ชะนี จัดเป็นผู้กระจายเมล็ดที่มีความสำคัญลำดับต้นๆ ของป่าเขตร้อน หากเราอนุรักษ์ชะนีให้คงอยู่ เราก็จะมีนักปลูกป่าตามธรรมชาติ
ชะนี จัดเป็นผู้กระจายเมล็ดที่มีความสำคัญลำดับต้นๆ ของป่าเขตร้อน หากเราอนุรักษ์ชะนีให้คงอยู่ เราก็จะมีนักปลูกป่าตามธรรมชาติ
จากนโยบายการการคุ้มครองสัตว์ป่าและพันธุ์พืชของมหาวิทยาลัยและของประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ เป็นอุทยานแห่งชาติแห่งแรกของประเทศไทย และเป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่มรดกโลก “ผืนป่าดงพญาเย็น – เขาใหญ่” เป็นพื้นที่ที่มีความสำคัญทางนิเวศวิทยา เป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของชนิดสัตว์และพันธุ์พืชที่หายากหรือที่ตกอยู่ในสภาวะอันตราย แต่ยังคงสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ ซึ่งรวมถึงระบบนิเวศอันเป็นแหล่งรวมความอุดมสมบูรณ์ของพืชและสัตว์ที่ทั่วโลกให้ความสนใจด้วย โดยในอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่มีชะนีสองชนิดพันธุ์ คือ ชะนีมือขาว (H. lar) และชะนีมงกุฎ (H. pileatus) ทั้งสองชนิดมีสถานภาพเป็นสิ่งมีชีวิตที่ใกล้การสูญพันธุ์ (EN – Endangered species) ตาม IUCN Red List
ผู้ริเริ่มศึกษาชะนีในอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ คือ ศ.ดร.วรเรณ บรอคเคลแมน (Prof.Warren Y. Brockelman) อดีตอาจารย์ภาคชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยมีการศึกษาตั้งแต่ปี ค.ศ.1967 เป็นต้นมา โดยมีการศึกษารอบด้าน ทั้งนิเวศวิทยา การประเมินประชากร ครอบครัวและสังคมของชะนี ถิ่นที่อยู่อาศัยและพืชอาหาร โดยมีทีมนักวิจัยทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติทำการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับชะนีในพื้นที่เขาใหญ่ในลักษณะ Long-term Study ต่อมาในปี ค.ศ. 1996 ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ได้จัดตั้ง ‘แปลงวิจัยความหลากหลายทางชีวภาพถาวรมอสิงโต’ มีพื้นที่ประมาณ 190 ไร่ ถือเป็นแปลงศึกษานิเวศวิทยาถาวรที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทย ซึ่งทีมวิจัยได้ลงพื้นที่ติดตามสำรวจกว่า 20 ปี มีการศึกษานิเวศวิทยาประชากรและชีววิทยาของชะนี ความหลากหลายของพรรณไม้ เถาวัลย์ ความสัมพันธ์ระหว่างพืชและสัตว์ รวมถึงการติดตามศึกษาพลวัตป่าแปลงวิจัยมอสิงโต จากสภาพอากาศและสิ่งมีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไป ปัจจุบันพื้นที่ดังกล่าวได้รับการสนับสนุนการทำวิจัยในระยะยาวจาก ธนาคารทรัพยากรชีวภาพแห่งชาติ (National Biobank of Thailand: NBT) สวทช.
ดร.จันทร์เพ็ญ ศรลัมพ์ เริ่มศึกษาวิจัยชะนี ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2004 ต่อมาเมื่อมาเป็นอาจารย์ประจำสาขาวิชาชีววิทยาเชิงอนุรักษ์ มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี ได้ศึกษาวิจัยในพื้นที่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่อย่างต่อเนื่อง มีการส่งนักศึกษาระดับปริญญาตรีไปฝึกปฏิบัติภาคสนาม และศึกษาวิจัยเบื้องต้น เช่น
การดำเนินการดังกล่าวเพื่อวางแผนการอนุรักษ์และคงรักษาไม่ให้สูญพันธ์ รวมทั้งการให้ความรู้แก่ชุมชน และสังคม
สำหรับการวิจัยได้มีการดำเนินการอย่างต่อเนื่องตั้งแต่การติดตามศึกษาพืชอาหารของชะนี การกระจายเมล็ด และพลวัตปา และผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ ณ แปลงศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพมอสิงโต และเรื่องนิเวศวิทยาและพฤติกรรมของชะนีมือขาวใน อุทยานแหงชาติเขาใหญ่ ประเทศไทย เริ่มตั้งแต่ปีค.ศ. 2012 และมีการดำเนินโครงการวิจัยอย่างต่อเนื่อง ซึ่งปัจจุบันโครงการวิจัยที่กำลังดำเนินการเรื่อง ความแปรผันของเสียงร้องกับบริบทเฉพะของชะนีมือขาว โดยมี Dr. Ulrich H. Reichard จาก Southern Illinois University, USA เป็นหัวหน้าโครงการ
รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับตัวอย่างผลงานวิจัย
มีการถ่ายทอดความรู้ให้กับกลุ่มเป้าหมายที่แตกต่างกันถึงพฤติกรรมของชะนีมือขาวผ่านทาง Clip VDO ผ่านทาง Mahidol Channel : Animal Speak [by Mahidol] ซึ่ง Mahidol Channel เป็นช่องที่มีผู้เข้าชมมากกว่า 1 ล้าน Subscribers ส่งผลให้มีผู้เข้าชมในวงกว้างโดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มเด็กและเยาวชน รวมถึงมีการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อสิ่งพิมพ์และ Website ต่างๆ
รายละเอียดเพิ่มเติม
มีความร่วมมือในการทำวิจัยจากหน่วยงานภายในประเทศและต่างประเทศ เช่น ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC) สวทช. The University of Nottingham Malaysia Campus (Malaysia), University of Chinese Academy of Sciences (China), Universidad del Pais (Spain), Playa Lakes Joint Venture (USA), Oregon State University (USA)
ขอขอบคุณภาพถ่ายจากคุณกุลพัฒน์ ศรลัมพ์
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC) สวทช.
The University of Nottingham Malaysia Campus (Malaysia)
University of Chinese Academy of Sciences (China)
Universidad del Pais (Spain)
Playa Lakes Joint Venture (USA)
Oregon State University (USA)