โครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งถือเป็นแกนสำคัญของการพัฒนาและขยายเมือง การพัฒนาเมืองแบบ Transit Oriented Development (TOD)

detail

Guidelines for Sustainable Development สำหรับประเทศไทย การพัฒนาเมืองแบบ TOD มีการดำเนินการในหลายภาคส่วนทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน โดยในปัจจุบันมีโครงการที่มีความคืบหน้าและปัจจัยแวดล้อมที่จะทำให้เมืองหรือชุมชนนั้นเติบโตแบบ TOD อยู่หลายแห่ง อาทิ สถานีรถไฟ Airport Link มักกะสัน สถานีรถไฟฟ้าธนบุรี-ศิริราช รวมถึงหัวเมืองใหญ่ ๆ อย่างขอนแก่นและพัทยา  

โครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งถือเป็นแกนสำคัญของการพัฒนาและขยายเมือง การพัฒนาเมืองแบบ Transit Oriented Development (TOD)
หรือหนึ่งในแนวคิดการพัฒนาเมืองและชุมชนเมืองควบคู่ไปกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่ง โดยเน้นการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่งสาธารณะที่เป็นศูนย์กลางเชื่อมต่อการเดินทาง มีการกำหนดรูปแบบการใช้ที่ดินให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อสร้างชุมชนคุณภาพ น่าอยู่อาศัย น่าลงทุนธุรกิจ เพื่อส่งเสริมให้เกิดกิจกรรมการเดินทาง เข้า-ออกพื้นที่ด้วยระบบขนส่งสาธารณะ และส่งเสริมการเดินทางในพื้นที่ด้วยการเดินทางที่ไม่ใช้เครื่องยนต์ หรือใช้การเดินทางสาธารณะ (1) Concept การบริหารเมืองของ TOD คือ การปรับเปลี่ยนการขยายตัวของเมืองแบบกระจัดการจายให้เป็นเมืองกระชับ ด้วยการพัฒนาพื้นที่อย่างมีขอบเขตและแนวทางซึ่งจะช่วยลดภาวะการเติบโตของเมืองอย่างไร้ทิศทาง

Transit Oriented Development (TOD) จะช่วยแก้ปัญหาเมือง และมีประโยชน์ต่อชุมชน ดังนี้ ภาครัฐจะมีแนวทางในการบริหารจัดการเมืองที่ชัดเจน และเป็นรูปธรรม การเปลี่ยนพฤติกรรมการเดินทางจากรถยนต์ส่วนตัวมาเป็นขนส่งสาธารณะ จะช่วยลดการก่อให้เกิดมลพิษด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งสาธารณะ รวมถึงการจัดสิ่งอำนวยความสะดวกที่เอื้อต่อการเดินเท้า หรือการปั่นจักรยาน ภายในบริเวณโดยรอบของการขนส่งสาธารณะเพื่อลดการเดินทางโดยใช้เครื่องยนต์ และส่งผลดีต่อสุขภาพ นอกจากนี้ ทางด้านเศรษฐกิจท้องถิ่นก็จะมีการพัฒนาให้ลงตัวกับทุก Life Style การใช้ชีวิต ทั้งย่านพักอาศัย ย่านการค้า ย่านธุรกิจ และพื้นที่สาธารณะ มีระบบสาธารณูปโภคและสาธารณูปการครบที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ ช่วยให้ประหยัดค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ลดการใช้พลังงาน และเสริมสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีในชุมชน

Partners/Stakeholders

กลุ่มสาขาวิชาโลจิสติกส์และระบบขนส่งทางราง คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ การรถไฟแห่งประเทศไทย บริษัท ตลาดศาลายา จำกัด และ บริษัท Nippon Koei จากประเทศญี่ปุ่น 

ผู้ดำเนินการหลัก
กลุ่มสาขาวิชาโลจิสติกส์และระบบขนส่งทางราง คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ การรถไฟแห่งประเทศไทย บริษัท ตลาดศาลายา จำกัด และ บริษัท Nippon Koei จากประเทศญี่ปุ่น
ส่วนงานหลัก