งานวิจัย เรื่อง "กุ้งก้ามกรามแปลงเพศ MU1"

detail

เพื่อเพิ่มผลผลิต ลดต้นทุน และสร้างรายได้เพิ่มขึ้นให้แก่เกษตรกร

     กุ้งก้ามกรามเป็นกุ้งน้ำจืดขนาดใหญ่ ที่เป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจที่สำคัญที่อันดับต้น ๆ ที่มีมูลค่าสูง เป็นที่นิยมของผู้บริโภค เนื่องจากมีเนื้อมากและมีมันที่หัวที่อร่อย นิยมนำมาปรุงเป็นอาหารได้หลากหลายเมนู เช่น ต้มยำ เผา หรือย่าง แต่ปริมาณผลผลิตกุ้งก้ามกรามนั้นมีความไม่แน่นอน เนื่องจากมีอัตรารอดต่ำ โตช้า ขาดแคลนลูกกุ้งก้ามกรามที่มีคุณภาพ ปลอดโรค รวมถึงเกษตรกรเสียโอกาสในการจำหน่ายผลผลิต เนื่องจากผลผลิตกุ้งก้ามกรามมีสัดส่วนเพศเมียและกุ้งจิ๊กโก๋ มากกว่ากุ้งก้ามกรามเพศผู้ โดยเพศเมียและกุ้งจิ๊กโก๋มีราคาถูกกว่ากุ้งเพศผู้ค่อนข้างมาก จึงได้มีการพยายามปรับปรุงสายพันธุ์เพื่อให้ได้กุ้งที่มีคุณภาพ อัตรารอดสูง โตเร็ว ปลอดโรค และพัฒนาเทคนิควิธีการคัดแยกเพศเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเลี้ยงโดยเป็นการเลี้ยงแบบเพศผู้ล้วน เพื่อให้ได้ลักษณะตามที่ต้องการ เช่น อัตรารอดสูง โตเร็ว และระยะเวลาเลี้ยงสั้นลง เพื่อเป็นการลดต้นทุนการผลิต เพิ่มมูลค่าและเพิ่มโอกาสในการส่งออกกุ้งก้ามกรามไปสู่ตลาดโลก จึงได้รับความสนใจจากโรงเพาะฟักและเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งก้ามกรามในการนำผลงานไปต่อยอด โดยการนำไปใช้เป็นแม่พันธุ์ จำนวน 10,270 ตัว (สิงหาคม 2563 - กุมภาพันธ์ 2567) ในการผลิตกุ้งก้ามกรามเพศผู้สู่บ่อดิน โดยปี 2564 คาดการณ์ว่าผลิตกุ้งก้ามกรามเพศผู้ (คำนวณจากจำนวนนอเพลียสที่จำหน่าย) ไม่น้อยกว่า 9,288  ตัน คิดเป็นร้อยละ 12 ของผลผลิตกุ้งก้ามกรามรวมทั้งประเทศ และ ปี  2565 คาดการณ์ว่าผลิตกุ้งก้ามกรามเพศผู้ (คำนวณจากจำนวนนอเพลียสที่จำหน่าย) ไม่น้อยกว่า 12,384 ตัน คิดเป็นร้อยละ 20 ของผลผลิตกุ้งก้ามกรามรวมทั้งประเทศ และยังคงมีความต้องการลูกกุ้งก้ามกรามเพศผู้ MU1 เพิ่มขึ้นทุกปี ส่งผลให้ ฟาร์มอนุบาลลูกกุ้งก้ามกราม และเกษตรกรเลี้ยงกุ้งบ่อดินมีรายได้เพิ่มขึ้น ไม่น้อยกว่า 1.3 เท่าเมื่อเทียบกับการเลี้ยงกุ้งก้ามกรามรวามเพศผู้และเมีย นอกจากนี้พบว่าระยะเวลาในรอบการเลี้ยงกุ้งบ่อดินสั้นลง ไม่น้อยกว่า 20-30%  ของรอบการเลี้ยงปกติ จึงเป็นการลดต้นทุนการเลี้ยงด้านอาหารกุ้ง ค่าไฟฟ้า ค่าคนงาน เป็นต้น และยังช่วยเพิ่มรอบการเลี้ยงเป็น 3 -4 รอบต่อปี (เดิมสามารถเลี้ยงกุ้งได้  2 รอบต่อปี)

Partners/Stakeholders

โรงเพาะฟัก ฟาร์มอนุบาลกุ้ง เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งบ่อดิน และผู้บริโภค

ผู้ดำเนินการหลัก
ดร.สุพัตรา ตรีรัตน์ตระกูล
ส่วนงานหลัก