กิจกรรมส่งเสริมการศึกษา ให้แก่ นักเรียน นักศึกษา นักวิจัย เพื่อพัฒนาทักษะ และเพิ่มพูนความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

detail
SDGs ที่่เกี่ยวข้อง

          เป็นการถ่ายทอดองค์ความรู้ และเป็นการส่งเสริมให้นักเรียนได้มีโอกาสพัฒนาความรู้ เพิ่มทักษะทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้ทันสมัย โดยสามารถนำความรู้ ประสบการณ์ที่ได้ ไปพัฒนาต่อยอดในเรื่องของการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น  และส่งผลให้บุคลากรในวงการแพทย์ของประเทศ นำความรู้ไปใช้พัฒนาต่อยอดด้านสาธารณสุขที่ยั่งยืน สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีที่ทันสมัยในอนาคต 

           เนื่องจากสถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล เป็นสถาบันวิจัยด้านชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล มีเป้าหมายในการสร้างสรรค์ผลงานวิจัย  ถ่ายทอดความรู้ และมีบทบาทในการผลิตบุคลากรทางด้านวิทยาศาสตร์ทางการเกษตร และทางการแพทย์ และเทคโนโลยีที่ทันสมัย  เพื่อเป็นการส่งเสริมให้นักเรียน และนักศึกษา จากหน่วยงานภายนอกที่สนใจ อาทิ นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และตอนปลายจากโรงเรียนนานาชาติ จากโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ และจากสถาบันกวดวิชาบ้านคำนวณวิทย์  นักศึกษาแพทย์ จากประเทศมหาวิทยาลัย Airlangga สาธารณรัฐอินโดนีเซีย ได้มีโอกาสเพิ่มพูนทักษะ และได้รับความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมากยิ่งขึ้น  รวมทั้งเป็นการสร้างเสริมประสบการณ์ในการปฏิบัติงานทางด้านชีววิทยาศาสตร์โมเลกุลในห้องปฏิบัติการวิจัย   และสามารถนำความรู้ไปใช้ในงานวิจัยที่เกี่ยวข้องในอนาคต  หรือนำไปพัฒนาต่อยอดด้านการสาธารณสุขที่ยั่งยืน สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีที่ทันสมัยในอนาคต)  ทางสถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล จึงได้จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ เพื่อส่งเสริมการศึกษา ให้แก่นักเรียน นักศึกษา ขึ้น  จำนวน 6 กิจกรรม ดังนี้

          1. การอบรมเชิงปฏิบัติการ “MB–BKN: Life Sciences Experiential Learning Program” รุ่นที่ 1 วันที่ 25 ธันวาคม 2564 เวลา 08.30–16.30 น.  รุ่นที่ 2 วันที่ 26 ธันวาคม 2564 เวลา 08.30–16.30 น. มีนักเรียน จากโรงเรียนบ้านคำนวณวิทย์ BNK เข้าร่วมโครงการ จำนวน รุ่นละ 22 คน  

          2. การอบรมเชิงปฏิบัติการ “MB Sciences Program 2022 Period 1” ระหว่างวันที่ 17 มกราคม–4 กุมภาพันธ์ 2565  มีนักศึกษาแพทย์ จากคณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัย Airlangga สาธารณรัฐอินโดนีเซีย เข้าร่วมโครงการ จำนวน 8 ราย 

          3. โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ “MB–MWIT: Advance Life Science Program II” ดำเนินการสอนแบบออนไลน์ จำนวน  20 ชั่วโมง ในระหว่างวันที่ 8–11 มีนาคม 2565  มีนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น จากโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ เข้าร่วมโครงการ จำนวน 52 ราย

         4.  โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ “การตัดแต่งพันธุกรรม (Genome Editing) สอนแบบออนไลน์ ในวันที่ 30–31 มีนาคม 2565 และ 1 เมษายน 2565 เวลา 17.00–19.00 น.  มีนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย เข้าร่วมโครงการ จำนวน 24 ราย

        5. โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ “ดีเอ็นเอและดีเอ็นเอโคลนนิ่ง พันธุวิศวกรรมและเทคนิคที่เกี่ยวข้อง” สอนแบบออนไลน์ จำนวน

6 ชั่วโมง ในวันที่ 9–13 พฤษภาคม 2565  มีนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย เข้าร่วมโครงการ จำนวน 10 ราย

        6. โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ “MB–MWIT: Advanced Life Science Program II” ดำเนินการสอนแบบออนไลน์ จำนวน 20 ชั่วโมง ในระหว่างวันที่ 2–3 และ 5–6 พฤษภาคม 2565 มีนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นจากโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ เขาร่วมโครงการ จำนวน 50 ราย

       7. โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ “Student Science Training Program 2022”  จำนวน 3 รุ่น

             - รุ่นที่ 1 จัดขึ้นในระหว่างวันที่ 11–12 กรกฏาคม 2565 มีนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย Grade 9–12 โรงเรียนนานาชาติ เข้าร่วมโครงการ จำนวน 22 ราย

             - รุ่นที่ 2 จัดขึ้นในระหว่างวันที่ 25 กรกฏาคม – 5 สิงหาคม 2565 มีนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย Grade 9–12 โรงเรียนนานาชาติ เข้าร่วมโครงการ จำนวน 22 ราย

              - รุ่นที่ 3 จัดขึ้นในระหว่งวันที่ 8–19 สิงหาคม 2565 มีนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย Grade 9–12 โรงเรียนนานาชาติ เข้าร่วมโครงการ จำนวน 22 ราย 

Partners/Stakeholders

1. โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์

2. โรงเรียนบ้านคำนวณวิทย์ BKN

3. คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัย Airlangga สาธารณรัฐอินโดนีเซีย

4. โรงเรียนนานาชาติ

5. นักเรียน นักศึกษา ที่เข้ารับการอบรม

ผู้ดำเนินการหลัก
1. รศ.ดร.กนกพรไตรวิทยากร 2. อ. ดร.กิตติพงศ์ ไพบูลย์สุขวงศ์ 3. รศ. ดร.อภินันท์ อุดมกิจ 4. ดร.ชลธิชา ใสสว่าง 5. อ. ดร.นริศรา โกมลวรรธนะ
ส่วนงานหลัก
ผู้ดำเนินการร่วม
โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์
ส่วนงานร่วม