Education for Sustainability

Education for Sustainability
Education for Sustainability
Goal
Through curriculum and extra-curriculum
การบูรณาการแนวคิดด้านความยั่งยืนสู่การเรียนการสอน ตลอดจนการเรียนรู้จากประสบการณ์จริง
Strategic Goals
วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์
1. เพื่อพัฒนาส่วนงานให้มีธรรมาภิบาลอย่างเป็นระบบ
2. เพื่อให้มหาวิทยาลัยมีโครงสร้างและระบบงานที่ตอบสนองต่อพันธกิจหลัก และการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์
3. เพื่อให้บุคลากรของมหาวิทยาลัยมีศักยภาพตอบสนองต่อการบรรลุวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัย
4. เพื่อให้ส่วนงานเกิดความเข้าใจและตระหนักถึงการเป็น Self-Sufficiency Organization
5. เพื่อให้มหาวิทยาลัยเป็น Digital University
6. เพื่อให้มหาวิทยาลัยเป็น Eco University
7. เพื่อสร้าง Brand MAHIDOL ในระดับสากล
Strategic Intiatives
กลยุทธ์
1. วางระบบสื่อสาร และผลักดันให้มีการดำเนินงานตามหลักธรรมาภิบาลอย่างทั่วถึงทั้งมหาวิทยาลัย
2. สร้างความเข้มแข็งในการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยตามกระบวนการแผนยุทธศาสตร์
3. ปรับโครงสร้างมหาวิทยาลัยและ/หรือส่วนงาน โดยใช้แนวคิดทางธุรกิจ (business-oriented) ที่สามารถพึ่งพา ตนเองได้
4. พัฒนาระบบ Central Operating System และถ่ายทอดสู่ทุกส่วนงาน เพื่อให้เกิดกระบวนการทำงานที่มี ประสิทธิภาพสูง
5. พัฒนาขีดความสามารถของวิทยาเขตต่างๆ อย่างมียุทธศาสตร์และเป็นไปตามนโยบายของมหาวิทยาลัย
6. จัดทำและถ่ายทอดแผนยุทธศาสตร์การบริหารทรัพยากรบุคคลไปยังทุกส่วนงานของมหาวิทยาลัย และสร้างระบบ การบริหารจัดการทรัพยากรบุคคลที่มีประสิทธิภาพและเอื้อต่อการผลักดันยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัย
7. พัฒนาขีดความสามารถในการบริหารจัดการทางการเงินของทุกส่วนงานให้มีประสิทธิภาพอย่างยั่งยืน
8. เพิ่มขีดความสามารถและสร้างโอกาสในการสร้างรายได้ และการบริหารสินทรัพย์ให้คุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด
9. พัฒนาและปรับปรุงเทคโนโลยีดิจิตอลเพื่อสนับสนุนพันธกิจหลักและพันธกิจสนับสนุนอื่นๆ รวมถึงการสร้าง ฐานข้อมูลกลาง (Big Data) เพื่อการตัดสินใจ
10. เพิ่มประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากรและระบบสาธารณูปโภคที่ลด carbon footprint และส่งเสริมความปลอดภัยด้านอาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม
11. ใช้ระบบคุณภาพระดับชาติและนานาชาติ เพื่อสร้างการบริหารจัดการอย่างยั่งยืน
12. สร้างคู่พันธมิตรทางยุทธศาสตร์กับมหาวิทยาลัย/หน่วยงานระดับโลก (Strategic Partner)
13. ประชาสัมพันธ์ Brand MAHIDOL อย่างมียุทธศาสตร์
14. ส่งเสริมภารกิจของมหาวิทยาลัยเพื่อความยั่งยืน (SDGs)
Case Study
  • thumb
    04 17
    24 ส.ค. 2565
    โครงการสัมมนาวิชาการ การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน ครั้งที่ 7 : นวัตกรรมการสอนและการเรียนรู้ในโลกยุคดิจิทัล
    สถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้เข้าร่วมเป็นภาคีเครือข่ายในการจัดโครงการงานสัมมนาวิชาการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนครั้งที่ 3 ได้จัดขึ้นภายใต้ theme หลัก คือ นวัตกรรมการสอนและการเรียนรู้ในโลกยุคดิจิทัล โดยมีภาคีหลักในการจัดสัมมนาวิชาการ คือ สถาบันคลังสมองของชาติ สำนักนวัตกรรมการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยขอนแก่น สถาบันการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • thumb
    04
    24 ส.ค. 2565
    การดำเนินโครงการสัมมนาวิชาการออนไลน์ (Webinar) “Applications for Effective Teaching and Learning”
    โครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สัมมนาวิชาการออนไลน์ (Webinar) “Applications for Effective Teaching and Learning” ให้แก่ผู้บริหาร นักการศึกษา ครู อาจารย์ นักศึกษา บุคลากรและบุคคลทั่วไป ในระหว่างเดือนกรกฎาคม - กันยายน 2564 ผ่านระบบ Zoom meeting เพื่อเพิ่มพูนความรู้ความเข้าใจในการใช้งาน Application ต่าง ๆ เพื่อให้สามารถประยุกต์ในจัดการเรียนรู้ การประเมินผล และการทำงานบนระบบออนไลน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • thumb
    04
    24 ส.ค. 2565
    กิจกรรมส่งเสริมการศึกษา ให้แก่ นักเรียน นักศึกษา นักวิจัย เพื่อพัฒนาทักษะ และเพิ่มพูนความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
    เป็นการอบรมเชิงปฏิบัติการ เพื่อถ่ายทอดความรู้ และทักษะด้านวิทยาศาสตร์ทางการแพทย์ และทางการเกษตร เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการ มีความรู้เบื้องต้น ในทักษะการฝึกภาคปฏิบัติการด้านชีววิทยาศาสตร์โมเลกุลและพันธุวิศวกรรม ระดับที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาในโรงเรียน และเพื่อเสริมสร้างประสบการณ์ในการปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการแก่ผู้เข้าร่วมโครงการ มีการเรียนการสอนภาคบรรยายและภาคปฏิบัติในห้องปฏิบัติการวิจัย โดยวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ
  • thumb
    04
    17 ส.ค. 2565
    โครงการพัฒนาระบบคำบรรยายรายวิชาพื้นฐานระบบดิจิทัลเพื่อพัฒนาการเรียนรู้สำหรับนักศึกษาปริญญาตรี
    หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับความร่วมมือและสนับสนุนในด้านต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเรียนการสอนในรายวิชาพื้นฐานของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 และชั้นปีที่ 2 โดยทีผ่านมาหอสมุดและคลังความรู้ฯ ได้รับความร่วมมือจากคณะวิทยาศาสตร์และเงินสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยในการจัดทำโครงการบริการวีดิทัศน์คำบรรยายรายวิชาพื้นฐานระบบดิจิตัล ซึ่งเป็นการบันทึกการเรียนการสอนในห้องเรียนจากอาคารบรรยายรวมที่มีอยู่ในพื้นที่มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา และได้เปิดให้นักศึกษาได้เข้ามาศึกษาทบทวนบทเรียนย้อนหลัง ซึ่งมีจำนวนนักศึกษาเข้ามาใช้บริการจำนวนมาก
  • thumb
    10 04
    1 ส.ค. 2565
    บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล สนับสนุนทุนช่วยเหลือนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาที่มีความพิการ
    บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล สนับสนุนทุนช่วยเหลือนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาที่มีความพิการเพื่อเพิ่มโอกาสทางการศึกษาให้แก่นักศึกษาพิการระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
  • thumb
    04
    1 ส.ค. 2565
    โครงการ Mahidol Apprenticeship Program (MAP)
    บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล ได้จัดทำโครงการ Mahidol Apprenticeship Program (MAP) ซึ่งเป็นรูปแบบการจัดการศึกษาของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดลที่เปิดกว้างสำหรับผู้สนใจเข้าศึกษา/บุคคลทั่วไป สามารถเข้าศึกษา โดยไม่จำกัดอายุ พื้นฐานการศึกษา หรืออาชีพ มุ่งให้ผู้เรียนเพิ่มพูน พัฒนาความรู้และทักษะที่จำเป็นในการปฏิบัติงาน
  • thumb
    17 03 04
    25 ก.ค. 2565
    โครงการ MFA – MU Capacity Building for Medical and Health Science Education Hub
    มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับกรมความร่วมมือระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ ตกลงทำบันทึกความเข้าใจ ในปี ๒๕๖๔ เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาศักยภาพบุคลากรทางการแพทย์และวิทยาศาสตร์สุขภาพของมหาวิทยาลัยมหิดลด้วยเทคนิควิธีการที่ทันสมัยผ่านผู้เชี่ยวชาญจากสถาบันระดับโลก (Train the Trainers) ซึ่งนำไปสู่การถ่ายทอดองค์ความรู้ที่ได้รับจากผู้เชี่ยวชาญต่อไปยังบุคลากรในภาคส่วนนั้นๆ ทั้งในการรักษาพยาบาลประชาชนในประเทศและการกระจายองค์ความรู้สู่การพัฒนาทางการแพทย์นอกประเทศ (Training the Others) ในประเทศกำลังพัฒนาโดยเฉพาะในกลุ่ม CLMV ตลอดจนเป็นการสร้างเครือข่ายทางการแพทย์ในระดับภูมิภาคและนานาชาติ เพื่อส่งเสริมยุทธศาสตร์ทางการทูตเพื่อการพัฒนา (Development Diplomacy) และการทูตเชิงเวชการ (Medical Diplomacy) โดยความร่วมมือดังกล่าวสอดคล้องกับ Sustainable Development Goals ในด้าน Partnerships for the goals ตอบโจทย์ยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยในด้าน Education for Sustainability เนื่องจากมุ่งเน้นในด้านของการพัฒนาองค์ความรู้ของบุคลากรด้านการแพทย์ในประเทศไทย ซึ่งจะเป็นผู้ทำหน้าที่ส่งต่อองค์ความรู้ไปยังประเทศที่กำลังพัฒนาต่อไป ซึ่งภายใต้ความร่วมมือดังกล่าวมีโครงการจาก ๓ ส่วนงาน
  • thumb
    05 01 04
    24 ก.ค. 2565
    การส่งเสริมศักยภาพของผู้ประกอบการสตรีและเสริมสร้างภาวะผู้นำของสตรีข้ามเพศในภาคธุรกิจ (Capacity Building for Female Entrepreneurs and Leadership Learning Program for Transwomen in Business Organizations)
    โครงการที่มุ่งเป้าการพัฒนาควาสมเป็นผู้นำองค์กร และ ทักษะในการประกอบการยุคใหม่ทั้งดิจิตัลเทตโนโลยี การบริหารองค์กร และ การจัดการทรัพยากรเพื่อผู้ประกอบการสตรี และ ผู้นำสตรีข้ามเพศ
  • thumb
    04
    23 ก.ค. 2565
    การพัฒนาการศึกษาและทักษะด้านการจัดการเพื่อการพัฒนาอย่างอย่างยั่งยืน (The Development of Management Education and Skills for Sustainable Development)
    โครงการเพื่อพัฒนาการ สำหรับการศึกษาด้านการจัดการเพื่อการพัฒนาอย่างอย่างยั่งยืนมีวัตถุประสงค์ในการเสริมสร้างทักษะ และ ความรู้ที่เหมาะสม และ เกี่ยวข้องกับการจัดการธุรกิจและองค์กรตามแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน รวมไปถึงการส่งเสริมการเข้าถึงการศึกษาด้านการจัดการที่มีคุณภาพแก่บุคคลทั่วไป
  • thumb
    30 มิ.ย. 2565
    การเฝ้าระวังควบคุมป้องกันโรค COVID-19 5 ชุมชน หน้าคณะสาธารณสุขศาสตร์ ถอดบทเรียน: Factory Isolation (FAI)
    การเฝ้าระวังควบคุมป้องกันโรค COVID-19 5 ชุมชน หน้าคณะสาธารณสุขศาสตร์ ถอดบทเรียน: Factory Isolation (FAI)
  • thumb
    04
    26 ส.ค. 2565
    หลักสูตรการพัฒนาและคุ้มครองเด็กที่ได้รับประสบการณ์ชีวิตไม่พึงประสงค์
    ดำเนินการจัดการเรียนรู้ออนไลน์ในหลักสูตร “การพัฒนาและคุ้มครองเด็กที่ได้รับประสบการณ์ที่ไม่พึงประสงค์” โดยเข้าร่วมอบรมผ่านระบบ moodle e - learning ทั้งหมด 16 บทเรียน และมีการพบปะผ่านระบบออนไลน์ zoom application เพื่อให้ผู้ดูแลเด็กในชุมชนและหน่วยบริการเด็กปฐมวัยทุกรูปแบบ ครูและผู้ดูแลเด็กวัยเรียนในโรงเรียนและนอกระบบการศึกษา ผู้ให้บริการสุขภาพในสถานพยาบาล และผู้ทำหน้าที่คุ้มครองสวัสดิภาพเด็ก เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาและคุ้มครองเด็กทุกระดับ เกี่ยวข้อง ผู้นำชุมชน และ ผู้บริหารหน่วยงาน ได้เข้ามาเรียนรู้และนำความรู้ได้รับไปใช้การดำเนินงานต่อไป
  • thumb
    04
    26 ส.ค. 2565
    หลักสูตรผู้ประคอง : การสร้างสิ่งแวดล้อมปลอดภัย ด้วยการเลี้ยงดูเชิงบวก
    ดำเนินการจัดการเรียนรู้ออนไลน์ในหลักสูตร “หลักสูตรผู้ประคอง : การสร้างสิ่งแวดล้อมปลอดภัย ด้วยการเลี้ยงดูเชิงบวก ” โดยเข้าร่วมอบรมผ่านระบบ moodle e - learning ทั้งหมด 3 บทเรียน และมีการพบปะผ่านระบบออนไลน์ zoom application 2 ครั้ง บทที่ 1 ผู้ปกครอง Vs. ผู้ประคอง บทที่ 2 ผู้ประคอง ต้องทำใจ ประมวลสาระ 3 เรื่อง พัฒนาการองค์รวม การทำงานของสมอง 3 ส่วน หลักการสร้างวินัยเชิงบวก บทที่ 3 เครื่องมือประเมินความพร้อมตนเองของ “ ผู้ประคอง ” “ผู้ประคอง”หากผู้ประคองจะไม่คิดแทน ทำแทน และให้โอกาสให้เด็ก ๆ สร้างตัวตน และพัฒนาความรู้สึกนึกคิดตัวเองแล้ว ผู้ประคองต้องให้ความสำคัญกับการฝึกใน และ ใคร่ครวญ ทบทวนสะท้อนคิดถึงการเลี้ยงดูของตนเอง
จำนวนทั้งหมด 58 รายการ