Life On Land

ปกป้องฟื้นฟู และสนับสนุนการใช้ระบบนิเวศบนบกอย่างยั่งยืน จัดการป่าไม้อย่างยั่งยืน ต่อสู้การกลายสภาพเป็นทะเลทราย หยุดการเสื่อมโทรมของที่ดิน และฟื้นฟูสภาพกลับมาใหม่ และหยุดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ

มหาวิทยาลัยมหิดลมีเป้าหมายในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ ป่าไม้ และอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ ภายใต้นโยบายมหาวิทยาลัยเชิงนิเวศและการพัฒนาอย่างยั่งยืน มหาวิทยาลัยได้จัดตั้งอุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ ซึ่งได้รับการรับรองจาก Botanic Gardens Conservation International (BGCI) ให้เป็น “สวนพฤกษศาสตร์ที่มีมาตราฐานระดับสากลแห่งแรกในประเทศไทย” และยังได้รับรางวัล Museum Thailand Awards 2021 ประเภทพิพิธภัณฑ์ด้านวิทยาศาสตร์และสิ่งแวดล้อม “รางวัลดีเด่น ด้านการอนุรักษ์และสืบสาน” จากการรวบรวมพันธุ์พืชสมุนไพรจากตำรายาที่มีคุณค่าและหายากมากว่า 900 ชนิด และยังค้นพบพืชชนิดใหม่ของโลก ได้แก่ • ชมพูราชสิริน ชาฤาษีไทรโยค และดาดดารารัศมี (โดยผศ.ดร.ธรรมรัตน์ พุทธไทย จากคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์) • ดาดสังขละบุรี (โดยผศ.ดร.ธรรมรัตน์ พุทธไทย และนายสุภัทร ประสพศิลป์ นักวิทยาศาสตร์วิทยาเขตกาญจนบุรี) • ดอกดินทยา (โดยนักศึกษาปริญญาเอก และ ผศ.ดร. ทยา เจนจิตติกุลคณะวิทยาศาสตร์) • หญ้าค้อนกลอง สามสิบกีบน้อย ถั่วนกเขาใหญ่ จิกดง และ ดูกเขียว (โดยอาจารย์วงศ์สถิต ฉั่วกุลคณะเภสัชศาสตร์) ซึ่งเป็นความก้าวหน้าในการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพไว้ ให้เป็นแหล่งเรียนรู้แก่นักศึกษาด้านการแพทย์แผนไทยประยุกต์ หรือ เภสัชศาสตร์ และประชาชนทั่วไป เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนายาจากสมุนไพรไทย รวมทั้งยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศซึ่งเป็นประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ด้วย สำหรับสัตว์มีคณะสัตวแพทยศาสตร์ ซึ่งประกอบด้วย โรงพยาบาลสัตว์ประศุอาทร โรงพยาบาล ปศุสัตว์และสัตว์ป่า ปศุปาลัน และคลินิก ม.มหิดลคนรักสัตว์ สำหรับศึกษาและรักษาสัตว์ โดยในปี พ.ศ. 2563 ได้ทำการรักษาสัตว์ไปทั้งสิ้น จำนวน 83,966 ตัว และได้จัดตั้งศูนย์สุขภาพสัตว์ป่าแห่งชาติ เพื่อเฝ้าระวังโรคระบาด โดยมีการเก็บตัวอย่างเชื้อโรคจากสัตว์ 4,493 ตัวอย่าง ผ่านการตรวจวินิจฉัยตามมาตรฐานคุณภาพห้องปฏิบัติการ ISO15189:2012 และความปลอดภัยห้องปฏิบัติการ ISO15190:2003 โดยศูนย์สุขภาพสัตว์ป่าแห่งชาติ ได้ส่งข้อมูลผลการวินิจฉัยจากการเก็บตัวอย่างเชื้อโรคไปยังภาครัฐ เพื่อใช้วางมาตราการป้องกันและควบคุมโรคในสัตว์ ป้องกันโรคติดต่อระหว่างสัตว์และคน และโรคสำคัญอื่น ๆ และได้จัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการกับศูนย์สุขภาพสัตว์ป่าแห่งสหรัฐอเมริกา The USGS – National Wildlife Health Center ในโครงการ OIE Twinning program เพื่อพัฒนาศักยภาพในการรับมือกับโรคติดต่ออุบัติใหม่ได้อย่างทันท่วงที ซึ่งโรคอุบัติใหม่เหล่านี้อาจส่งผลกระทบต่อชีวิตสัตว์ในอนาคต ความร่วมมือนี้จะเป็นการพัฒนาแนวทางการรักษาที่ดีขึ้น เพื่อป้องกันการสูญพันธุ์ของสัตว์ป่าต่อไป นอกจากนั้น มหาวิทยาลัยได้ดำเนินกิจกรรมอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ผ่านทาง 3 วิทยาเขต ได้แก่ วิทยาเขตกาญจนบุรีสร้างฝายชะลอน้ำที่ลดความรุนแรงของน้ำไหลบ่าหน้าดิน ทำให้พบการกลับมาของสัตว์ป่า สัตว์สงวน และการเกิดพืชสมุนไพร ส่งเสริมให้เกิดรายได้แก่ชุมชนในท้องถิ่น วิทยาเขตนครสวรรค์ดูแลพื้นที่ชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ดแหล่งน้ำจืดขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย สร้างความร่วมมือกับชุมชนในการใช้น้ำและจัดการป่าอย่างมีประสิทธิภาพ และวิทยาเขตอำนาจเจริญจัดการด้านป่าชุมชนเป็นแนวทางในการรักษาพื้นที่ป่าและพัฒนา สำรวจความหลากหลายของทรัพยากร ส่งผลให้เกิดการเรียนรู้การดำรงชีพอย่างสมดุลกับธรรมชาติและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นซึ่งก่อเกิดความอุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศทางบกอย่างยั่งยืน

Highlights
  • thumb
    15 13
    7 ต.ค. 2565
    นิเวศวิทยาและประชากรช้างป่า (Elephas maximus) ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวงและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว
    โครงการศึกษานิเวศวิทยาและประชากรช้างป่า (Elephas maximus) ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวงและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียวมีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินและเปรียบเทียบประชากร การกระจาย และความต้องการทางนิเวศวิทยาของช้างป่า เพื่อใช้ในการวางแผนการจัดการและการอนุรักษ์ และการลดผลกระทบระหว่างช้างป่าและชาวบ้านในการอยู่ร่วมกันโดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในท้องถิ่น และสังเคราะห์กลยุทธ์การสื่อสารและพัฒนาสื่อเสริมสร้างความเข้าใจและความตระหนักในการอยู่ร่วมกันระหว่างคนกับช้างป่าด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมของท้องถิ่น โดยทำการสำรวจโดยตรงและสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับรูปแบบ ช่วงเวลา และสถานที่ทำกิจกรรมของช้างป่า ตลอดจนผลกระทบในพื้นที่ร่วมกับการติดตั้งกล้องดักถ่ายภาพสัตว์ป่าบริเวณรอยต่อระหว่างพื้นที่เกษตรกรรมกับแนวเขตของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว พบว่าช้างป่าในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง ช้างป่าส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในพื้นที่ป่าชั้นกลาง (75%) พบพฤติกรรมการหากินมากที่สุดเวลา 15.01-19.00 น. พบธาตุแคลเซียมในกองมูลมากที่สุด (62.81%) พืชอาหาร พบธาตุเหล็ก (Fe) มากที่สุด (88.54%) ส่วน ขป ภูเขียว มีการกระจายใกล้เคียงกันทั้งในพื้นที่ป่าชั้นใน (34%) ป่าชั้นกลาง (30.8%) และป่าชั้นนอก (28.6%) พบการทำกิจกรรมมากที่สุดระหว่าง 22.01-24.00 น. พืชอาหารพบธาตุไนโตรเจน (N) มากที่สุด (56.16%) จากการวิเคราะห์สมการถดถอยพหุแบบโลจิสติกในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง จำนวน 66 ตัวอย่าง มีพื้นที่เหมาะสมมากที่สุด 169.58 ตร.กม. (18.62%) เป็นพื้นที่ราบด้านบนเทือกเขา พื้นที่เหมาะสมมาก 425.26 ตร.กม. (46.69%) พื้นที่ที่เหมาะสมปานกลาง 279.57 ตร.กม. (30.69%) ส่วนเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว มีพื้นที่เหมาะสมมากที่สุด 168.24 ตร.กม. (6.5%) พื้นที่เหมาะสมมาก 983.62 ตร.กม. (37.99%) พื้นที่เหมาะสมปานกลาง 704.77 ตร.กม. (27.22%)
  • thumb
    01 08 15
    14 ก.ย. 2565
    โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG)
    โครงการ U2T for BCG จัดสรรบุคลากรที่อยู่ในระหว่างการหางาน หรือกำลังทำงานอยู่ในปัจจุบัน เพื่อช่วยเหลือชุมชนต่างๆ ให้มีการเติบโตและรายได้ที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างยั่งยืน โดยผู้เข้าร่วมในโครงการนี้จะต้องเข้าไปทำงานกับชุมชน “เป็นระยะเวลา 3 เดือน” ผ่านการใช้หลักการ BCG เพื่อเพิ่มรายได้ของแต่ละตำบล นับจากวันเริ่มโครงการจนวันสิ้นสุดโครงการ
  • thumb
    15 17
    2 ก.ย. 2565
    การวิเคราะห์ทางพันธุกรรมของการผสมพันธุ์ระหว่างชะนีมือขาว (Hylobates lar) และชะนีซ้อน (Hylobatespilatus) ในเขตสัมผัสในอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ประเทศไทย
    การศึกษาพันธุกรรมด้วยไมโทคอนเดรียและไมโครแซทเทลไลท์ดีเอ็นเอ ของชะนีมือขาว ชะนีมงกุฎและชะนีลูกผสมในพื้นที่ซ้อนทับอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ พบว่า ชะนีส่วนมากในพื้นที่ซ้อนทับยังคงจับคู่กับสปีชีส์เดียวกันมากกว่าการจับคู่ข้ามสปีชีส์ ซึ่งแสดงให้เห็นว่ามีกลไกการแบ่งแยกทางการสืบพันธุ์ (reproductive isolation) ที่ป้องกันการผสมพันธุ์ข้ามชนิดกัน และรักษาการแบ่งแยกสปีชีส์ของชะนีมือขาวและชะนีมงกุฎไว้ได้
  • thumb
    15
    2 ก.ย. 2565
    การพัฒนาระบบการประเมินผลกระทบของระยะห่างจากชุมชนต่อสถานภาพและการกระจายของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมด้วยกล้องดักถ่ายสัตว์ป่าในพื้นที่เป้าหมายขยายงานอนุรักษ์ ลุ่มน้ำตาหริ่ว เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาสอยดาว เพื่อการวางแผนและประเมินการอนุรักษ์
    ผู้วิจัยศึกษางานอนุรักษ์สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม 15 ชนิด ที่อยู่ในลุ่มน้ำย่อยวังโป่ง ตาหัน สีละมัน และคลองพลู จังหวัดจันทบุรี ความสง่างามของชนิดพันธุ์ ทำให้กวางป่าและกระทิงมีศักยภาพในการเป็นสิ่งมีชีวิตเรือธง (Flagship species) เพื่อสร้างพฤติกรรมอนุรักษ์ในชุมชน ในขณะเดียวกันเสือลายเมฆรวมถึงหมาในซึ่งเป็นผู้ล่าระดับบนก็มีศักยภาพในการเป็นสิ่งมีชีวิตให้ร่มเงาแก่สิ่งมีชีวิตชนิดอื่น (Umbrella species) ได้ต่อไป
  • thumb
    04 11 15
    31 ส.ค. 2565
    SIREEPARK 360 Virtual Tour
    ม.มหิดล เปิดโลกเมตาเวิร์สท่องอุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติครั้งแรก แม้วิกฤติ COVID-19 จะทำให้ “แลนด์มาร์ค” (landmark) หรือสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าประทับใจหลายจุดในประเทศไทยต้องหลับใหลงดเปิดให้บริการเยี่ยมชม แต่ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลจะไม่ทำให้ระยะทาง เวลา หรืออุปสรรคใดๆ มาคอยขวางกั้น “ห้องเรียนธรรมชาติ” จากสมุนไพรนานาชนิด สู่โลกแห่งการเรียนรู้ที่ไร้ขีดจำกัด นับเป็นครั้งแรกของ “อุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ” แห่งโครงการจัดตั้งสถาบันอุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งเป็นหนึ่งใน “แลนด์มาร์ค” ที่สำคัญของจังหวัดนครปฐม ที่จะได้ “ย่อโลก” สมุนไพรนานาชนิด และธรรมชาติอันอุดมสมบูรณ์ ในพื้นที่ 140 ไร่ ซึ่งนับเป็นความภาคภูมิใจของ มหาวิทยาลัยมหิดล ในฐานะ “ปัญญาของแผ่นดิน” เข้าสู่ “โลกแห่งเมตาเวิร์ส” เพื่อการเรียนรู้ที่ไม่มีวันสิ้นสุดในโลกเสมือนจริง
  • thumb
    31 ส.ค. 2565
    อุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติรับเกียรติบัตรแหล่งท่องเที่ยวเชิงสุขภาพภูมิปัญญาไทยและสมุนไพร ระดับ “ดีเยี่ยม”
    โครงการจัดตั้งสถาบันอุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ ได้รับการคัดเลือกให้ได้รับเกียรติบัตรแหล่งท่องเที่ยวเชิงสุขภาพภูมิปัญญาไทยและสมุนไพร ระดับ “ดีเยี่ยม”
  • thumb
    29 ส.ค. 2565
    การพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพอย่างมีส่วนร่วมของชุมชนในพื้นที่กันชนเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง
    การขับเคลื่อนเศรษฐกิจจากฐานทรัพยากรความหลากหลายทางชีวภาพ โดยนำทรัพยากรความหลากหลายทางชีวภาพมาใช้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจ ควบคู่ไปกับการอนุรักษ์อย่างยั่งยืน เพื่อให้เกิดกระบวนการสร้างงาน สร้างรายได้ สร้างโอกาสให้แก่ประชาชนโดยการส่งเสริมการใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาของชุมชนและท้องถิ่นอย่างมีระบบและยั่งยืน รวมทั้งการพัฒนางานวิจัยและการรวบรวมองค์ความรู้ความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาของชุมชนและท้องถิ่น
  • thumb
    15
    29 ส.ค. 2565
    งานวิจัย เรื่อง "การค้นหาและพัฒนาดีเอ็นเอเครื่องหมายไมโครแซทเทลไลท์ของน้อยหน่าเครือด้วยเทคโนโลยี การวิเคราะห์ลำดับเบสยุคใหม่"
    น้อยหน่าเครือ (Kadsura spp.) ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นพืชที่อยู่ในภาวะใกล้สูญพันธุ์ และเป็นผลไม้มีคุณค่าทางอาหารสูงและมีคุณสมบัติทางยาในหลาย ๆ ดังนั้น การศึกษาวิจัยความหลากหลายทางพันธุกรรมและการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เพื่อการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน จึงเป็นสิ่งสำคัญเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อไป
  • thumb
    15 17
    25 ส.ค. 2565
    โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ : การอนุรักษ์พันธุกรรมพืชท้องถิ่นและพืชหายาก เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนสู่เป้าหมาย SDGs ระดับสากล
    การสำรวจความหลากหลายทางพันธุกรรมพืชท้องถิ่นและพฤกษศาสตร์พื้นบ้าน เพื่อจัดทำฐานข้อมูลพืชขอบเขตพื้นที่ปกปักพันธุกรรมพืช จังหวัดอำนาจเจริญ เริ่มดำเนินการในปี 2555-ปัจจุบัน โดยโครงการจัดตั้งวิทยาเขตอำนาจเจริญ ร่วมกับ ป่าชุมชนจังหวัดอำนาจเจริญ และองค์การบริหารส่วนจังหวัดอำนาจเจริญ ภายใต้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) ตามที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี วัตถุประสงค์เพื่อสนองงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) จัดทำฐานข้อมูลพืชสมุนไพรท้องถิ่น พืชอาหาร ในรูปแบบพิพิธภัณฑ์พืชของจังหวัดอำนาจเจริญ และศึกษาแนวทางการแปรรูปผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรจากทรัพยากรพืชท้องถิ่น และเป็นการเสริมศักยภาพเครือข่ายชุมชนและสร้างความผูกพันระหว่างมหาวิทยาลัยกับชุมชน ดำเนินการโดยสำรวจและเก็บข้อมูลพืชท้องถิ่นในป่าชุมชนจังหวัดอำนาจเจริญ จัดทำฐานข้อมูลความหลากหลายและการกระจายพันธุ์ของพืชท้องถิ่น รวมถึงการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากป่า โดยโครงการเน้นการมีส่วนร่วมกับหน่วยงานท้องถิ่น โรงเรียน และชุมชนในพื้นที่นำไปสู่ผลลัพท์เรื่องการอนุรักษ์พื้นที่ป่าธรรมชาติ องค์ความรู้เรื่องความหลากหลายของทรัพยากรพืชท้องถิ่นและการใช้ประโยชน์ และการปลูกจิตสำนึกในการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชของชาวจังหวัดอำนาจเจริญต่อไป
  • thumb
    10 มี.ค. 2565
    มาตรฐาน MU Organic
    เกิดมาตรฐานข้าวอินทรีย์มหิดล ที่เกิดจากการร่วมคิด ระหว่างชาวนาผู้ปลูกข้าว ผู้บริโภค และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง จนได้ข้อสรุปในการจัดทำมาตรฐาน เพื่อใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติเดียวกัน เพื่อแก้ปัญหาการเข้าถึงมาตรฐานของชาวนาอินทรีย์เพื่อการรับรองการผลิต และแก้ปัญหาความไม่มั่นใจของผู้บริโภคในการตัดสินใจเลือกซื้อข้าวอินทรีย์
  • thumb
    10 มี.ค. 2565
    กิจกรรมสร้างเครือข่ายผู้ผลิตข้าวอินทรีย์มหิดล
    ศูนย์วิจัยและบริการวิชาการบึงบอระเพ็ด มหิดลนครสวรรค์ ได้เห็นปัญหาความมั่นใจของผู้บริโภคในการตัดสินใจเลือกซื้อข้าวอินทรีย์ และปัญหาการเข้าถึงมาตรฐานของชาวนาอินทรีย์เพื่อการรับรองการผลิต
  • thumb
    10 มี.ค. 2565
    ร่วมปกป้องระบบนิเวศชายฝั่งและทะเล
    IUCN เป็นองค์กรด้านสิ่งแวดล้อมที่เก่าแก่และใหญ่ที่สุดในโลก ในเอเชียเราทำงานร่วมกับพันธมิตรที่หลากหลายจากภาคต่าง ๆ เพื่อส่งมอบโครงการระดับโลกขององค์กรในโครงการริเริ่มที่ชี้นำโดยวิสัยทัศน์และพันธกิจร่วมของสหภาพโครงการของ IUCN
จำนวนทั้งหมด 38 รายการ