โครงการ MFA – MU Capacity Building for Medical and Health Science Education Hub

detail

การพัฒนาศักยภาพบุคลากรโดยผู้เชี่ยวชาญระดับโลก (Train the Trainers) นำไปสู่การยกระดับการรักษาพยาบาล การสร้างเครือข่าย และการกระจายองค์ความรู้สู่การพัฒนาทางการแพทย์นอกประเทศ (Training the Others) โดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนา 

มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับกรมความร่วมมือระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ ตกลงทำบันทึกความเข้าใจ ในปี 2564 เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาศักยภาพบุคลากรทางการแพทย์และวิทยาศาสตร์สุขภาพของมหาวิทยาลัยมหิดลด้วยเทคนิควิธีการที่ทันสมัยผ่านผู้เชี่ยวชาญจากสถาบันระดับโลก (Train the Trainers) ซึ่งนำไปสู่การถ่ายทอดองค์ความรู้ที่ได้รับจากผู้เชี่ยวชาญต่อไปยังบุคลากรในภาคส่วนนั้นๆ ทั้งในการรักษาพยาบาลประชาชนในประเทศและการกระจายองค์ความรู้สู่การพัฒนาทางการแพทย์นอกประเทศ (Training the Others) ในประเทศกำลังพัฒนาโดยเฉพาะในกลุ่ม CLMV ตลอดจนเป็นการสร้างเครือข่ายทางการแพทย์ในระดับภูมิภาคและนานาชาติ เพื่อส่งเสริมยุทธศาสตร์ทางการทูตเพื่อการพัฒนา (Development Diplomacy) และการทูตเชิงเวชการ (Medical Diplomacy)  โดยความร่วมมือดังกล่าวสอดคล้องกับ Sustainable Development Goals ในด้าน Partnerships for the goals ตอบโจทย์ยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยในด้าน Education for Sustainability เนื่องจากมุ่งเน้นในด้านของการพัฒนาองค์ความรู้ของบุคลากรด้านการแพทย์ในประเทศไทย ซึ่งจะเป็นผู้ทำหน้าที่ส่งต่อองค์ความรู้ไปยังประเทศที่กำลังพัฒนาต่อไป ซึ่งภายใต้ความร่วมมือดังกล่าวมีโครงการจาก 3 ส่วนงาน เข้าร่วม จำนวน 6 โครงการ ดังนี้

  1. การปลูกถ่ายตับอ่อน คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
  2. การปลูกถ่ายไตจากพื้นฐานสู่ขั้นสูง คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
  3. การผ่าตัดโรคต้อหินในเด็ก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
  4. การผ่าตัดปลูกถ่ายกระจกตาขั้นสูง คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
  5. การจัดประชุมวิชาการและการประชุมเชิงปฏิบัติการทางการแพทย์ด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟู เพื่อแพทย์และบุคลากรด้านการฟื้นฟูไทยและใยภูมิภาคอาเซียน คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
  6. การใช้ข้อมูลจีโนมในการศึกษาโรคติดเชื้อจากเซลล์เดียวถึง BIG Data คณะเวชศาสตร์เขตร้อน

           โดย 3 โครงการได้เริ่มการดำเนินการภายใต้ความร่วมมือดังกล่าวตั้งแต่ต้นปี 2565 ดังนี้

  • โครงการการใช้ข้อมูลจีโนมในการศึกษาโรคติดเชื้อจากเซลล์เดียวถึง BIG Data โดยคณะเวชศาสตร์เขตร้อน ได้จัดอบรมด้าน Bioinformatics and Data Visualization in COVID-19 Genomic Surveillance (Level 1) ผ่านระบบออนไลน์ ในวันที่ 10 มีนาคม 2564 โดยการอบรมดังกล่าว มีผู้เข้าร่วมจากประเทศไทย ประเทศเวียดนาม ประเทศฟิลิปปินส์ ประเทศเนปาล สาธารณรัฐประชาธิปไทยประชาชนลาว และราชอาณาจักรกัมพูชา รวมจำนวน 52 คน โดยการอบรมเน้นในการการให้ความรู้เรื่องการระบาดโดยการใช้ข้อมูล Phylogenetics
  • โครงการการผ่าตัดโรคต้อหินในเด็ก โคยคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล จัดประชุมวิชาการนานาชาติ ผ่านระบบออนไลน์ ภายใต้หัวข้อ Thailand-International conference: Things you need to know in Childhood glaucoma surgery ในวันที่ 20 มีนาคม 2565 มีผู้เชี่ยวชาญระดับนานาชาติจาก Oregon Health & Science University, University of Virginia จากสหรัฐอเมริกา และ Moorfields Eye Hospital & Great Ormon Street Hospital จาก ราชอาณาจักรอังกฤษ เป็นวิทยากรให้ความรู้ ซึ่งการประชุมดังกล่าวมีจุดประสงค์เพื่อสร้างเครือข่ายของบุคลากรด้านจักษุวิทยากับสถาบันชั้นนำของต่างประเทศ และเพื่อเตรียมความพร้อมในการขยายองค์ความรู้ไปยังประเทศกำลังพัฒนาในภูมิภาคใกล้เคียง โดยมีผู้เข้าร่วมจากประเทศไทย สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ประเทศมาเลเซีย ประเทศมองโกเลีย ประเทศอินโดนีเซีย และสาธารณรัฐประชาธิปไทยประชาชนลาว รวมจำนวน 229 คน 
  • การปลูกถ่ายไตจากพื้นฐานสู่ขั้นสูง โคยคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ได้จัดอบรม Basic to Advance Kidney Transplantation ในวันที่ 25 พฤษภาคม 2565 ให้กับ บุลคากรด้านการแพทย์จาก Mittaphab Hospital สาธารณรัฐประชาธิปไทยประชาชนลาว จำนวน 18 คน เป็นเวลา 2 อาทิตย์ การอบรมดังกล่าวครอบคลุมการผ่าตัดปลูกถ่ายไตขั้นพื้นฐานเพื่อเตรียมความพร้อมในการเรียนรู้การปลูกถ่ายไตขั้นสูงจากผู้เชี่ยวชาญระดับนานาชาติในลำดับถัดไป ทั้งนี้ มีกำหนดการในการจัดอบรมครั้งถัดไปในวันที่ 4-12 กรกฎาคม 2565 
Partners/Stakeholders

กรมความร่วมมือระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ (Thailand International Cooperation Agency (TICA))

ผู้ดำเนินการหลัก
กองวิเทศสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ส่วนงานหลัก
ผู้ดำเนินการร่วม
กรมความร่วมมือระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ
ส่วนงานร่วม