หลักสูตรวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีการจัดการสิ่งแวดล้อม (ET)

detail
SDGs ที่่เกี่ยวข้อง

หลักสูตรมุ่งสร้างมหาบัณฑิตที่มีวิสัยทัศน์ มีความรู้ความสามารถทางวิชาการในระดับสูง มีคุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณให้มีศักยภาพในการวางแผนและบริหารจัดการงานด้านสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน 

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

          เมื่อสิ้นสุดการเรียนการสอนตามหลักสูตรแล้ว มหาบัณฑิตจะมีคุณลักษณะตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับบัณฑิตศึกษา ดังนี้

          1. มีคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณทางวิชาการ และจรรยาบรรณทางวิชาชีพด้านเทคโนโลยีการจัดการสิ่งแวดล้อม

          2. มีความรู้และความเข้าใจในหลักการและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับศาสตร์ด้านเทคโนโลยีการจัดการสิ่งแวดล้อม สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง ติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องเชื่อมโยงกับการบูรณาการสหสาขาวิชา

          3. มีทักษะในการวิเคราะห์ วิจารณ์ สังเคราะห์และสร้างงานวิจัยด้านเทคโนโลยีการจัดการสิ่งแวดล้อม ดำเนินกระบวนการวิจัยได้อย่างถูกต้องเป็นไปตามจริยธรรมการวิจัย

          4. มีความรับผิดชอบ สามารถทำงานได้อย่างอิสระและมีทักษะการทำงานเป็นทีมกับผู้อื่นในกลุ่มสหวิทยาการ

          5. มีทักษะในการวิเคราะห์เชิงตัวเลข สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้นข้อมูลรวบรวม วิเคราะห์ เพื่อการจัดการสิ่งแวดล้อม และสามารถสื่อสาร ทั้งการฟัง พูด อ่าน เขียน ตลอดจนนำเสนอได้อย่างเหมาะสม

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตร (PLOs)

1. มีจรรยาบรรณทางวิชาการและจรรยาบรรณทางวิชาชีพด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและจริยธรรมสิ่งแวดล้อม

2. มีความรู้และใช้เทคโนโลยี ในการป้องกัน ฟื้นฟูและแก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมได้อย่างยั่งยืน

3. สามารถบูรณาการองค์ความรู้ เพื่อแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมและสร้างสรรค์ผลงาน นำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน

4. สามารถทำงานเป็นทีมร่วมกับผู้อื่นและวางแผนการเรียนรู้ของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ

5. สามารถใช้ทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในการสื่อสารที่ดีทั้งการฟัง พูด อ่าน เขียนและถ่ายทอดองค์ความรู้อย่างถูกหลักวิชาการไปยังผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้อย่างมีประสิทธิภาพ

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษาในแผน ก แบบ ก2

  1. สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรี ทุกสาขาวิชา จากสถาบันอุดมศึกษาที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมรับรอง
  2. ได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 2.50
  3. มีผลคะแนนภาษาอังกฤษผ่านตามเกณฑ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล
  4. กรณีผู้สมัครชาวต่างชาติ ต้องมีคุณสมบัติเป็นไปตามแนวปฏิบัติมาตรฐานความรู้ภาษาไทยขั้นต่ำสำหรับชาวต่างชาติที่มาศึกษาต่อในหลักสูตรภาษาไทยระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
  5. ผู้ที่มีคุณสมบัติต่างจากที่กำหนดใน (2) ถึงข้อ (4) อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการคัดเลือกเข้าศึกษา ตามดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตร และคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย

 คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษาในแผน ข

  1. สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรี ทุกสาขาวิชา จากสถาบันอุดมศึกษาที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมรับรอง
  2. ได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 2.50
  3. มีผลคะแนนภาษาอังกฤษผ่านตามเกณฑ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล
  4. มีประสบการณ์การทำงานในสาขาวิชาด้านสิ่งแวดล้อม หรือสาขาวิชาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างน้อย 1 ปี
  5. กรณีผู้สมัครชาวต่างชาติ ต้องมีคุณสมบัติเป็นไปตามแนวปฏิบัติมาตรฐานความรู้ภาษาไทยขั้นต่ำสำหรับชาวต่างชาติที่มาศึกษาต่อในหลักสูตรภาษาไทยระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
  6. ผู้ที่มีคุณสมบัติต่างจากที่กำหนดใน (2) ถึงข้อ (5) อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการคัดเลือกเข้าศึกษา ตามดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตร และคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย

โครงสร้างหลักสูตร รายวิชา

จัดการศึกษาตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการเรื่อง เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2558 หลักสูตรปริญญาโท แผน ก แบบ ก2 และแผน ข ดังนี้

 

แผน ก แบบ ก 2

แผน ข

(1) หมวดวิชาแกน

6 หน่วยกิต

6 หน่วยกิต

(2) หมวดวิชาบังคับ

12 หน่วยกิต

12 หน่วยกิต

(3) หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า

6 หน่วยกิต

12 หน่วยกิต

(4) วิทยานิพนธ์

12 หน่วยกิต

(5) สารนิพนธ์

-

6 หน่วยกิต

 

โครงการวิจัยของหลักสูตร (วิทยานิพนธ์)

          วิทยานิพนธ์ของหลักสูตร สร้างโครงการและดำเนินการวิจัยครอบคลุมกลุ่มการวิจัยด้านต่าง ๆ อาทิ การจัดการทรัพยากรด้านต่าง ๆ การจัดการมลพิษสิ่งแวดล้อม การฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม การจัดการพิบัติและการฟื้นตัว เครื่องมือเพื่อการจัดการสิ่งแวดล้อม นโยบายและการวางแผนจัดการทรัพยากรสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น ซึ่งสอดึล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goal-SDGs) ทิศทางการวิจัยบูรณาการของคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ การเขียนวิทยานิพนธ์อย่างเป็นระบบ แบบแผน การนำเสนอวิทยานิพนธ์ การเขียนรายงานและบทความวิจัย

โครงสร้างศึกษาอิสระของหลักสูตร (สารนิพนธ์)

          โครงการศึกษาอิสระ (สารนิพนธ์) ของหลักสูตรเป็นรายงานการศึกษาที่นักศึกษาสืบค้นและสังเคราะห์งานวิจัยมาพัฒนาเขียนเป็นรายงานในลักษณะการให้ความคิดริเริ่มและสร้างสรรค์ความรู้ใหม่เพื่อนำไปสู่การประยุกต์ในการจัดการสิ่งแวดล้อม นักศึกษาสามารถสืบค้นงานวิจัยที่ครอบคลุมกลุ่มการวิจัยด้านต่าง ๆ เช่น

          1. การจัดการทรัพยากรด้านต่าง ๆ เช่น ดิน น้ำ ป่าไม้ สัตว์ป่า

          2. การจัดการมลพิษสิ่งแวดล้อม

          3. การฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม

          4. การจัดการพิบัติภัยและฟื้นตัว

          5. เครื่องมือเพื่อการจัดการสิ่งแวดล้อม

          6. นโยบายและการวางแผนจัดการสิ่งแวดล้อม

          7. การจัดการสิ่งแวดล้อมของชุมชนเพื่อความยั่งยืน

          8. การพัฒนาอุตสาหกรรมสีเขียว

          9. การจัดการสิ่งแวดล้อมกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน 

Partners/Stakeholders

- หน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชน ที่นักศึกษาฝึกงาน

- แหล่งทุนการศึกษา 

ผู้ดำเนินการหลัก
รศ.ดร.กาญจนา นาคะภากร
ส่วนงานหลัก
ผู้ดำเนินการร่วม
ผศ.ดร.สุรีย์วัลย์ สิทธิจันดา