เครือข่ายผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่หลากหลายซึ่งส่งเสริมแนวทางแบบ One Health ในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศขั้นสูงเพื่อจัดการกับโรคในเขตร้อนและโรคสัตว์ที่ติดต่อสู่คนผ่านการศึกษาและการวิจัยนั้นมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อการพัฒนาให้เกิดก้าวหน้าในสาขานี้
เครือข่ายผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่หลากหลายซึ่งส่งเสริมแนวทางแบบ One Health ในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศขั้นสูงเพื่อจัดการกับโรคในเขตร้อนและโรคสัตว์ที่ติดต่อสู่คนผ่านการศึกษาและการวิจัยนั้นมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อการพัฒนาให้เกิดก้าวหน้าในสาขานี้
เพื่อให้การควบคุมโรคเขตร้อนมีประสิทธิภาพจำเป็นต้องมีการศึกษาการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมศึกษาปฏิสัมพันธ์ระหว่างประชากรมนุษย์กับสิ่งแวดล้อมมีระบบการตอบสนองต่อการระบาดอย่างรวดเร็วรวมถึงการวินิจฉัยและรักษาที่มีประสิทธิผล โดยข้อมูลเหล่านี้จะต้องมีกระบวนการในถูกการรวบรวม ผสานรวม และส่งข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งมีส่วนช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการควบคุมโรคได้อย่างมาก ทางเครือข่ายผู้วิจัยจะใช้เทคนิค Internet of Things (IoT) วิธีการด้านวิทยาศาสตร์ข้อมูล และเทคนิคการประมวลผลแบบเคลื่อนที่ (Mobile Computing) และเพื่อการใช้งานเครื่องมือเหล่านี้ให้เป็นประโยชน์ในการส่งเสริมสุขภาพองค์รวมของมนุษย์ สัตว์ และสิ่งแวดล้อม จำเป็นต้องสร้างเครือข่ายผู้เชี่ยวชาญที่แข็งแกร่งในแต่ละสาขาขึ้นอย่างมั่นคง จากนั้น ผู้เชี่ยวชาญเหล่านี้จะเผยแพร่ความรู้ภายใต้แนวทาง One Health
เครือข่ายนี้ส่งเสริมให้มีการแลกเปลี่ยนความเชี่ยวชาญและองค์ความรู้ระหว่างองค์กรพันธมิตร รวมถึงสร้างศูนย์รวมความเชี่ยวชาญในท้องถิ่นขององค์กรที่เข้าร่วม เพื่อให้แนวทางของเครือข่ายมีความยั่งยืน สมาชิกรุ่นแรกของเครือข่ายนี้ ประกอบด้วย เครือข่ายมหาวิทยาลัยสุขภาพอาเซียนตะวันออกเฉียงใต้ (SEAOHUN) กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ของไทย มหาวิทยาลัยเกษตรแห่งชาติเวียดนาม และสถาบัน VetAgro Sup ในประเทศฝรั่งเศส
กิจกรรมต่าง ๆ กำลังดำเนินการอยู่ทั้งในด้านการเรียนการสอนและการวิจัย ประกอบไปด้วยการพัฒนาหลักสูตรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศขั้นสูงที่สามารถนำมาใช้กับองค์ความรู้ด้านเวชศาสตร์เขตร้อนโดยมีส่วนร่วมจากผู้เชี่ยวชาญ และได้รวมเข้าไว้ในหลักสูตรปริญญาโทสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต (สาขา สารสนเทศ) แบบออนไลน์ ของคณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล โดยเนื้อหาการเรียนการสอนจะเผยแพร่ทางออนไลน์แบบไม่เสียค่าใช้จ่าย นอกจากนี้ ได้มีการก่อตั้งโครงการวิจัยร่วมกันในด้านต่าง ๆ เช่น ระบบสนับสนุนการวินิจฉัยโรคไข้เลือดออก การทำนายพยากรณ์โรคไข้เลือดออก การสร้างแบบจำลองการเคลื่อนย้ายของมนุษย์ที่เกี่ยวข้องกับการแพร่เชื้อ เครือข่ายเซ็นเซอร์สำหรับตรวจสอบประชากรยุง และสภาพแวดล้อมเสมือนความร่วมมือเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจควบคุมโรค
สำหรับด้านการพัฒนาและถ่ายทอดทักษะนั้น ได้มีโครงการวิจัยต้นแบบ เช่น ระบบสนับสนุนการวินิจฉัยโรคไข้เลือดออกที่กำลังทดลองใช้จริงในโรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล ระบบสืบสวนโรคไข้เลือดออกที่กรมควบคุมโรค จังหวัดชลบุรี ทดลองใช้จริง และระบบสนับสนุนการทดลองวัคซีน ซึ่งใช้สนับสนุนการทดลองวัคซีนโควิด ChulaCov19 ระยะ 1 และ 2 ของประเทศไทย นอกจากนี้ยังมีการจัดเวิร์กช็อปและโรงเรียนภาคฤดูร้อนเพื่อประสานงานโครงการและสร้างศักยภาพ โดยการประชุมและหลักสูตรต่าง ๆ ใช้แพลตฟอร์มออนไลน์ให้มากที่สุดเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมจากกลุ่มเป้าหมายที่หลากหลายทางภูมิศาสตร์
เวิร์กช็อปและโรงเรียนภาคฤดูร้อน:
เครือข่ายผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่หลากหลายซึ่งส่งเสริมแนวทางแบบ One Health ในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศขั้นสูงเพื่อจัดการกับโรคในเขตร้อนและโรคสัตว์ที่ติดต่อสู่คนผ่านการศึกษาและการวิจัยนั้นมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อการพัฒนาให้เกิดก้าวหน้าในสาขานี้