Decent work and Economic Growth

ส่งเสริมการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ต่อเนื่อง ครอบคลุม และยั่งยืนการจ้างงานเต็มที่ และมีผลิตภาพและการมีงานที่มีคุณค่าสำหรับทุกคน

มหาวิทยาลัยมหิดลเป็นที่ยอมรับในการผลิตบุคลากรด้านการแพทย์และสาธารณสุข เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาระบบสาธารณสุขของประเทศ และยังผลิตบัณฑิตในสาขาวิชาอื่น ๆ ที่เป็นที่ยอมรับในตลาดแรงงานทั้งในประเทศและต่างประเทศ มหาวิทยาลัยมหิดลยังคำนึงถึงความเป็นอยู่ของบุคลากรโดยสนับสนุนสวัสดิการและสิทธิประโยชน์ครอบคลุมในทุกด้าน เช่น การรักษาพยาบาล การได้รับบริการและสิ่งอำนวยความสะดวกอื่น ๆ ของมหาวิทยาลัย สำหรับความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน มหาวิทยาลัยสนับสนุนความก้าวหน้าในสายอาชีพ โดยแบ่งเป็น สายวิชาการ (อาจารย์และนักวิจัย) สามารถเลื่อนตำแหน่งทางวิชาการ เช่น นักวิจัยระดับ 1-4 ศาสตราจารย์วิจัย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ และสายสนับสนุน (พนักงานมหาวิทยาลัย) สามารถเลื่อนตำแหน่งสายสนับสนุน เช่น ชำนาญงาน ชำนาญการ เชี่ยวชาญ ฯลฯ เป็นต้น นอกจากนี้ มีการสนับสนุนสวัสดิการด้านการเงิน เช่น กองทุนสำรองเลี้ยงชีพมหาวิทยาลัยมหิดลและเงินช่วยเหลือต่าง ๆ มีนโยบายการเลื่อนเงินเดือนที่เป็นธรรม จากการประเมินผลการปฏิบัติงาน 2 ครั้ง/ปี ในทุกระดับ โดยยึดตามคุณภาพงานและใช้หลักธรรมาภิบาลครอบคลุมทุกกระบวนการ บทบาทของมหาวิทยาลัยที่มีต่อสังคมในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในด้านการสร้างทักษะแก่ร้านค้าหรือบุคคลที่ได้รับผลกระทบ ทำให้ไม่สามารถดำเนินกิจการได้ ส่งผลให้อัตราการตกงานเพิ่มขึ้นมหาวิทยาลัยมหิดลจึงจัดการฝึกอบรมระยะสั้นรูปแบบออนไลน์เพื่อ Upskill Reskill เกี่ยวกับการค้าขายออนไลน์และการสร้างอาชีพในรูปแบบใหม่ให้กับประชาชนทั่วไป เช่น การสร้างแบรนด์ขั้นพื้นฐาน การระดมทุนของธุรกิจสตาร์ทอัพ ผู้ประกอบการและนวัตกรรมสำหรับธุรกิจผู้สูงวัย การจัดการท่องเที่ยว และการบริการในยุค 4.0 เป็นต้น ทำให้เกิดช่องทางธุรกิจออนไลน์เพื่อสร้างรายได้อีกทางหนึ่ง

Highlights
  • thumb
    01 08 15
    14 ก.ย. 2565
    โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG)
    โครงการ U2T for BCG จัดสรรบุคลากรที่อยู่ในระหว่างการหางาน หรือกำลังทำงานอยู่ในปัจจุบัน เพื่อช่วยเหลือชุมชนต่างๆ ให้มีการเติบโตและรายได้ที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างยั่งยืน โดยผู้เข้าร่วมในโครงการนี้จะต้องเข้าไปทำงานกับชุมชน “เป็นระยะเวลา 3 เดือน” ผ่านการใช้หลักการ BCG เพื่อเพิ่มรายได้ของแต่ละตำบล นับจากวันเริ่มโครงการจนวันสิ้นสุดโครงการ
  • thumb
    29 ก.ย. 2566
    การเสริมศักยภาพชุมชนภายใต้โครงการ U2T for BCG
    กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) มีนโยบายในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG and Regional Development) ด้วยการสนับสนุนให้สถาบันการศึกษาในประเทศไทยขับเคลื่อนเพื่อเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคการผลิตและบริการด้าน BCG ในพื้นที่ ด้วยองค์ความรู้เทคโนโลยีและนวัตกรรม พัฒนากำลังคนให้มีทักษะพื้นฐานที่จำเป็นต่อการทำงานในปัจจุบันและทักษะที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจ BCG และเพื่อพัฒนาฐานข้อมูล Thailand Community Big Data (TCD) ให้มีความสมบูรณ์ครอบคลุมในทุกพื้นที่ของประเทศ
  • thumb
    14 03 08
    18 ต.ค. 2565
    การวางแผนการใช้ประโยชน์พื้นที่ทางทะเล : การประยุกต์สู่การปฏิบัติในระดับพื้นที่
    โครงการได้รวบรวมองค์ความรู้ทั้งในระดับสากลและระดับชาติ และจัดการประชุมผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง อันจะนำมาซึ่งข้อเสนอแนะในการขับเคลื่อนการวางแผนการใช้ประโยชน์ทางทะเลสำหรับประเทศไทย และสามารถต่อยอดผลการศึกษาไปสู่การวิจัยในพื้นที่นําร่องต่อไป
  • thumb
    10 มี.ค. 2565
    มาตรฐาน MU Organic
    เกิดมาตรฐานข้าวอินทรีย์มหิดล ที่เกิดจากการร่วมคิด ระหว่างชาวนาผู้ปลูกข้าว ผู้บริโภค และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง จนได้ข้อสรุปในการจัดทำมาตรฐาน เพื่อใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติเดียวกัน เพื่อแก้ปัญหาการเข้าถึงมาตรฐานของชาวนาอินทรีย์เพื่อการรับรองการผลิต และแก้ปัญหาความไม่มั่นใจของผู้บริโภคในการตัดสินใจเลือกซื้อข้าวอินทรีย์
  • thumb
    12 08 11
    23 ส.ค. 2566
    โครงการการพัฒนารูปแบบการอภิบาลจัดการขยะสิ่งแวดล้อมในระดับท้องถิ่น ภายใต้กรอบการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs): กรณีศึกษาของ อ.ท่าม่วง จ.กาญจนบุรี
    การพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมของระบบทุนนิยมโลกมีการเจริญเติบโตไปอย่างรวดเร็ว เกิดการค้าขายแลกเปลี่ยน นำเข้า ส่งออก และการผลิตของระบบอุตสาหกรรม ที่กระตุ้นให้เกิดการผลิตและการบริโภคสินค้าและบริการเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภค นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงด้านการดำรงชีวิต วัฒนธรรมการบริโภค ที่ผู้ผลิตสินค้าและบริการนำเสนอความสะดวกและรวดเร็วเพื่อส่งมอบสินค้าและบริการต่าง ๆ มีการใช้บรรจุภัณฑ์จากพลาสติกที่ยากแก่การย่อยสลาย และขาดการกำจัดที่ดีและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม กลายเป็นขยะ (Waste) อันตราย อีกทั้งยังส่งผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อมอย่างมหาศาลในระยะยาว โดยเฉพาะปัญหาการจัดการขยะ (Waste Management) ซึ่งขยะเองมีแนวโน้มทวีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างมากในขณะที่การจัดการขยะยังขาดประสิทธิภาพและความเอาใจใส่ของมนุษย์ จากข้อมูลจากธนาคารโลก (World Bank) พบว่า ในปัจจุบันทั่วโลกมีการผลิตขยะรวมกันมากถึง 2.01 พันล้านตันต่อปี และในจำนวนนี้ ขยะร้อยละ 33 ยังขาดการจัดการที่ดีและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และคาดว่าจะมีแนวโน้มสูงถึง 3.40 พันล้านตันภายในปี ค.ศ. 2050 ซึ่งมากกว่า 2 เท่าของอัตราการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรทั่วโลกในช่วงระยะเวลาเดียวกัน
  • thumb
    10 มี.ค. 2565
    กิจกรรมสร้างเครือข่ายผู้ผลิตข้าวอินทรีย์มหิดล
    ศูนย์วิจัยและบริการวิชาการบึงบอระเพ็ด มหิดลนครสวรรค์ ได้เห็นปัญหาความมั่นใจของผู้บริโภคในการตัดสินใจเลือกซื้อข้าวอินทรีย์ และปัญหาการเข้าถึงมาตรฐานของชาวนาอินทรีย์เพื่อการรับรองการผลิต
  • thumb
    29 ส.ค. 2565
    การพัฒนาอาชีพและการบ่มเพาะธุรกิจสำหรับคนพิการ “หลักสูตรอาชีพจากเครื่องยาสมุนไพร” และ “หลักสูตรอาชีพจากพรรณไม้”
    วันที่ 18-20 กรกฎาคม 2565 สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) วิทยาลัยราชสุดา และโครงการจัดตั้งสถาบันอุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล ภายใต้โครงการสร้างเสริมสมรรถนะด้านการเรียนรู้เพื่อสุขภาวะที่ยั่งยืนของคนพิการ วัตถุประสงค์ 1.4 การพัฒนาอาชีพและการบ่มเพาะธุรกิจสำหรับคนพิการ โดยมีรองศาสตราจารย์ ดร.ณัฏฐนียา โตรักษา ผู้อำนวยการโครงการจัดตั้งสถาบันอุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นผู้รับผิดชอบโครงการ ร่วมกันจัดฝึกอบรมอาชีพใน 2 หลักสูตรแบบ Authentic Learning ปฏิบัติจริงผ่านกิจกรรม DIY ทั้งรูปแบบ Online และ Onsite ณ สถานที่ตั้งของผู้เรียน
  • thumb
    27 มิ.ย. 2565
    "อาหารริมบาทวิถี" ต้องพัฒนาอย่างไร เพื่อสุขภาพคนเมือง
    อาหารริมบาทวิถี หรือ “สตรีทฟู้ด” (Street Food) ในประเทศไทยมีเอกลักษณ์และขึ้นชื่อในเรื่องความหลากหลาย และเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตประชาชนในกรุงเทพมหานคร ปัจจุบันขยายตัวไปยังจังหวัดต่าง ๆ ทั่วประเทศ โดยเฉพาะเมืองที่เป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวทั้ง 4 ภาคของประเทศ
  • thumb
    12 08 11
    6 ก.ย. 2565
    โครงการ “สานเสวนา Social Co-production กับการยกระดับคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืน”
    บทบาทของภาคประชาชนตามแนวคิดประชารัฐนี้ จะปรับเปลี่ยนจากการเป็นผู้รอรับสินค้าและบริการ (user/consumer) จากภาครัฐแต่เพียงฝ่ายเดียว ไปสู่การเข้าไปมีส่วนร่วมกับประชาชน (citizen participation) และภาคส่วนอื่น ๆ เนื่องจากจะเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียโดยตรง อันจะเป็นการออกแบบและส่งมอบสินค้าและบริการสาธารณะได้ตรงกับความต้องการที่แท้จริงของผู้ใช้/รับบริการ และการให้โอกาสประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการออกแบบ จัดหา และส่งมอบสินค้าและบริการสาธารณะของตนเองตั้งแต่ต้น ย่อมจะทำให้เกิดความต่อเนื่องและยั่งยืนต่อไป ดังนั้น การจัดการขยะในชุมชนจำเป็นจะต้องร่วมมือกันระหว่างภาคส่วนต่าง ๆ ตามแนวทางที่เรียกกันว่า “Coproduction” หรือ “การร่วมผลิต” เพื่อให้การจัดการกับปัญหาขยะในพื้นที่เกิดประสิทธิภาพและมีความยั่งยืนต่อไป
  • thumb
    5 ก.ย. 2565
    การศึกษาการใช้ประโยชน์จากใบสับปะรดเหลือทิ้ง มุ่งสู่เป้าหมายการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ และใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์
    งานวิจัยนี้สร้างมูลค่าเพิ่มจากของเหลือทิ้งทางการเกษตรคือ ใบสับปะรดที่ผ่านการดัดแปรเพื่อเสริมแรงพลาสติกและยางให้มีความแข็งแรง ทนอุณหภูมิ และลดการใช้งานวัสดุจากปิโตรเลียม และใช้เป็นวัสดุรองรับดูดซับโลหะหนักในน้ำเสีย หรือตัวเร่งปฏิกิริยาในการกำจัดสารอินทรีย์ในน้ำ ให้ง่ายต่อการแยก หรือนำกลับมาใช้ใหม่ โดยบางส่วนได้มีการขยายผลเชิงพาณิชย์ผ่านบริษัทสตาร์ทอัพแล้ว
  • thumb
    31 ส.ค. 2565
    อุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติรับเกียรติบัตรแหล่งท่องเที่ยวเชิงสุขภาพภูมิปัญญาไทยและสมุนไพร ระดับ “ดีเยี่ยม”
    โครงการจัดตั้งสถาบันอุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ ได้รับการคัดเลือกให้ได้รับเกียรติบัตรแหล่งท่องเที่ยวเชิงสุขภาพภูมิปัญญาไทยและสมุนไพร ระดับ “ดีเยี่ยม”
  • thumb
    17 ส.ค. 2565
    เติมเต็มสุขภาวะผู้ใช้แรงงาน จัดอบรมออนไลน์ตรวจสมรรถภาพการได้ยิน ในงานอาชีวอนามัย โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
    "เติมเต็มสุขภาวะผู้ใช้แรงงาน จัดอบรมออนไลน์ตรวจสมรรถภาพการได้ยิน ในงานอาชีวอนามัย โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย" องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ได้กำหนดให้เสียงที่ดังเกิน 85 dBA (เดซิเบลเอ) เป็นเสียงที่เป็นอันตราย จึงกลายเป็นที่มาของข้อกำหนด เพื่อสุขภาวะของผู้ใช้แรงงานทั่วโลก ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน(SDGs) แห่งสหประชาชาติ ข้อที่ 3 ที่ว่าด้วยเรื่องสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี ซึ่งครอบคลุมเรื่องการลดการป่วยจากมลพิษต่าง ๆ รองศาสตราจารย์ ดร.อรวรรณ แก้วบุญชู รองคณบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ และอาจารย์ประจำภาควิชาการพยาบาลสาธารณสุข คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้สอนหลักรายวิชาออนไลน์ "การตรวจสมรรถภาพการได้ยินในงานอาชีวอนามัย” ซึ่งเปิดให้ผู้เกี่ยวข้อง ได้แก่ พยาบาลอาชีวอนามัย และเจ้าหน้าที่สุขภาพจากหน่วยงานต่าง ๆ ทั่วประเทศ เข้ารับการอบรมได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ผ่าน MUx โดยได้กล่าวถึงประเด็นที่น่าเป็นห่วงเกี่ยวกับเรื่องสุขภาวะแรงงานไทยว่าแม้กฎหมายแรงงานไทย ได้กำหนดให้นายจ้างจัดให้มีการเฝ้าระวังการได้ยิน โดยให้ดำเนินการทดสอบสมรรถภาพการได้ยินแก่ลูกจ้างอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง แต่พบว่ายังไม่ได้มีการกำหนดมาตรฐานคุณสมบัติของผู้ทดสอบแต่อย่างใด มหาวิทยาลัยมหิดล โดย คณะสาธารณสุขศาสตร์ ถือเป็นภารกิจสำคัญในการริเริ่มจัดอบรมออนไลน์ที่ได้มาตรฐานในเรื่องดังกล่าว จุดเด่นของรายวิชาออนไลน์ "การตรวจสมรรถภาพการได้ยินในงานอาชีวอนามัย" นอกจากการเปิดอบรมโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายแล้ว ยังได้ออกแบบให้มีครบทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ ซึ่งในภาคทฤษฎีนั้น ได้มีการสาธิตให้ผู้เรียนสามารถฝึกปฏิบัติตามได้โดยง่าย และหลังจากจบบทเรียนทั้งหมดแล้ว ยังเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ส่งคลิปการฝึกปฏิบัติกลับมาให้ผู้สอนประเมิน และสามารถรับประกาศนียบัตร E-Certificate เมื่อผ่านเกณฑ์ที่กำหนดอีกด้วย
จำนวนทั้งหมด 25 รายการ