การส่งเสริมศักยภาพของผู้ประกอบการสตรีและเสริมสร้างภาวะผู้นำของสตรีข้ามเพศในภาคธุรกิจ (Capacity Building for Female Entrepreneurs and Leadership Learning Program for Transwomen in Business Organizations)

detail

การลดช่องว่างในการเป็นผู้ประกอบการที่มีประสิทธิภาพในการทำธุรกิจ และ การเป็นผู้นำองค์กรในภาคธุรกิจระหว่างชายหญิงเป็นหนึ่งในเป้าประสงค์เพื่อการสร้างและส่งเสริมแนวคิดด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน ดังนั้นโครงการนี้จึงขับเคลื่อนด้วยกิจกรรมทต่างๆในโครงการย่อยที่เน้น การสร้างความตระหนักถึงบทบาทของสตรีในภาคธุรกิจในช่วงงานวันสตรีสากล การถอดรหัสผู้นำสตรีและวิเคราะห์ทักษะที่จำเป็นต่อผู้นำสตรี รวมไปถึง การวิจัยแนวทางการพัฒนาศักยภาพการทำธุรกิจและการเป็นผู้นำของสตรีและสตรีข้ามเพศในองค์กรภาคธุรกิจ

แนวคิด

วิทยาลัยการจัดการเป็นหนึ่งในหน่วยงานในมหาวิทยาลัยมหิดลที่สนับสนุนและส่งเสริมศักยภาพของสตรีที่ทำงานในกลุ่มบริหารและจัดการองค์กร เนื่องจากปัญหาการเลือกปฏิบัติต่อสตรี โดยเฉพาะอย่างยิ่งการก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งผู้นำ หรือ ผู้กำหนดนโยบายขององค์กรต่างๆนั้นยังปรากฏในหลายองค์กร ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่จะต้องมีการสนับสนุน ส่งเสริมเพื่อสร้างโอกาสในการเป็นผู้นำ เป็นต้นแบบ และ เป็นแรงบันดาลใจให้กับสตรีท่านอื่นๆในประเทศไทย

โครงการนี้จึงเกิดขึ้นจากกลุ่มนักวิชาการที่ให้ความสำคัญต่อประเด็นความเท่าเทียมระหว่างเพศและการจัดการองค์กร โดยมีวัตถุประสงค์ในการพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ๆในการเพิ่มพูนทักษะ และ แนวทางการบริหาร รวมไปถึงแนวทางในการส่งเสริมสตรีให้มีความสามารถในการเป็นผู้บริหารองค์กร สามารถพัฒนาทักษะในเชิงเทคโนโลยี และ ทักษะในการประกอบอาชีพที่อาจจะออกแบบมาเพื่อเอื้อประโยชน์ให้กับเพศชายและมีการเลือกปฎิบัติเกิดขึ้น ในภาพรวม โครงการนี้มีวัตถุประสงค์หลักได้แก่

  • การศึกษา และ วิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้เรื่องการพัฒนาศักยภาพสตรี และ แนวทางการเรียนรู้ทักษะใหม่ๆ ในการบริหารธุรกิจ หรือ จัดการองค์กร เช่น ด้านเทคโนโลยี ด้านข้อมูลและการตัดสินใจ รวมไปถึงการยนำนวัตรกรรมต่างๆมาใช้ในการประกอบการยุคปัจจุบัน
  • การพัฒนาองค์ความรู้ และ นำไปขยายผลเพื่อการพัฒนาสตรีกลุ่มเป้าหมาย
  • การสร้างสื่อการเรียนรู้และเวทีพื่อการเรียนรู้ในประเด้นความเท่าเทียมชายหญิง และโอกาสในการพัฒนาทักษะของสตรีต่อสาธารณะ และ ร่วมพัฒนาเครือข่ายในการสร้างทักษะและศักยภาพให้สตรี และ สตรีข้ามเพศ

 

ขั้นตอนและกิจกรรม

การจัดกิจกรรมเพื่อสร้างความรับรู้และเฉลิมฉลองในเทศกาลวันสตรีสากล 2022

หน่วยพัฒนาอย่างยั่งยืนได้ร่วมมือกับองค์กรภายนอก เช่น  the United Nations PRME  RMIT University (Australia) และ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในการจัดกิจกรรมเสวนาออนไลน์เรื่อง ถอดรหัสภาวะผู้นำสตรี โดยสัมภาษณ์และถอดรหัสการเป็นผู้นำของสตรีทีประสบความสำเร็จในประเทศมาเลเชีย (Priya Sharma) ออสเตรเลีย (Prof. Ngan Collins) ไทย (แอนชิลี สก๊อตเคมิส) เป็นต้น โดยนักศึกษาและเจ้าหน้าที่ของวิทยาลัยการจัดการสามารถเข้าร่วมชมได้เช่นกัน

 

งานวิจัยในการพัฒนาศักยภาพสตรีในการเป็นผู้นำในภาคธุรกิจ

นักวิจัยสองท่านของวิทยาลัยการจัดการได้ศึกษาและพัฒนาองค์ความรู้เพื่อนำไปต่อยอดในประเด็นนี้ ประกอบด้วย รศ. ชนินทร์ อยู่เพชร ได้วิจัยและตีพิมพ์บทความเรื่อง Women empowerment, attitude toward risk-taking and entrepreneurial intention in the hospitality industry ในวารสาร International Journal of Culture Tourism and Hospitality Research (Q2)  และ รศ. ณัฐวุฒิ พิมพาตีพิมพ์บทความวิจัยเรื่อง Overcoming Gender Gaps in Entrepreneurship Education ในวารสาร Frontiers in Education (Q2) โดยงานวิจัยทั้งสองฉบับมีเป้าหมายในการพัฒนาทฤษฎี องค์ความรู้ในการพัฒนาทักษะ และ การออกแบบการพัฒนาทักษะทางการทำงานที่เหมาะสมกับสตรี

 

การพัฒนาหลักสูตรการอบรมความเป็นผู้นำของสตรีข้ามเพศในโครงการณ์ Diversity Thailand

วิทยาลัยการจัดการได้รับความร่วมมือจาก องค์กร Bangkok Rainbow Organization (BRO) ที่ทำงานในด้านสุขภาวะ และ สิทธิมนุษยชนสำหรับผู้มีความหลากหลายทางเพศ ผลิตสื่อการเรียนรู้สาธารณะภายใต้การจัดการของกลุ่ม Trans for Career ซึ่งอยู่ในสถานะองค์กรไม่มุ่งหวังผลกำไร แต่เน้นการพัฒนาความเท่าเทียมในหลายมิติของกลุ่มบุคคลผู้มีความหลากหลายทางเพศ โดยเฉพาะกลุ่มสตรีข้ามเพศที่ยังคบประสบปัญหาการเข้าถึงงานที่เหมาะสมเนื่องจากการเลือกปฏิบัติ โดยหัวข้อการอบรมจะเน้นด้านการพัฒนาสภาวะผู้นำสตรีในด้าน เทคโนโลยี และ การตัดสินใจเชิงกลยุทธ์  (หมายเหตุ โครงการณ์นี้ได้รับเงินอุดหนุนจากรัฐบาลแคนาดาสู่องค์กร BRO พันธมิตรของวิทยาลัยการจัดการ  ในการพัฒนาโครงการตามแนวการวิจัย)

 

 

ตัวชี้วัดความสำเร็จ

  • จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม เช่น The 2022 International Women's Day , Trans for Career Training (online and offline)
  • ข้อเสนอแนะจากผู้เข้าร่วมกิจกรรมในสองอีเวน์หลัก
  • จำนวนการกล่าวอ้างอิงถึงงานวิชาการในสาขานี้

เป้าประสงค์ตามแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน:  SDG 5

  • Enhance the use of enabling technology, in particular information and communications technology, to promote the empowerment of women.
  • Adopt and strengthen sound policies and enforceable legislation for the promotion of gender equality and the empowerment of all women and girls at all levels.
Partners/Stakeholders

Bangkok Rainbow Organization

ผู้ดำเนินการหลัก
รศ. ณัฐวุฒิ พิมพา
ส่วนงานหลัก