การวิเคราะห์กลไกทางการเงินที่สามารถชดเชยรายได้กับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการปิดอุทยานแห่งชาติ ก่อให้เกิดความสามารถในการรักษาสมดุลระหว่างผู้ที่ใช้ประโยชน์และผู้เสียประโยชน์หรือกลุ่มเปราะบาง
การวิเคราะห์กลไกทางการเงินที่สามารถชดเชยรายได้กับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการปิดอุทยานแห่งชาติ ก่อให้เกิดความสามารถในการรักษาสมดุลระหว่างผู้ที่ใช้ประโยชน์และผู้เสียประโยชน์หรือกลุ่มเปราะบาง
ความสำคัญ วัตถุประสงค์โครงการ
เพื่อจัดทำโมเดลต้นแบบกลไกทางการเงินสำหรับการบริหารจัดการมรดกทางธรรมชาติเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
การดำเนินการ
1. กำหนดแผนการดำเนินโครงการโดยภาพรวม และโครงการย่อยทั้ง 2 โครงการ
2. ประสานงานกับอุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อขอข้อมูลด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อนำไปคัดเลือกพื้นที่ที่เหมาะสมในการใช้ประโยชน์ด้าน Commercial area
3. รวบรวมชั้นของข้อมูลเพื่อนำไปสู่การซ้อนทับของข้อมูล (Overlay)
4. ประมวลผลเพื่อเลือกพื้นที่ที่เหมาะสมด้าน Commercial area ของอุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม จังหวัดตรัง
5. ร่วมสัมภาษณ์และลงพื้นที่กับโครงการวิจัยย่อย เพื่อกำกับติดตามความก้าวหน้าของโครงการย่อยให้เป็นไปในทิศทางการดำเนินการวิจัยที่วางไว้
6. สัมภาษณ์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้อง ทั้งหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคชุมชน วิเคราะห์เกี่ยวกับความเชื่อมโยงระหว่างเศรษฐกิจ สังคม การจ้างงาน และการใช้ทรัพยากรเพื่อการท่องเที่ยว และฐานข้อมูลทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพที่สำคัญ
7. รวบรวมข้อมูลจากโครงการย่อยเพื่อจัดทำรูปแบบกลไกทางการเงินสำหรับการบริหารจัดการมรดกทางธรรมชาติเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
8. สัมภาษณ์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้อง ทั้งหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคชุมชน เพื่อทำให้ทราบความเห็นเกี่ยวกับความเป็นไปได้ในการจัดทำกลไกทางการเงินสำหรับการบริหารจัดการมรดกทางธรรมชาติเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
9. นำข้อมูลความเห็นที่ได้มาเพิ่มเติม/ปรับปรุงผลวิจัยเกี่ยวกับกลไกทางการเงินสำหรับการบริหารจัดการมรดกทางธรรมชาติเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของอุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม จังหวัดตรัง
10. รวบรวมข้อมูลทั้งหมดเพื่อจัดทำโมเดลต้นแบบกลไกทางการเงินสำหรับการบริหารจัดการมรดกทางธรรมชาติเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของอุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม จังหวัดตรัง
ผลการดำเนินงาน
พบว่า กลุ่มผู้ได้รับผลกระทบจากการปิดอุทยานเป็นแรงงานที่อยู่ในกิจกรรมการท่องเที่ยวที่ลดลง โดยกลุ่มที่มีความเปราะบางมากที่สุด ได้แก่ กลุ่มเปราะบางที่เป็นแรงงานไร้ทักษะ เป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด ซึ่งเป็นสาขาตัวแทนบริษัทนำเที่ยวและการขายสินค้าเพื่อการท่องเที่ยว ได้แก่ พนักงานบริการร้านอาหาร มัคคุเทศก์ พนักงานโรงแรม และกลุ่มชุมชนในพื้นที่ กลุ่มผู้ได้ประโยชน์จากนิเวศบริการ ซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับประโยชน์จากการที่ระบบนิเวศดีขึ้น ได้แก่ นักท่องเที่ยวกลุ่มดำน้ำลึก นักท่องเที่ยวเพื่อการพักผ่อนทั่วไป และผู้ประกอบการที่ได้รับประโยชน์จากมรดกอาเซียน งานวิจัยนี้ได้นำเสนอโมเดลต้นแบบกลไกทางการเงินสำหรับการบริหารจัดการมรดกทางธรรมชาติเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ใช้การบริหารจัดการผ่านกองทุนที่เรียกว่า กองทุนการพักฟื้นระบบนิเวศเพื่อความยั่งยืน ซึ่งกองทุนนี้มีการบริหารจัดการผ่านหน่วยงานด้านเทคนิค เป็นคณะกรรมการที่พิจารณาการให้ความช่วยเหลือทางการเงิน หน่วยงานด้านวิชาการ เป็นคณะกรรมการที่ให้ความช่วยเหลือทางวิชาการ และหน่วยงานติดตามและประเมินผล เป็นคณะกรรมการติดตามและประเมินผลการใช้เงินทุน แหล่งที่มาของเงินทุนมาจาก 3 ช่องทาง ได้แก่ การจัดเก็บค่าธรรมเนียมที่ได้ประโยชน์จากนิเวศบริการจากกลุ่มผู้ได้ประโยชน์จากนิเวศบริการ การรับบริจาค และการระดมเงินลงทุน
โดยช่องทางการใช้จ่ายเงินของกองทุนมี 2 ช่องทาง ได้แก่
1) การจ่ายเงินให้กับผู้ดูแลระบบนิเวศ ซึ่งเป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากการปิดอุทยานโดยได้รับเงินชดเชยจากการปิดอุทยานแล้ว ต้องมีหน้าที่ดูแลระบบนิเวศ
2) การยกระดับการเป็นจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยว
โดยมีแนวทางส่งเสริม ดังนี้
1) การปล่อยกู้ให้กับสมาชิกเพื่อการพัฒนากิจการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
2) การฝึกอบรมให้กับสมาชิกเพื่อยกระดับความรู้
3) การสนับสนุนงานวิชาการ
4) การพัฒนา Nature-Based infrastructure และสิ่งอำนวยความสะดวกด้านการท่องเที่ยว
5) การส่งเสริมการท่องเที่ยวรูปแบบอื่นในช่วงนอกฤดูกาลการท่องเที่ยวเพื่อการเป็นจุดหมายปลายทางที่สามารถเดินทางท่องเที่ยวได้ตลอดทั้งปี
ระดับชุมชน - โมเดลต้นแบบกลไกทางการเงินสำหรับการบริหารจัดการมรดกทางธรรมชาติเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของอุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม จังหวัดตรัง
ระดับประเทศ-สร้างโมเดลต้นแบบกลไกทางการเงินสำหรับการบริหารจัดการมรดกทางธรรมชาติเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน กรณีปิดอุทยานแห่งชาติต่าง ๆ ภายในประเทศ เพื่อให้ทรัพยากรธรรมชาติได้ฟื้น
งานวิจัยนี้จะสามารถทำให้ทราบรูปแบบการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนทั้งการวิเคราะห์ผลกระทบทางเศรษฐกิจ กรณีการปิดอุทยานแห่งชาติเพื่อพักฟื้นทรัพยากรธรรมชาติ และการประเมินผลประโยชน์ทางเศรษฐศาสตร์และแรงจูงใจทางการเงินเพื่อสนับสนุนการพักฟื้นทรัพยากรธรรมชาติ
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานตรังอุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม – เกาะลิบง ผู้ประกอบการที่เกี่ยวกับท่องเที่ยว ชุมชนในพื้นที่ อุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม