กิจกรรม “การดูแลกายใจตัวเองด้วยรูปแบบการช่วยเหลือทางจิตวิทยาแบบความเข้มข้นต่ำ (Low intensity-Intervention)” ภายใต้โครงการเพื่อนใจวัยรุ่น

detail
SDGs ที่่เกี่ยวข้อง

คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการให้คำแนะนำปรึกษาแก่นักศึกษาในการดูแลสุขภาพใจ การให้ความช่วยเหลือ การสร้างการรับรู้ รวมถึงการเสริมสร้างความเข้มแข็งและความมั่นคงภายในใจ พร้อมทั้งได้ตระหนักถึงสถานการณ์ในปัจจุบันที่มีการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) ที่จะส่งผลกระทบต่อปัญหาสุขภาพใจมากขึ้น จึงจัดกิจกรรม “การดูแลกายใจตัวเองด้วยรูปแบบการช่วยเหลือทางจิตวิทยาแบบความเข้มข้นต่ำ (Low intensity-Intervention)” ภายใต้โครงการเพื่อนใจวันรุ่น ในวันที่ 24 มีนาคม 65 เวลา 13.00 - 16.30 น.รูปแบบออนไลน์ผ่านโปรแกรม Zoom Meeting ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ในการส่งเสริมการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เป้าหมายที่ 3 มีสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี (Good Health and Well-being)

ตามที่มหาวิทยาลัยมหิดลได้มีแนวทางในการดูแลนักศึกษา และกำหนดให้แต่ละคณะสนับสนุนการให้บริการ ให้คำแนะนำปรึกษา (Counseling) และให้ความช่วยเหลือแก่นักศึกษาในด้านต่าง ๆ อาทิ (1) Home บ้าน ครอบครัว (2) Education การเรียน (3) Eating Behavior พฤติกรรมการกิน (4) Activity กิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน (5) Drug abuse or other addictions การเสพสารเสพติด ติดเกม คอมพิวเตอร์ สื่อสังคมออนไลน์ (6) Sexuality เพศสัมพันธ์ (7) Safety ความปลอดภัย (8) Suicide risk and depress mood ความคิดอยากตาย อารมณ์เศร้า นั้น

คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการให้คำแนะนำปรึกษาแก่นักศึกษาในการดูแลสุขภาพใจ การให้ความช่วยเหลือ การสร้างการรับรู้ รวมถึงการเสริมสร้างความเข้มแข็งและความมั่นคงภายในใจ พร้อมทั้งได้ตระหนักถึงสถานการณ์ในปัจจุบันที่มีการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) ที่จะส่งผลกระทบต่อปัญหาสุขภาพใจมากขึ้น จึงจัดกิจกรรม “การดูแลกายใจตัวเองด้วยรูปแบบการช่วยเหลือทางจิตวิทยาแบบความเข้มข้นต่ำ (Low intensity-Intervention)” ภายใต้โครงการเพื่อนใจวันรุ่น ในวันที่ 24 มีนาคม 65 เวลา 13.00 - 16.30 น.รูปแบบออนไลน์ผ่านโปรแกรม Zoom Meeting เพื่อมาทำความรู้จัก รูปแบบการช่วยเหลือทางจิตใจที่ผนวกวิธีกระตุ้นการทำงานของสมอง รวมกำลังข้ามสิ่งที่ขัดขวางเพื่อไปสู่เป้าหมายใหม่ ความมั่นคงภายในใจ ความเข้มแข็ง ให้คำแนะนำปรึกษาเกี่ยวกับการดูแลกายใจ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นในประเด็นทางสังคม พร้อมทั้งเป็นช่องทางหนึ่งในการพบปะและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ร่วมกันระหว่างพี่น้องนักศึกษาปัจจุบันและศิษย์เก่าภาควิชาสังคมและสุขภาพที่เรียนรานวิชาจิตวิทยาสุขภาพ นอกจากนี้ยังเป็นการตอบสนองนโยบายมหาวิทยาลัย Mahidol HIDEF ด้านสุขภาพ Health literacy อีกด้วย ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ในการส่งเสริมการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เป้าหมายที่ 3 มีสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี (Good Health and Well-being)

Partners/Stakeholders

-

ผู้ดำเนินการหลัก
หน่วยกิจการนักศึกษาและศิษย์เก่าสัมพันธ์และภาควิชาสังคมและสุขภาพ
ส่วนงานหลัก