โครงการเสวนาวิชาการ เรื่อง “กัญชา เสรี จะดีหรือร้าย?”

detail

การเสวนาวิชาการ เรื่อง “กัญชา เสรี จะดีหรือร้าย” เสวนาในมิติกฎหมายการแพทย์ และผลกระทบต่อเยาวชน เป็นโครงการเสวนาวิชาการภายใต้ความร่วมมือระหว่างหลักสูตรปรัชชาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาอาชญาวิทยา การบริหารงานยุติธรรมและสังคม (ภาคพิเศษ) คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และฝ่ายบริการวิชาการ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัย มีจุดมุ่งหมายเพื่อแสดงสาระสำคัญของข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับกัญชา และเปิดโอกาสให้สาธารณชนได้ทราบถึงประโยชน์ทางการแพทย์ และโทษของกัญชาที่ส่งผลกระทบต่อเยาวชนซึ่งจะทำให้ประชาชนเข้าใจวิธีการและรูปแบบการใช้กัญชาที่ถูกต้องเหมาะสม และยังช่วยลดปัญหาการใช้กัญชาไม่เหมาะสมในเยาวชนที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต โดยได้จัดขึ้นในวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ.2565 เวลา 09.00-11.00 น. ในรูปแบบออนไลน์ผ่านระบบ Zoom Meeting โดยมีคณาจารย์ และนักวิจัยมหาวิทยาลัยมหิดลและมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ รวมถึงคณาจารย์ และนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยอื่น ๆ ข้าราชการ เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติหน้าที่ในกระบวนการยุติธรรมและประชาชนทั่วไป ประมาณ 70-100 คนเข้าร่วม นับว่าเป็นความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนข้อ 17 (Partnerships for the Goals) โดยได้รับความร่วมมือจากฝ่ายบริการวิชาการ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในการร่วมมือการดำเนินโครงการ ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวสอดคล้องเป็นประโยชน์ในการส่งเสริมการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนข้อ 3 มีสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี (Good Health and Well-Being) และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนข้อ16 สังคมสงบสุข ยุติธรรม ไม่แบ่งแยก (Peace, Justice and Strong Institutions)

เนื่องจากประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ระบุชื่อยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 พ.ศ.2565 มีผลบังคับใช้เมื่อ 9 มิ.ย.2565 ส่งผลให้ทุกส่วนของพืชกัญชา-กัญชง ไม่เป็นยาเสพติด ยกเว้นสารสกัดที่มีปริมาณสารเตตราไฮโดรแคนาบินอล (tetrahydrocannabinol – THC) เกิน 0.2% ที่ยังเป็นยาเสพติด หรืออาจกล่าวได้ว่า การปลดล็อกพืชกัญชาจากการเป็นยาเสพติดมีผลโดยสมบูรณ์ในวันที่ 9 มิถุนายน 2565 ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนสามารถปลูกกัญชาเพื่อใช้ในครัวเรือน การดูแลผู้ป่วย หรือเชิงพานิชย์ได้โดยไม่ต้องขออนุญาต แต่ต้องจดแจ้งผ่านแอปพลิเคชั่นและเว็บไซด์ ปลูกกัญ ของ อย. ที่จัดทำขึ้น และสามารถถอนการจดแจ้งได้เมื่อพบการกระทำความผิดที่ไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งการปลดล็อคในครั้งนี้ทำให้ประชาชนสามารถปลูกกัญชาได้อย่างถูกกฎหมาย

 

กัญชามีสาร 2 ชนิด ที่สามารถนำมาใช้เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ได้ กล่าว คือ กัญชามีสารทีเอชซี (THC) ซึ่งมีฤทธิ์กระตุ้นประสาททำให้เกิดความรู้สึกเคลิบเคลิ้มมึนเมา และสารซีบีดี (CBD) ที่มีฤทธิ์ระงับประสาท ทำให้เกิดความรู้สึกผ่อนคลาย ลดความกังวล และความเจ็บปวด กระทรวงสาธารณสุขจึงมีนโยบายสนับสนุนการใช้ประโยชน์จากกัญชา โดยมีเป้าหมายหลักเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ ลดการนำเข้ายาจากต่างประเทศ ส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย โดยได้นำตำรับยากัญชาบรรจุในบัญชียาหลักแห่งชาติแล้ว 8 ตำรับ นอกจากนี้ยังสามารถนำมาต่อยอดในผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ทำให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม รวมถึงเพื่อให้ประชาชนมีทางเลือกในการดูแลสุขภาพของตนเอง

 

อย่างไรก็ตาม กัญชายังมีผลกระทบที่รุนแรงต่อสมองของเด็กและวัยรุ่น เช่น พัฒนาการล่าช้า ปัญหาพฤติกรรม เชาวน์ปัญญาลดลง และส่งผลกระทบต่อด้านอารมณ์และจิตใจ เช่น เสี่ยงต่อการป่วยเป็นโรคจิตเภทภาวะฆ่าตัวตาย เสี่ยงต่อการเกิดสารเสพติดชนิดอื่น ๆ รวมถึงส่งผลเสียต่อสุขภาพกายทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ทั้งนี้ รายงานสำนักแพทย์ พบว่า หลังจากการปลดล็อกกัญชา พบเด็กอายุ 16 ปี เสพกัญชาเกินขนาด ต้องรักษาตัวอยู่ในห้องพักผู้ป่วยวิกฤตที่โรงพยาบาล และเด็กอายุ 17 ปีกับชายอายุ 25 ปี มีอาการใจสั่น ซึ่งเป็นผลข้างเคียงจากการเสพกัญชา และยังพบผู้เสียชีวิตจากการเสพกัญชาเกินขนาด เหตุการณ์เหล่านี้เกิดขึ้นหลังจากการประกาศปลดล็อกกัญชาในประเทศไทย ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่า ประชาชนบางส่วนยังไม่เข้าใจถึงวิธีการและรูปแบบการใช้กัญชาที่ถูกต้องและเหมาะสม ซึ่งแทนที่จะเกิดประโยชน์ กลับกลายเป็นโทษอย่างรุนแรง

 

การเสวนาวิชาการ เรื่อง “กัญชา เสรี จะดีหรือร้าย” เสวนาในมิติกฎหมายการแพทย์ และผลกระทบต่อเยาวชน เป็นโครงการเสวนาวิชาการภายใต้ความร่วมมือระหว่างหลักสูตรปรัชชาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาอาชญาวิทยา การบริหารงานยุติธรรมและสังคม (ภาคพิเศษ) คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และฝ่ายบริการวิชาการ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัย ดังนั้น การเสวนาในครั้งนี้จึงมีจุดมุ่งหมายเพื่อแสดงสาระสำคัญของข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับกัญชา และเปิดโอกาสให้สาธารณชนได้ทราบถึงประโยชน์ทางการแพทย์ และโทษของกัญชาที่ส่งผลกระทบต่อเยาวชนซึ่งจะทำให้ประชาชนเข้าใจวิธีการและรูปแบบการใช้กัญชาที่ถูกต้องเหมาะสม และยังช่วยลดปัญหาการใช้กัญชาไม่เหมาะสมในเยาวชนที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต โดยได้จัดขึ้นในวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ.2565 เวลา 09.00-11.00 น. ในรูปแบบออนไลน์ผ่านระบบ Zoom Meeting โดยมีคณาจารย์ และนักวิจัยมหาวิทยาลัยมหิดลและมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ รวมถึงคณาจารย์ และนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยอื่น ๆ ข้าราชการ เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติหน้าที่ในกระบวนการยุติธรรมและประชาชนทั่วไป ประมาณ 70-100 คนเข้าร่วม นับว่าเป็นความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนข้อ 17 (Partnerships for the Goals) โดยได้รับความร่วมมือจากฝ่ายบริการวิชาการ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในการร่วมมือการดำเนินโครงการ ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวสอดคล้องเป็นประโยชน์ในการส่งเสริมการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนข้อ 3 มีสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี (Good Health and Well-Being) และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนข้อ16 สังคมสงบสุข ยุติธรรม ไม่แบ่งแยก (Peace, Justice and Strong Institutions)

Partners/Stakeholders

-

ผู้ดำเนินการหลัก
รองศาสตราจารย์ ดร.พรรณชฎา ศิริวรรณบุศย์, อาจารย์ ดร.ตฤณห์ โพธิ์รักษา และอาจารย์ ดร.เขมธิดา เพ็ชรแต้ม ภาควิชาสังคมศาสตร์
ส่วนงานหลัก
ผู้ดำเนินการร่วม
ฝ่ายบริการวิชาการ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์