Case Study

ผลการค้นหาทั้งหมด 11 รายการ
  • thumb
    04
    24 ส.ค. 2565
    กิจกรรมส่งเสริมการศึกษา ให้แก่ นักเรียน นักศึกษา นักวิจัย เพื่อพัฒนาทักษะ และเพิ่มพูนความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
    เป็นการอบรมเชิงปฏิบัติการ เพื่อถ่ายทอดความรู้ และทักษะด้านวิทยาศาสตร์ทางการแพทย์ และทางการเกษตร เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการ มีความรู้เบื้องต้น ในทักษะการฝึกภาคปฏิบัติการด้านชีววิทยาศาสตร์โมเลกุลและพันธุวิศวกรรม ระดับที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาในโรงเรียน และเพื่อเสริมสร้างประสบการณ์ในการปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการแก่ผู้เข้าร่วมโครงการ มีการเรียนการสอนภาคบรรยายและภาคปฏิบัติในห้องปฏิบัติการวิจัย โดยวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ
  • thumb
    03 04 17
    10 มี.ค. 2565
    การอบรมวิชาการคุณภาพชีวิตดี ๆ ที่ผู้ป่วยธาลัสซีเมียก็มีได้ และการให้บริการปรึกษาทางพันธุศาสตร์แก่หญิงตั้งครรภ์และสามีที่มีความเสี่ยงต่อการมีบุตรเป็นโรคธาลัสซีเมีย
    โรคธาลัสซีเมียเป็นโรคโลหิตจางเรื้อรังถ่ายทอดทางพันธุกรรมที่พบบ่อยที่สุดในโลกรวมถึงประเทศไทย ประมาณร้อยละ 5.2 ของประชากรโลกเป็นพาหะของโรคธาลัสซีเมียและฮีโมโกลบินผิดปกติ
  • thumb
    24 ส.ค. 2565
    การพัฒนามันสำปะหลังพันธุ์พิรุณ
    พัฒนาและคัดเลือกสายพันธุ์มันสำปะหลังให้มีปริมาณแป้งและผลผลิตที่สูงขึ้น รวมทั้งมีความต้านทานต่อโรคใบด่าง โดยการคัดเลือกนั้นจะเป็นการผสมผสานการคัดเลือกและพัฒนาสายพันธุ์มันสำปะหลังแบบดั้งเดิม ร่วมกับการนำเครื่องหมายโมเลกุลที่สัมพันธ์กับลักษณะดังกล่าวมาประยุกต์ใช้ในการคัดเลือก
  • thumb
    02 06 08
    24 ส.ค. 2565
    งานวิจัย เรื่อง "กุ้งก้ามกรามแปลงเพศ MU1"
    เป็นการวิจัยและพัฒนาต่อยอดเทคโนโลยีด้านชีวโมเลกุล โดยการนำกุ้งก้ามกรามเพศผู้ที่ปลอดโรค สุขภาพดี โตเร็ว มากระตุ้นให้เกิดการแปลงเพศเป็นเพศเมียด้วยสารประกอบชีวโมเลกุล (คำขอรับสิทธิบัตรเลขที่ 181006124) ผ่านกรรมวิธีการการผลิตกุ้งแปลงเพศ (คำขอรับสิทธิบัตรเลขที่ 181006125) สำหรับกระตุ้นการแปลงเพศ จนกระทั่งได้กุ้งก้ามกรามเพศผู้ที่มีเพศสภาพภายนอกเป็นเพศเมีย เมื่อนำไปผสมกับพ่อพันธุ์กุ้งก้ามกราม ก็จะให้ลูกก้ามกรามเพศผู้
  • thumb
    06 14
    25 ส.ค. 2565
    การบำบัดน้ำจากบ่อเลี้ยงกุ้งเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่
    น้ำที่ผ่านการบำบัดแล้ว สามารถนำกลับมาเลี้ยงกุ้งได้อีก โดยไม่มีผลกระทบต่อการเจริญเติบโตและความแข็งแรงของกุ้ง เป็นการรักษาสภาพแวดล้อม สมดุลทางธรรมชาติและสัตว์น้ำตลอดจนสิ่งมีชีวิตตามธรรมชาติได้อย่างยั่งยืน
  • thumb
    03 04 17
    9 มี.ค. 2565
    การควบคุมป้องกันโรคธาลัสซีเมีย
    โรคธาลัสซีเมียและฮีโมโกลบินผิดปกติ เป็นโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมที่พบบ่อยที่สุดในโลกรวมถึงประเทศไทย ประมาณร้อยละ 5.2 ของประชากรโลกเป็นพาหะของโรคธาลัสซีเมียและฮีโมโกลบินผิดปกติ ความเสี่ยงของการมีบุตรที่เป็นโรคธาลัสซีเมียและฮีโมโกลบินผิดปกติสูงถึงร้อยละ 1.1 ของคู่แต่งงานของประชากรทั้งโลก หรือ 2.7 คน ใน 1,000 คน การป้องกันและควบคุมโรคธาลัสซีเมียชนิดรุนแรงให้มีผู้ป่วยเกิดใหม่ลดลงจึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง โดยในช่วงระหว่างปีพ.ศ 2560-2564 ศูนย์วิจัยธาลัสซีเมียได้ให้บริการปรึกษาทางพันธุศาสตร์แก่หญิงตั้งครรภ์และสามีที่มีความเสี่ยงต่อการมีบุตรเป็นโรคธาลัสซีเมีย ณ คลินิกธาลัสซีเมีย โรงพยาบาลนครปฐม จำนวน 129 ราย และได้ให้คำแนะนำเพื่อทำการตรวจวินิจฉัยก่อนคลอดด้วยวิธีการเจาะน้ำคร่ำ (amniocentesis) สำหรับหญิงตั้งครรภ์ที่มีโอกาสมีบุตรเป็นโรคธาลัสซีเมียชนิดรุนแรง 3 โรค ที่ทางกระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายในการควบคุมและป้องกัน อีกจำนวน 49 ราย ทำให้ลดภาระค่าใช้จ่ายในการรักษาผู้ป่วยธาลัสซีเมียของครอบครัวและกระทรวงสาธารณสุขได้ วัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาการตรวจวินิจฉัยโรคและพาหะด้วยเทคนิคระดับเซลล์ โปรตีน และอณูพันธุศาสตร์ ที่รวดเร็วแม่นยำ และนำไปใช้ประโยชน์สำหรับเป็นแนวทางการวินิจฉัยและการรักษาโรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย และเป็นแนวทางสำหรับดูแลรักษาผู้ป่วยธาลัสซีเมียในเวชปฏิบัติทั่วไป
  • thumb
    03
    23 ธ.ค. 2565
    การอบรมสัมมนาทางวิชาการ เรื่อง เทคนิคขั้นสูงในการแปลผลคลื่นอีซีจีและการดูแลผู้ป่วยวิกฤตระบบไหลเวียนเลือดและ ผู้ป่วยหัวใจและหลอดเลือด รุ่นที่ 4
    เป็นการจัดอบรมให้ความรู้เรื่อง เทคนิคขั้นสูงในการแปลผลคลื่นอีซีจีและการดูแลผู้ป่วยวิกฤตระบบไหลเวียนเลือดและผู้ป่วยหัวใจและหลอดเลือด (Advanced Technique in ECG interpretation and Cardiovascular Nursing) แก่ พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในหน่วยวิกฤต และหน่วยไอซียู จากโรงพยาบาลต่าง ๆ รุ่นที่ 4 เพื่อเป็นการเพิ่มพูนความรู้สาหรับพยาบาล หรือผู้ปฏิบัติหน้าที่ในหอผู้ป่วยวิกฤตและฉุกเฉิน เพื่อการวางแผนการพยาบาลผู้ป่วย เพิ่มพูนความรู้และทักษะ โดยใช้ผลของการอ่านและแปลผลคลื่นอีซีจี โดยจัดขึ้นในวันที่ 2-4 พฤศจิกายน 2565 (3 วันทำการ) ณ โรงแรม เอส ดี อเวนิว ถนนบรมราชชนนี กรุงเทพฯ มีผู้เข้าร่วมอบรมจำนวนทั้งสิ้น 100-200 ราย
  • thumb
    15
    29 ส.ค. 2565
    งานวิจัย เรื่อง "การค้นหาและพัฒนาดีเอ็นเอเครื่องหมายไมโครแซทเทลไลท์ของน้อยหน่าเครือด้วยเทคโนโลยี การวิเคราะห์ลำดับเบสยุคใหม่"
    น้อยหน่าเครือ (Kadsura spp.) ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นพืชที่อยู่ในภาวะใกล้สูญพันธุ์ และเป็นผลไม้มีคุณค่าทางอาหารสูงและมีคุณสมบัติทางยาในหลาย ๆ ดังนั้น การศึกษาวิจัยความหลากหลายทางพันธุกรรมและการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เพื่อการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน จึงเป็นสิ่งสำคัญเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อไป
  • thumb
    03 04
    25 ส.ค. 2565
    โครงการประชุมวิชาการอุปกรณ์การแพทย์ ครั้งที่ 32 เรื่อง "โรงพยาบาลอัจฉริยะและความมั่นคงด้านสุขภาพ (Smart Hospital and Health Security)
    ในสถานการณ์ปัจจุบันความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีดิจิทัล มีพัฒนาการขึ้นเป็นอย่างมาก ตลอดจนมีการนำเอาเทคโนโลยีดิจิทัลมาสนับสนุนในการทำงานทุกระบบ เพื่ออำนวยความสะดวกในการดำเนินชีวิต ในระบบของโรงพยาบาลก็เช่นกัน การนำเอาความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีดิจิทัลมาสนับสนุนการบริการภายในโรงพยาบาล หรือทำงานแทนระบบการทำงานของผุ้บริหาร แพทย์ พยาบาล หรือผู้เกี่ยวข้อง และระบบของเครื่องมือแพทย์พร้อมทั้งเครื่องอำนวยความสะดวกต่าง ๆ เพื่อให้แต่ละงานในโรงพยาบาลมีประสิทธิภาพสูงสุด ลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน และเพื่อความสะดวกรวดเร็วในการรับบริการที่มีคุณภาพดี มีความปลอดภัย และทันสมัยอย่างเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม อันทำให้เกิดความมั่นคงทางด้านสุขภาพของผู้เข้ารับบริการ
  • thumb
    04
    25 ส.ค. 2565
    โครงการจัดอบรมหลักสูตรเครื่องมือแพทย์สำหรับช่างและผู้ดูแลเครื่องมือแพทย์ ระยะสั้น 1 สัปดาห์
    เป็นการจัดอบรมเพื่อให้บุคลากรฝ่ายช่างหรือผู้ใช้เครื่องมือแพทย์ได้มีโอกาสเรียนรู้หลักการทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติในด้านของการตรวจซ่อมบำรุงรักษาเครื่องมือแพทย์ อันจะช่วยลดเวลาการตรวจสอบในขั้นต้น สามารถตัดสินปัญหาเฉพาะหน้าที่ ที่เกิดขึ้นกับเครื่องมือแพทย์เพื่อวางแผนการจัดซ่อม
  • thumb
    03
    24 ส.ค. 2565
    ข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ เรื่อง "การศึกษาปัญหาธาลัสซีเมีย"
    เป็นการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับโรคธาลัสซีเมีย ซึ่งเป็นปัญหาทางสาธารณสุข เศรษฐกิจและสังคมของประเทศ งานวิจัยเกี่ยวกับธาลัสซีเมียนี้ทำทุกด้าน ตั้งแต่ระดับคลินิกจนถึงระดับโมเลกุล แนะนำผลงานวิจัยมาประยุกต์ใช้ในการตรวจวินิจฉัย การรักษา และการควบคุม ป้องกันโรคทั้งในประเทศและประเทศอื่นที่มีโรคนี้ซุกชุม ร่วมมือในด้านการวิจัยและการสอนทั้งภาคทฤษฏีและภาคปฏิบัติแก่นักศึกษาทุกระดับ ตั้งแต่ระดับต่ำกว่าปริญญาจนถึงปริญญาดุษฎีบัณฑิต ให้บริการตรวจรักษาและแนะนำแก่คนไข้โรคธาลัสซีเมีย รวมทั้งครอบครัว และศึกษาวิจัยเพื่อวางแผนการควบคุมโรคนี้ในระดับจังหวัดและระดับประเทศ