

2.2 มีระบบการสื่อสารเพื่อการดูแลช่วยเหลือกลุ่มเปราะบางที่มีประสิทธิภาพ

2.3 รูปแบบการดูแลกลุ่มเปราะบางแบบบูรณาการไร้รอยต่อโดยชุมชนมีส่วนร่วม

2.4 กลุ่มเปราะบางได้รับการดูแลแบบบูรณาการไร้รอยต่อโดยทีมเยี่ยมบ้านบูรณาการ จำนวน 10 ราย

2.5 เกิดข้อเสนอเชิงนโยบายในการดูแลกลุ่มเปราะบางแบบบูรณาการ ไร้รอยต่อ

2.6 เกิดภาคีเครือข่ายในการดูแลกลุ่มเปราะบางแบบบูรณาการ ไร้รอยต่อ2.7 กลุ่มเปราะบางมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น

2.8 กลุ่มเปราะบางได้รับนวัตกรรมส่งเสริมสุขภาพและฟื้นฟูสภาพ จำนวน 5 ราย

2.9 กลุ่มเปราะบางได้รับงบประมาณปรับปรุงซ่อมแซมบ้านจากสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จังหวัดอำนาจเจริญ จำนวน 1 ราย

2.10 กลุ่มเปราะบางได้รับการประสานส่งต่อหาญาติผู้ดูแลในรายที่อาศัยอยู่ลำพัง จำนวน 1 ราย  

กลุ่มเป้าหมายหรือพื้นที่ที่ได้รับประโยชน์ 

กลุ่มเปราะบางที่มีปัญหาซับซ้อน ตำบลโนนหนามแท่ง อำเภอเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ

ระดับผลลัพธ์ 

ระดับท้องถิ่น 

ความต่อเนื่องและระยะเวลาของการดำเนินงาน 

ระยะการดำเนินโครงการ เดือนกุมภาพันธ์ ถึงเดือนกรกฎาคม ภายหลังสิ้นสุดโครงการ คณะทำงานศูนย์ดูแลกลางวันสำหรับผู้สูงอายุ ตำบลโนนหนามแท่ง และเครือข่ายอาสาสมัครชุมชน ร่วมกับภาคีเครือข่ายยังคงร่วมกันดำเนินการต่อโดยมีทีมอาจารย์จากโครงการจัดตั้งวิทยาเขตอำนาจเจริญร่วมเป็นคณะทำงาน โดยมีทีมศูนย์แพทย์โนนหนามแท่งเป็นเจ้าภาพหลักในการจัดการระบบข้อมูล การกำกับ ติดตามและการประสานงานภาคีเครือข่ายในการดูแลกลุ่มเปราะบางอย่างต่อเนื่อง

 

Partners/Stakeholders

1) โครงการจัดตั้งวิทยาเขตอำนาจเจริญ

2) ศูนย์ดูแลกลางวันสำหรับผู้สูงอายุ ตำบลโนนหนามแท่ง

3) โรงพยาบาลอำนาจเจริญ

4) ศูนย์แพทย์โนนหนามแท่ง

5) โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านคำน้อย

6) องค์การบริหารส่วนตำบลโนนหนามแท่ง

7) สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดอำนาจเจริญ

8) องค์การบริหารส่วนจังหวัดอำนาจเจริญ

9) สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอำนาจเจริญ

10) สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเมืองอำนาจเจริญ

11) ศูนย์สุขภาวะครอบครัว โครงการจัดตั้งวิทยาเขตอำนาจเจริญ มหาวิทยาลัยมหิดล

12) ภาคการเมืองในพื้นที่ ได้แก่ พรรคภูมิใจไทย

13) กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เครือข่ายอาสาสมัครชุมชน และภาคประชาชนในตำบลโนนหนามแท่ง

14) นิคมอำนาจเจริญ

ผู้ดำเนินการหลัก
อ.ดร.ไพรินทร์ ยอดสุบัน
ส่วนงานหลัก
ผู้ดำเนินการร่วม
1) นายแพทย์สุรพร ลอยหา 2) นางรัตนา สาระคุณ 3) นางสาวณิชชา พันธุ์วรรณ 4) อ.ดร.สุภาวดี พันธุมาศ 5) ดร.เรืองอุไร อมรไชย 6) ดร.อรรถพงษ์ ฤทธิทิศ 7) ผศ.ดร.วาทินี สุนทรา 8) อ.ดร.หนึ่งฤทัย เสนาราษฎร์ 9) นายอานนท์ ยอดหอ 10) นายสุชาติ พลชัย 11) นางสาวนิตยา บัวสาย 12) นางนลินี กินาวงศ์13) นางสาวชลิตดา ขันแก้ว 14) นายสิทธิโชค โสเสมอ15) นายสิทธิพงษ์ พงษ์เสือ 16) นางทัศนีย์ ร่มเย็น 17) นางสาวสำราญ เหล็กงาม18) นายอุดมสิน รตนธงชัย 19) นายทศพงศ์ บุญพุฒ 20) นางสมปอง เคลือสูงเนิน