Organizing an expert workshop on health, wildlife and livelihoods

detail
SDGs ที่่เกี่ยวข้อง

การอภิปรายเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาสัตว์ป่าและสิ่งแวดล้อมที่มีความเกี่ยวโยงถึงคุณภาพชีวิตมนุษย์ และผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก โดยจัดเป็นกิจกรรมการประชุมเพื่อให้มีการอภิปรายกันถึงเรื่องดังกล่าว และจัดทำเป็นเอกสารเพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาและฟื้นฟูสุขภาพคน ความยากจน การใช้สัตว์ป่า และสิ่งแวดล้อม

ศูนย์เฝ้าระวังและติดตามโรคจากสัตว์ป่า สัตว์ต่างถิ่นและสัตว์อพยพ (The Monitoring and Surveillance Center for Zoonotic Diseases in Wildlife and Exotic Animals: MoZWE)  คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับการจัดตั้งตามมติคณะรัฐมนตรีในปี พ.ศ. 2547 เพื่อดำเนินการในพันธกิจเฝ้าระวังการระบาดของโรคติดต่ออุบัติใหม่ที่กำเนิดจากสัตว์ป่าหรือสัตว์ป่าที่นำมาเป็นสัตว์เลี้ยงชนิดพิเศษ และให้บริการการตรวจวินิจฉัยทางห้องปฏิบัติของโรคดังกล่าว

         ศูนย์เฝ้าระวังฯ คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล (MUVS-MoZWE)  ได้มีการดำเนินกิจกรรมที่สนับสนุนการเฝ้าระวังโรคในสัตว์ป่า ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนทั้งในและต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง โดยการพัฒนาขีดความสามารถในการตรวจวินิจฉัย กำลังคน ประสานงานเครือข่ายสุขภาพสัตว์ป่า และมีบทบาทในการถ่ายทอดองค์ความรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้านสุขภาพสัตว์ป่าทั้งในและต่างประเทศ ภายใต้แนวคิดการทำงานสุขภาพหนึ่งเดียว (One Health) ในช่วงเวลาที่ผ่านมา MUVS-MoZWE ได้มีแนวทางการดำเนินงานที่สอดคล้องกับ Sustainable Development Goals ในหัวข้อที่ 15 (SDGs 15) ของสหประชาชาติ ในด้านการอนุรักษ์สัตว์ป่าในธรรมชาติ มีการดำเนินการที่สำคัญ ได้แก่ การปฏิบัติการที่จำเป็นและเร่งด่วนเพื่อลดการเสื่อมโทรมของถิ่นที่อยู่ตามธรรมชาติ หยุดยั้งการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพด้านสัตว์ป่า และป้องกันการสูญพันธุ์ของชนิดพันธุ์ที่สัตว์ป่าถูกคุกคามจากเชื้อก่อโรค

        การดำเนินงานและการพัฒนาขีดความสามารถในการตรวจวินิจฉัยและการเฝ้าระวังโรคติดต่อที่มีผลกระทบต่อสุขภาพสัตว์ป่า อย่างต่อเนื่องในประเทศไทยขยายการให้บริการและฝึกอบรบแก่บุคลกรของประเทศอื่นๆในภูมิภาค ทำให้ศูนย์เฝ้าระวังฯ ได้รับการรับรองจาก FAO ให้เป็น “FAO Reference Centre for Zoonotic and Wildlife Diseases” ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2559 จนถึงปัจจุบัน และอยู่ระหว่างการดำเนินงานตามโครงการ World Organization of Animal Health Twinning Project ร่วมกับกับ USGS - National Wildlife Health Center (NWHC) และหน่วยงานในต่างประเทศอื่นๆ ได้แก่ Canadian Wildlife Health Cooperative (CWHC) และ Wildlife Conservation Society (WCS) เพื่อยกระดับการดำเนินการของ MUVS-MoZWE ให้เป็น WOAH Collaborating Centre for Wildlife Health and Zoonotic Diseases in the Asia-Pacific region ทั้งนี้ ในปี พ.ศ. 2565 MUVS-MoZWE ได้รับการเสนอชื่อให้เป็น Secretariat of Southeast Asian Wildlife Heath Network โดย World Organization of Animal Health (WOAH) อยู่ในวาระ 4 ปี โดยมีบทบาทเป็นผู้ประสานงานเครือข่ายสุขภาพสัตว์ป่าในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อีกด้วย

 

เนื่องด้วยศูนย์เฝ้าระวังและติดตามโรคจากสัตว์ป่า สัตว์ต่างถิ่น และสัตว์อพยพ คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็น FAO Reference Centre ด้านโรคในสัตว์ป่าและโรคติดต่อระหว่างคนและสัตว์ หลังจากที่มีการประชุมกันของ FAO และผู้เชียวชาญที่มีการดำเนินการด้านสัตว์ป่า จึงมีแนวคิดในการจัดทำโครงการเพื่ออภิปรายสถานการณ์และนำเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นที่มีความเกี่ยวข้องกับสุขภาพคน สัตว์ป่าและวิถีชีวิติความเป็นอยู่ รวมถึงผลกระทบที่ได้รับจากการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ด้วย โดยจัดเป็นกิจกรรมการประชุมเพื่อให้มีการอภิปรายกันถึงเรื่องดังกล่าว และจัดทำเป็นเอกสารเพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาและฟื้นฟูสุขภาพคน ความยากจน การใช้สัตว์ป่า และสิ่งแวดล้อม ที่เผยแพร่ผ่าน FAO โดยใช้ชื่อกิจกรรมดังกล่าวเป็น “Organizing an expert workshop on health, wildlife and livelihoods” โดยจัดประชุมผู้เชี่ยวชาญด้านสัตว์ป่าและสุขภาพสัตว์ป่าจากทั่วโลก โดยเฉพาะในกลุ่มภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก และผู้ที่ปฏิบัติงานด้านสุขภาพหนึ่งเดียว (One Health) เพื่อรวบรวมแนวคิด คำถามสำหรับการอภิปราย ความท้าทายและโอกาสที่เกี่ยวข้องในเรื่องดังกล่าว ซึ่งได้มีการดำเนินงานจัดประชุมไปแล้วในระหว่างวันที่ 14-18 มิถุนายน 2564 ที่ผ่านมา และมีการติดตามการเขียนเป็นระยะ และจัดประชุมย่อยเป็นเพื่อทบทวนเนื้อหาในการเขียนของแต่ละตอน  โดยเนื้อหาในหนังสือจะประกอบด้วยการอภิปราย แบ่งเป็นทั่งหมด 6 ตอน ด้วยกัน ดังนี้

  1. Section 1: Health, wildlife and livelihoods: context and rationale
  2. Section 2: Wildlife resource base: status and trends in the region
  3. Section 3: Livelihoods, poverty reduction, and food and nutrition security
  4. Section 4: Linkages among One Health, wildlife and livelihoods
  5. Section 5: Towards enabling green recovery
  6. Section 6: Epilogue

ทั้งนี้ การดำเนินงานดังกล่าว ได้อยู่ในระหว่างการทบทวนข้อมูลการอภิปรายจาก

ผู้เชี่ยวชาญ และดำเนินการแก้ไข และได้มีการวางแผนเพื่อจัดประชุมเพื่อวิจารณ์เนื้อหาการ สรุปประเด็นและแก้ไขเพิ่มเติมจากผู้ที่เกี่ยวข้องในเดือนพฤษภาคม 2565 นี้

Partners/Stakeholders

ศูนย์เฝ้าระวังฯ คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล (MUVS-MoZWE)  ได้มีการดำเนินกิจกรรมที่สนับสนุนการเฝ้าระวังโรคในสัตว์ป่า ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนทั้งในและต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง, กระทรวงและหน่วยงานต่าง ๆ ที่ดำเนินงานเกี่ยวข้องกับสัตว์ป่า สิ่งแวดล้อม และคุณภาพชีวิตของมนุษย์ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

ผู้ดำเนินการหลัก
ผศ.ดร.สพ.ญ. ศรินทร์ สุวรรณภักดี, รศ.ดร.น.สพ. อนุวัตน์ วิรัชสุดากุล, สพ.ญ. นรีรัตน์ สังขะไชย และ นางสาววารุจา ก่อกิจธรรมกุล
ส่วนงานหลัก
ผู้ดำเนินการร่วม
Illias Animon, Devin Sethi