Education for Sustainability

Education for Sustainability
Education for Sustainability
Goal
Through curriculum and extra-curriculum
การบูรณาการแนวคิดด้านความยั่งยืนสู่การเรียนการสอน ตลอดจนการเรียนรู้จากประสบการณ์จริง
Strategic Goals
วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์
1. เพื่อพัฒนาส่วนงานให้มีธรรมาภิบาลอย่างเป็นระบบ
2. เพื่อให้มหาวิทยาลัยมีโครงสร้างและระบบงานที่ตอบสนองต่อพันธกิจหลัก และการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์
3. เพื่อให้บุคลากรของมหาวิทยาลัยมีศักยภาพตอบสนองต่อการบรรลุวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัย
4. เพื่อให้ส่วนงานเกิดความเข้าใจและตระหนักถึงการเป็น Self-Sufficiency Organization
5. เพื่อให้มหาวิทยาลัยเป็น Digital University
6. เพื่อให้มหาวิทยาลัยเป็น Eco University
7. เพื่อสร้าง Brand MAHIDOL ในระดับสากล
Strategic Intiatives
กลยุทธ์
1. วางระบบสื่อสาร และผลักดันให้มีการดำเนินงานตามหลักธรรมาภิบาลอย่างทั่วถึงทั้งมหาวิทยาลัย
2. สร้างความเข้มแข็งในการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยตามกระบวนการแผนยุทธศาสตร์
3. ปรับโครงสร้างมหาวิทยาลัยและ/หรือส่วนงาน โดยใช้แนวคิดทางธุรกิจ (business-oriented) ที่สามารถพึ่งพา ตนเองได้
4. พัฒนาระบบ Central Operating System และถ่ายทอดสู่ทุกส่วนงาน เพื่อให้เกิดกระบวนการทำงานที่มี ประสิทธิภาพสูง
5. พัฒนาขีดความสามารถของวิทยาเขตต่างๆ อย่างมียุทธศาสตร์และเป็นไปตามนโยบายของมหาวิทยาลัย
6. จัดทำและถ่ายทอดแผนยุทธศาสตร์การบริหารทรัพยากรบุคคลไปยังทุกส่วนงานของมหาวิทยาลัย และสร้างระบบ การบริหารจัดการทรัพยากรบุคคลที่มีประสิทธิภาพและเอื้อต่อการผลักดันยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัย
7. พัฒนาขีดความสามารถในการบริหารจัดการทางการเงินของทุกส่วนงานให้มีประสิทธิภาพอย่างยั่งยืน
8. เพิ่มขีดความสามารถและสร้างโอกาสในการสร้างรายได้ และการบริหารสินทรัพย์ให้คุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด
9. พัฒนาและปรับปรุงเทคโนโลยีดิจิตอลเพื่อสนับสนุนพันธกิจหลักและพันธกิจสนับสนุนอื่นๆ รวมถึงการสร้าง ฐานข้อมูลกลาง (Big Data) เพื่อการตัดสินใจ
10. เพิ่มประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากรและระบบสาธารณูปโภคที่ลด carbon footprint และส่งเสริมความปลอดภัยด้านอาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม
11. ใช้ระบบคุณภาพระดับชาติและนานาชาติ เพื่อสร้างการบริหารจัดการอย่างยั่งยืน
12. สร้างคู่พันธมิตรทางยุทธศาสตร์กับมหาวิทยาลัย/หน่วยงานระดับโลก (Strategic Partner)
13. ประชาสัมพันธ์ Brand MAHIDOL อย่างมียุทธศาสตร์
14. ส่งเสริมภารกิจของมหาวิทยาลัยเพื่อความยั่งยืน (SDGs)
Case Study
  • thumb
    04 03
    2 ก.ย. 2565
    โครงการผู้สูงอายุรู้ทันสื่อ: สร้างหลักสูตรและขยายเครือข่ายนักสื่อสารสุขภาวะ (Media Literate Elderly: Creating Media Literacy Course and Expanding Networks of Communicators for Well-being)
    สร้างเสริมการรู้เท่าทันสื่อให้ผู้สูงอายุไทยในเมืองและชนบท พร้อมขยายผลให้แกนนำผู้สูงอายุใน 5 พื้นที่
  • thumb
    04
    2 ก.ย. 2565
    ม.มหิดล – NECTEC – ม.นเรศวร ร่วมส่งเสริม “เยาวชนไทยทรงดำ” สร้างสรรค์ “พิพิธภัณฑ์ดิจิทัล” เปิดโลกแห่งการเรียนรู้ที่ไม่มีวันสิ้นสุด
    ส่งเสริม “เยาวชนไทยทรงดำ” สร้างสรรค์ “พิพิธภัณฑ์ดิจิทัล” เปิดโลกแห่งการเรียนรู้ที่ไม่มีวันสิ้นสุด
  • thumb
    16 10
    1 ก.ย. 2565
    กลุ่มถักทอสันติภาพ (กทส.) (Weaving Peace Together)
    กลุ่มถักทอสันติภาพ (กทส.) มีวัตถุประสงค์ 5 ประการ 1) ส่งเสริมให้เครือข่ายชาวพุทธเป็นที่รู้จักและได้รับการยอมรับ 2)ส่งเสริมให้เครือข่ายชาวพุทธมีความเข้าใจและดำเนินการร่วมกัน 3)นำเสนอความต้องการ ความกลัว และความกังวลของชาวพุทธ 4)ทำงานร่วมกับชุมชนชาวพุทธอย่างจริงจัง 5)ร่วมมือกับชุมชนมุสลิมเพื่อสร้างอนาคตอันสงบสุขร่วมกัน ประกอบด้วยบุคลากรสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา และเครืออข่ายชาวพุทธ ร่วมออกแบบโครงการย่อยตาม 4 แนวเรื่อง ได้แก่ ชุมชนพุทธเข้มแข็ง ความสัมพันธ์ระหว่างชาวพุทธ-มุสลิม การส่งเสริมกระบวนการสันติภาพ การสื่อสารและการเชื่อมต่อสังคม ผลผลิตสำคัญ ได้แก่ องค์ความรู้ และการเกิดขึ้นของกลุ่มถักทอสันติภาพ
  • thumb
    04 11 15
    31 ส.ค. 2565
    SIREEPARK 360 Virtual Tour
    ม.มหิดล เปิดโลกเมตาเวิร์สท่องอุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติครั้งแรก แม้วิกฤติ COVID-19 จะทำให้ “แลนด์มาร์ค” (landmark) หรือสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าประทับใจหลายจุดในประเทศไทยต้องหลับใหลงดเปิดให้บริการเยี่ยมชม แต่ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลจะไม่ทำให้ระยะทาง เวลา หรืออุปสรรคใดๆ มาคอยขวางกั้น “ห้องเรียนธรรมชาติ” จากสมุนไพรนานาชนิด สู่โลกแห่งการเรียนรู้ที่ไร้ขีดจำกัด นับเป็นครั้งแรกของ “อุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ” แห่งโครงการจัดตั้งสถาบันอุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งเป็นหนึ่งใน “แลนด์มาร์ค” ที่สำคัญของจังหวัดนครปฐม ที่จะได้ “ย่อโลก” สมุนไพรนานาชนิด และธรรมชาติอันอุดมสมบูรณ์ ในพื้นที่ 140 ไร่ ซึ่งนับเป็นความภาคภูมิใจของ มหาวิทยาลัยมหิดล ในฐานะ “ปัญญาของแผ่นดิน” เข้าสู่ “โลกแห่งเมตาเวิร์ส” เพื่อการเรียนรู้ที่ไม่มีวันสิ้นสุดในโลกเสมือนจริง
  • thumb
    04 09
    29 ส.ค. 2565
    โครงการ Mahidol Historical Learning Experience "เด็กไทยใจมหิดล"
    จัดทําแอปพลิเคชันเกมในลักษณะ Web Application จํานวน 1 แอปพลิเคชัน เพื่อส่งเสริมการรับรู้ เกี่ยวกับประวัติความเป็นมาและเรื่องราวที่น่าสนใจของมหาวิทยาลัยมหิดล ตลอดจนพื้นที่ชุมชนโดยรอบ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา ให้แก่ นักศึกษา บุคลากร และนักเรียนในพื้นที่โดยรอบ จํานวนไม่น้อยกว่า 1,000 คน วัตถุประสงค์การดำเนินโครงการเพื่อเผยแพร่ประวัติศาสตร์และเกียรติภูมิของมหาวิทยาลัยมหิดล เผยแพร่ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นในอำเภอพุทธมณฑลและพื้นที่ศาลายา เพื่อให้เยาวชนเกิดสำนึกรักในท้องถิ่น และเกิดความสนใจเกี่ยวกับมหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อสิ่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตของประชาชนทุกเพศ ทุกวัย
  • thumb
    03 17
    29 ส.ค. 2565
    การมีส่วนร่วมของชุมชนในการดูแลแบบประคับประคองผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่บ้าน ตำบลเขาทอง อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์
    แนวโน้มของความต้องการการดูแลประคับประคองที่บ้านของประชาชนมีมากขึ้น ด้วยเพราะอุบัติการณ์โรคเรื้อรัง โรคร้ายแรง โรคที่คุกคามต่อชีวิต รวมทั้งสัดส่วนผู้สูงอายุที่เพิ่มสูงขึ้น ทำให้มีผู้ป่วยระยะสุดท้าย (Terminal illness) และผู้สูงอายุระยะบั้นปลายชีวิต (End of life) จำนวนเพิ่มขึ้นตามไปด้วย การดูแลแบบประคับประคองคือการดูแลอาการเจ็บป่วยทางกาย ปัญหาทางจิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ แบบองค์รวม ตั้งแต่ระยะแรกที่เริ่มวินิจฉัยว่าอยู่ในระยะประคับประคอง (Palliative) จนกระทั่งผู้ป่วยเสียชีวิต
  • thumb
    04
    29 ส.ค. 2565
    โครงการภูมิเพลงครูผู้สร้างสรรค์
    การรวบรวมประวัติชีวิต เรื่องเล่า เกร็ดความรู้ เส้นทางการเรียน อุปสรรคชีวิต อันสำคัญที่หล่อหลอมครูให้เป็นศิลปินมีคุณค่า บันทึกไว้ในแผ่นดิน ทั้งในรูปแบบลายอักษร และวีดิทัศน์สำหรับเผยแพร่เพื่อการศึกษา ให้ครูคงอยู่ในรูปแบบความรู้ที่มีชีวิต เพื่อให้นิสิต นักศึกษา และผู้ที่สนใจ ได้เข้าถึงคำว่าศิลปินโดยสมบูรณ์ นอกจากนั้น เมื่อบันทึก อัตชีวประวัติของครูไว้แล้วอย่างครบถ้วน ข้อมูลของครูดนตรีไทยและครูดนตรีพื้นบ้านจะถูกรวบรวมเข้าเป็นชุด บันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร และเป็นเอกสารอ้างอิงเพื่อการศึกษาต่อไป
  • thumb
    29 ส.ค. 2565
    การพัฒนาอาชีพและการบ่มเพาะธุรกิจสำหรับคนพิการ “หลักสูตรอาชีพจากเครื่องยาสมุนไพร” และ “หลักสูตรอาชีพจากพรรณไม้”
    วันที่ 18-20 กรกฎาคม 2565 สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) วิทยาลัยราชสุดา และโครงการจัดตั้งสถาบันอุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล ภายใต้โครงการสร้างเสริมสมรรถนะด้านการเรียนรู้เพื่อสุขภาวะที่ยั่งยืนของคนพิการ วัตถุประสงค์ 1.4 การพัฒนาอาชีพและการบ่มเพาะธุรกิจสำหรับคนพิการ โดยมีรองศาสตราจารย์ ดร.ณัฏฐนียา โตรักษา ผู้อำนวยการโครงการจัดตั้งสถาบันอุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นผู้รับผิดชอบโครงการ ร่วมกันจัดฝึกอบรมอาชีพใน 2 หลักสูตรแบบ Authentic Learning ปฏิบัติจริงผ่านกิจกรรม DIY ทั้งรูปแบบ Online และ Onsite ณ สถานที่ตั้งของผู้เรียน
  • thumb
    04
    25 ส.ค. 2565
    โครงการจัดอบรมหลักสูตรเครื่องมือแพทย์สำหรับช่างและผู้ดูแลเครื่องมือแพทย์ ระยะสั้น 1 สัปดาห์
    เป็นการจัดอบรมเพื่อให้บุคลากรฝ่ายช่างหรือผู้ใช้เครื่องมือแพทย์ได้มีโอกาสเรียนรู้หลักการทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติในด้านของการตรวจซ่อมบำรุงรักษาเครื่องมือแพทย์ อันจะช่วยลดเวลาการตรวจสอบในขั้นต้น สามารถตัดสินปัญหาเฉพาะหน้าที่ ที่เกิดขึ้นกับเครื่องมือแพทย์เพื่อวางแผนการจัดซ่อม
  • thumb
    15 17
    25 ส.ค. 2565
    โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ : การอนุรักษ์พันธุกรรมพืชท้องถิ่นและพืชหายาก เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนสู่เป้าหมาย SDGs ระดับสากล
    การสำรวจความหลากหลายทางพันธุกรรมพืชท้องถิ่นและพฤกษศาสตร์พื้นบ้าน เพื่อจัดทำฐานข้อมูลพืชขอบเขตพื้นที่ปกปักพันธุกรรมพืช จังหวัดอำนาจเจริญ เริ่มดำเนินการในปี 2555-ปัจจุบัน โดยโครงการจัดตั้งวิทยาเขตอำนาจเจริญ ร่วมกับ ป่าชุมชนจังหวัดอำนาจเจริญ และองค์การบริหารส่วนจังหวัดอำนาจเจริญ ภายใต้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) ตามที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี วัตถุประสงค์เพื่อสนองงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) จัดทำฐานข้อมูลพืชสมุนไพรท้องถิ่น พืชอาหาร ในรูปแบบพิพิธภัณฑ์พืชของจังหวัดอำนาจเจริญ และศึกษาแนวทางการแปรรูปผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรจากทรัพยากรพืชท้องถิ่น และเป็นการเสริมศักยภาพเครือข่ายชุมชนและสร้างความผูกพันระหว่างมหาวิทยาลัยกับชุมชน ดำเนินการโดยสำรวจและเก็บข้อมูลพืชท้องถิ่นในป่าชุมชนจังหวัดอำนาจเจริญ จัดทำฐานข้อมูลความหลากหลายและการกระจายพันธุ์ของพืชท้องถิ่น รวมถึงการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากป่า โดยโครงการเน้นการมีส่วนร่วมกับหน่วยงานท้องถิ่น โรงเรียน และชุมชนในพื้นที่นำไปสู่ผลลัพท์เรื่องการอนุรักษ์พื้นที่ป่าธรรมชาติ องค์ความรู้เรื่องความหลากหลายของทรัพยากรพืชท้องถิ่นและการใช้ประโยชน์ และการปลูกจิตสำนึกในการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชของชาวจังหวัดอำนาจเจริญต่อไป
  • thumb
    03 04
    25 ส.ค. 2565
    โครงการประชุมวิชาการอุปกรณ์การแพทย์ ครั้งที่ 32 เรื่อง "โรงพยาบาลอัจฉริยะและความมั่นคงด้านสุขภาพ (Smart Hospital and Health Security)
    ในสถานการณ์ปัจจุบันความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีดิจิทัล มีพัฒนาการขึ้นเป็นอย่างมาก ตลอดจนมีการนำเอาเทคโนโลยีดิจิทัลมาสนับสนุนในการทำงานทุกระบบ เพื่ออำนวยความสะดวกในการดำเนินชีวิต ในระบบของโรงพยาบาลก็เช่นกัน การนำเอาความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีดิจิทัลมาสนับสนุนการบริการภายในโรงพยาบาล หรือทำงานแทนระบบการทำงานของผุ้บริหาร แพทย์ พยาบาล หรือผู้เกี่ยวข้อง และระบบของเครื่องมือแพทย์พร้อมทั้งเครื่องอำนวยความสะดวกต่าง ๆ เพื่อให้แต่ละงานในโรงพยาบาลมีประสิทธิภาพสูงสุด ลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน และเพื่อความสะดวกรวดเร็วในการรับบริการที่มีคุณภาพดี มีความปลอดภัย และทันสมัยอย่างเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม อันทำให้เกิดความมั่นคงทางด้านสุขภาพของผู้เข้ารับบริการ
  • thumb
    04
    24 ส.ค. 2565
    เสวนาวิชาการ สานสัมพันธ์พี่น้อง IL: “Innovation In Education” และการปฐมนิเทศออนไลน์สำหรับนักศึกษาใหม่ ปีการศึกษา 2564
    สถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ ได้ดำเนินการจัดกิจกรรมและโครงการ ตลอดปีงบประมาณ 2564 เพื่อสนองตอบเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนที่กำหนดขึ้นโดยองค์การสหประชาชาติ (United Nations: UN) และผลการดำเนินงานเพื่อความยั่งยืนของมหาวิทยาลัยมหิดล ให้แก่นักศึกษา ศิษย์เก่า และบุคลากร โดยกิจกรรมในปีงบประมาณ 2564 ประกอบด้วย เสวนาวิชาการ สานสัมพันธ์พี่น้อง IL: “Innovation In Education” และการปฐมนิเทศออนไลน์สำหรับนักศึกษาใหม่ ปีการศึกษา 2564 โดยทั้งสองกิจกรรมจัดในรูปแบบ Online
จำนวนทั้งหมด 58 รายการ