งานวิจัย เรื่อง "การค้นหาและพัฒนาดีเอ็นเอเครื่องหมายไมโครแซทเทลไลท์ของน้อยหน่าเครือด้วยเทคโนโลยี การวิเคราะห์ลำดับเบสยุคใหม่"

detail
SDGs ที่่เกี่ยวข้อง

          การอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ที่ยั่งยืนของพืชใกล้สูญพันธุ์น้อยหน่าเครือ จะทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดทั้งด้านความหลากหลายชีวภาพและการสร้างรายได้และยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในท้องถิ่นที่แท้จริง

          การศึกษานี้ทำการพัฒนาเครื่องหมายโมเลกุลชนิดไมโครแซทเทลไลท์ของน้อยหน่าเครือด้วยวิธี next-generation sequencing (NGS) และวิเคราะห์ de novo assembly พบ unique contig จำนวน 276,964 sequence ซึ่งมี SSR motif จำนวน 44,413 โดยแบ่งเป็น mono-nucleotide มากที่สุด และรองลงมาคือ di-nucleotide โดยพบ SSR motif แบบ A (mono-) AC (di-) AAT (tri-) ACAT และ AAAT (tetra-) AAAAT (penta-) ACACAT (hexa-) มากที่สุด สามารถออกแบบ SSR primer จากน้อยหน่าเครือจำนวน 9,091 คู่ จากการเลือก SSR primer จำนวน 100 คู่ และทดสอบดีเอ็นเอน้อยหน่าเครือ พบ SSR primer จำนวน 13 คู่แสดง polymporphic pattern ระหว่างตัวอย่างน้อยหน่าเครือ พบว่ามีจำนวนอัลลีนทั้งหมด 65 อัลลีน และมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 5 อัลลีนต่อโลกัส ผลการวิเคราะห์ความหลากหลายทางพันธุกรรมของน้อยหน่าเครือจากประชากรซึ่งมาจากจังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ น่าน แม่ฮ่องสอน และลำปาง บ่งชี้ว่าประชากรมีความหลากหลายทางพันธุกรรมอยู่ในระดับสูง (ค่าเฉลี่ย He=0.629) นอกจากนี้พบว่าค่าเฉลี่ย Ho (0.566) น้อยกว่า He แสดงถึงการเกิดสภาวะเลือกชิดของประชากรน้อยหน่าเครือที่ทำการศึกษา

          การศึกษาเพาะเลี้ยงน้อยหน่าเครือในสภาพปลอดเชื้อ พบว่าชิ้นส่วนเมล็ดเป็นเนื้อเยื่อที่เหมาะสมที่สุดในการใช้เป็นชิ้นส่วนเนื้อเยื่อตั้งต้นของการเพาะเลี้ยงน้อยหน่าเครือในสภาพปลอดเชื้อ และสภาวะที่เหมาะสมสำหรับการฟอกฆ่าเชื้อชิ้นส่วนเมล็ดคือการฟอกด้วยสารละลายโซเดียมไฮโปคลอไรท์ความเข้มข้น 2% (v/v) เป็นเวลา 30 นาที ก่อนนำไปวางเลี้ยง และพบว่าสูตรอาหารที่เหมาะสมสำหรับการงอกของเมล็ดคืออาหารสูตร MS ที่ไม่มีสารควบคุมการเจริญ ซึ่งมีอัตราการงอกอยู่ที่ 18.18% ส่วนสูตรอาหารที่เหมาะสมในการชักนำให้เกิดแคลลัสคือสูตร MS + 1 mg/L NAA + 1 mg/L BA ซึ่งมีอัตราการเกิดแคลลัส 18.18%

          ข้อมูลความหลากหลายทางพันธุกรรมของน้อยหน่าเครือและการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชครั้งนี้ สามารถนำไปประกอบการการวางแผนการใช้ประโยชน์ของน้อยหน่าเครือทั้งในทางด้านเศรษฐกิจ ร่วมกับการวางแผนการอนุรักษ์พันธุกรรมของน้อยหน่าเครือได้อย่างเหมาะสมต่อไป

Partners/Stakeholders

นักวิจัย นักวิชาการและผู้สนใจทั่วไป

โครงการ อพ.สธ.

กรมป่าไม้

ประชาชนในพื้นที่โครงการและโดยรอบ

ผู้ดำเนินการหลัก
ดร.ศุภจิต สระเพชร
ส่วนงานหลัก
ผู้ดำเนินการร่วม
โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.)
ส่วนงานร่วม