การบูรณาการการเรียนการสอน Healthy School และปรับสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการลดความเสี่ยงโรคติดต่อไม่เรื้อรัง (NCDs)

detail
SDGs ที่่เกี่ยวข้อง

โครงการสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับการลดปัญหา NCDs มุ่งสู่นักเรียนในโรงเรียนมากขึ้น มีความสำคัญต่อสุขภาพของวัยแรงงานในอนาคตอย่างมาก แต่ปัจจุบันโครงการเหล่านี้ใช้เวลาของทั้งนักเรียน ครู ผู้บริหารโรงเรียน และผู้ปกครองมากขึ้น แนวทางการบูรณาการกิจกรรมเหล่านี้เพื่อให้การใช้เวลาของนักเรียน ครู ผู้บริหารโรงเรียนและผู้ปกครอง เพื่อการใช้เวลาอย่างมีประสิทธิภาพจึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง

จากสถานการณ์ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคติดต่อไม่เรื้อรังที่เพิ่มสูงขึ้น ประเทศไทยตระหนักถึงปัญหาสำคัญที่ส่งผลเสียและเป็นภัยคุกคามต่อสุขภาพนี้ และถือว่าเป็นความท้าทายอย่างยิ่งสำหรับการดำเนินงานเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาดังกล่าว ซึ่งนำไปสู่วางแผนการดำเนินการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ต่าง ๆ เช่น ยุทธศาสตร์การป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อ และยุทธศาสตร์สุขภาพที่ดีวิถีชีวิตไทย เป็นต้น โดยใช้แนวทางการทำงานหลายภาคส่วนในการร่วมกัน (multi-sectoral collaboration) ผลักดันให้เกิดแนวทางแก้ไขปัญหา รวมถึงมาตรการต่าง ๆ เพื่อควบคุมและหาแนวทางการลดความเสี่ยงของการเกิดโรค NCDs โดยมีกระทรวงสาธารณสุขและกระทรวงการคลังที่มีบทบาทสำคัญในการถ่ายทอดองค์ความรู้ และหลักฐานเชิงประจักษ์ ที่สำคัญและจำเป็นในการดำเนินงาน ทั้งนี้ประเทศไทยได้มีการขับเคลื่อนการป้องกัน NCDs อย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้นตามกรอบการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ในปี 2030 เพื่อให้ผลของการขับเคลื่อนการป้องกันและควบคุมโรค NCDs มีความยั่งยืน สร้างองค์ความรู้ให้ประชาชน ให้มีความรอบรู้ด้านสุขภาพ ส่งผลต่อการป้องกันปัจจัยเสี่ยงที่มีโอกาสเกิดโรค NCDs แก่เด็ก และการเกิดโรค NCDs เมื่ออายุมากขึ้น สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ในฐานะที่เป็นหน่วยงานที่มีความสำคัญในการขับเคลื่อนการสร้างความรอบรู้ในการดูแลสุขภาพของกลุ่มวัยเด็ก ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนที่ 4 ที่เน้นคุณภาพทางการศึกษา (Goal 4: Quality Education) เพราะการศึกษามีอิทธิพลต่อการป้องกันและควบคุมโรค NCDs โดยเฉพาะในช่วงวัยเรียนและวัยรุ่น ซึ่งจากอดีตจนถึงปัจจุบันกระทรวงศึกษาธิการได้พยายามดำเนินการจัดการเรียนการสอนเกี่ยวกับการสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี และกิจกรรมโครงการเกี่ยวกับสุขภาพในโรงเรียนต่าง ๆ ร่วมกับหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และมีศักยภาพอย่างเต็มที่ในการที่จะเชื่อมโยงเนื้อหาที่เป็นเหตุปัจจัยและผลของพฤติกรรมที่เป็นความเสี่ยงของการเกิดโรคอย่างชัดเจนและเป็นรูปธรรม หากมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง และมีกลไกในการเพิ่มองค์ความรู้ ตลอดจนได้รับการสนับสนุนจากผู้บริหารระดับสูงภายใน สพฐ. ดังนั้นเพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนที่มีประสิทธิภาพสู่การบรรลุเป้าหมายอย่างยั่งยืน และให้การเรียนการสอนสุขศึกษาและพฤติกรรมสุขภาพของเด็กเป็นการเรียนการสอนเพียงแค่ในตำรา แต่ปรับรูปแบบนำไปสู่การปฏิบัติจริง โดยให้ความสำคัญมุ่งเน้นไปที่การทำองค์ความรู้ที่ได้ไปถ่ายทอดให้ผู้บริหาร (Knowledge Translation) นำไปผลักดันให้เกิดเป็นนโยบายในการแก้ไขปัญหา อีกทั้งการเรียนการสอนไม่ใช่หน้าที่ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานองค์กรเดียว แต่เป็นการนำแนวคิดของความร่วมมือของภาคส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องร่วมกันดำเนินการ (multi-sectoral collaboration) เพื่อมุ่งเตรียมทรัพยากรที่มีคุณภาพในอนาคต ด้วยการบูรณาการรวมกันระหว่างสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน องค์กรภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ผู้ปกครอง และเด็ก เพราะกิจกรรมไม่ใช่มุ่งเน้นเฉพาะเด็กอย่างเดียว แต่ต้องดำเนินการกิจกรรมผสานกันระหว่างโรงเรียนและบ้าน จึงนำมาสู่แนวทางการศึกษาในครั้งนี้ด้วยการทบทวนและสังเคราะห์กระบวนการทางนโยบาย และการนำไปใช้ประโยชน์ของการป้องกันโรค NCDs รวมถึงการสร้างต้นแบบกิจกรรม (Showcase) เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาคู่มือสุขภาพเด็กนักเรียนที่จะนำไปสู่การป้องกันโรค NCDs อย่างยั่งยืน และสร้างข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและการขับเคลื่อนไปสู่การปฏิบัติอย่างแท้จริง

Partners/Stakeholders

โรงเรียนในสังกัด สพฐ. นักเรียนในสังกัด สพฐ. กระทรวงสาธารณสุข สสส.

ผู้ดำเนินการหลัก
รศ.ดร.ภูเบศร์ สมุทรจักร
ส่วนงานหลัก
ผู้ดำเนินการร่วม
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ และ มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ