Mangrove Survivor Board game ใช้ส่งเสริมความเข้าใจเรื่องป่าชายเลนซึ่งเป็นระบบนิเวศที่เชื่อมโยงพื้นดินและน้ำทะเลเข้าด้วยกัน ตัวเกมมีต้นทุนที่ในการผลิตต่ำจึงสามารถนำไปใช้ในในทุกบริบท ทั้งในและนอกห้องเรียน
Mangrove Survivor Board game ใช้ส่งเสริมความเข้าใจเรื่องป่าชายเลนซึ่งเป็นระบบนิเวศที่เชื่อมโยงพื้นดินและน้ำทะเลเข้าด้วยกัน ตัวเกมมีต้นทุนที่ในการผลิตต่ำจึงสามารถนำไปใช้ในในทุกบริบท ทั้งในและนอกห้องเรียน
เกมกระดาน Mangrove Survivor เกิดขึ้นขากกระบวนการวิจัยและพัฒนา เพื่อใช้เป็นสื่อเสริมการเรียนรู้ เรื่อง ห่วงโซ่อาหาร สายใยอาหาร และผลกระทบอันเกิดจากปัจจัยต่าง ๆ ที่มีต่อระบบนิเวศป่าชายเลน เกมกระดานนี้ ผู้เรียนจะบันทึกความรู้ เช่น ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตต่าง ๆที่พบในระบบนิเวศป่าชายเลย รวมถึงผลกระทบ ในใบกิจกรรมระหว่างการเล่นเกมกระดาน แต่ละกลุ่มเมื่อเล่นเกมกระดานสำเร็จ จะต้องร่วมกันสรุปความรู้โดยการสร้างสายใยอาหารจากข้อมูลที่ได้รับจากเกมกระดาน และการแข่งขันตอบคำถาม เพื่อให้แน่ใจว่าผู้เรียนแต่ละคนบรรลุวัตถุประสงค์ของการเรียนรู้ เกมกระดาน Mangrove Survivor นอกจากนี้ จะทำให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เนื้อหาวิชาการผ่านเกมกระดานแล้ว ผู้เรียนสะท้อนว่าเป็นสื่อการเรียนรู้ที่สนุก ไม่น่าเบื่อ มีความสุขที่ได้เรียนรู้กับเพื่อน จากข้อค้นพบเหล่านี้สามารถสรุปได้ว่า เกมกระดาน Mangrove Survivor เหมาะสมในการใช้เป็นสื่อเสริมความรู้ความเข้าใจในเรื่องระบบนิเวศป่าชายเลน ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิตในระบบนิเวศ และส่งเสริมให้เกิดความตระหนักในการอนุรักษณ์ระบบนิเวศป่าชายเลนอีกด้วย
ผลงานวิจัยส่วนหนึ่งได้ถูกตีพิมพ์เผยแพร่ในวสารสารนานาชาติ Q1 ซึ่งในบทความวิจัยมี keyword “Mangrove ecosystem” ซึ่งเป็นคำสำคัญที่สื่อถึงงานด้าน SDGs และในบทความวิจัยได้ระบุความเกี่ยวข้องของงานวิจัยกับการขับเคลื่อน SDGs ด้วย(รายละเอียดผลงานวิจัย: Gitgeatpong, L., & Ketpichainarong, W.* (2022). Fostering Students’ Understanding in Mangrove Ecosystem: A Case Study Using the Mangrove Survivor Board Game. Simulation & Gaming, 53(2), 194-213. DOI: 10.1177/10468781221075143.)
นอกจากนี้ เกมกระดาน Mangrove Survivor จะถูกใช้เป็นตัวอย่างในการจัดการเรียนรู้ให้กับนักศึกษาระดับปริญฯโทและเอก สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีศึกษา ให้เห็นถึงความสำคัญของงานวิจัยและพัฒนาที่ต่อยอดและใช้ความรู้พื้นฐานจากงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับหอยในป่าชายเลน เพื่อสร้างนวัตกรรมการศึกษาที่สามารถใช้ได้อย่างต่อเนื่อง เหมาะกับบริบทของประเทศไทย แสดงให้เห็นได้จาก กิจกรรมการเรียนรู้ด้วยเกมกระดานนี้ ถูกใช้เป็นหนึ่งในกิจกรรมในโครงการเปิดโลกทัศน์วิทยาศาสตร์และนวัตกรรมของสถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ ซึ่งถูกร้องขอให้จัดให้กับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและปลาย ที่สนใจจากทั่วประเทศ อาทิ กรุงเทพมหานคร นนทบุรี ชัยนาท สงขลา ปัตตานี และ อุบลราชธานี จำนวนประมาณเกือบ 800 คน (ตั้งแต่ปี 2560 - ปัจจุบัน)
นักเรียนและครู ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและปลาย และนักการศึกษา