แปลงผักปลอดสารพิษเกิดขึ้นด้วยแนวคิดที่อยากให้มีการบริโภคผักที่ไม่ใช้สารเคมีภายในมหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อให้บุคลากร นักศึกษา คนในชุมชนได้กินผักที่มีความปลอดภัย
แปลงผักปลอดสารพิษเกิดขึ้นด้วยแนวคิดที่อยากให้มีการบริโภคผักที่ไม่ใช้สารเคมีภายในมหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อให้บุคลากร นักศึกษา คนในชุมชนได้กินผักที่มีความปลอดภัย
แปลงผักปลอดสารพิษเกิดขึ้น ตั้งแต่ ปี 2551 ด้วยแนวคิดที่อยากให้มีแปลงผักที่ไม่ใช้สารเคมี ภายในมหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อให้บุคลากร นักศึกษา คนในชุมชนได้กินผักที่มีความปลอดภัย มหาวิทยาลัยมหิดลจึงได้โดยคัดเลือกเกษตรกรผู้มีความรู้และประสบการณ์ในการปลูกผักปลอดสารพิษ ให้เข้ามาดำเนินการปรับปรุงพื้นที่ 4 ไร่ ซึ่งเดิมเป็นพื้นที่ว่างที่ไม่มีการใช้ประโยชน์ เพื่อเตรียมพื้นที่ให้พร้อมในการปลูกผักปลอดสารพิษ โดยใช้รถแทรกเตอร์ย้ายสิ่งของที่ไม่จำเป็นออกไปจากพื้นที่ บำรุงดินด้วยอินทรีย์วัตถุ ปุ๋ยคอก น้ำหมักชีวภาพ ปรับปรุงดินประมาณ 3 เดือน แต่ยังเกิดปัญหาผักไม่งาม ขนาดเล็กแคระแกร็น ทำให้ต้องปรับปรุงคุณภาพดินอยู่อีก 2 ปี คุณภาพดินถึงจะดีพอที่จะปลูกผักปลอดสารพิษได้งาม และพื้นที่ด้านในยังมีโรงเรือนปลูกผักอยู่ 3 หลัง เนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนไปไม่เหมือนเช่นในอดีต ส่งผลให้ฝนตกไม่ตามฤดูกาล อากาศร้อนมากกว่าปกติ ทำให้เกิดความเสียหายกับพืชผัก จึงสร้างโรงเรือนเพราะปลูกเพิ่มเติม ซึ่งช่วยเพิ่มผลผลิตได้มากกว่าการปลูกตามธรรมชาติ อย่างเช่นในช่วงเดือนเมษายน-มิถุนายน ถ้าปลูกผักในแปลงเดิมได้ผลผลิตเพียง 20-30% แต่ปลูกในโรงเรือนจะได้ผลผลิต 80-90% ซึ่งมากกว่าเดิม 3-4 เท่า โดยจะมีการปลูกผักหลายชนิดสลับกันในแปลง เช่น คะน้าเห็ดหอม คะน้าต้น กวางตุ้งดอก กว้างตุ้งไต้หวัน ฉ่อย ผักกาดขาวเบา ผักกาดขาวไดโตเกียว โหระพา กระเพรา พริก มะเขือยาว มะเขือเปราะ กระเจี๊ยบ ผักบุ้ง สลัดวอเตอร์เครส ปวยเล้ง บวบ ถัวฟักยาว มะระ เป็นต้น
แปลงผักแห่งนี้ปลอดการใช้สารเคมี เพราะใช้อินทรียวัตถุในการบำรุงดิน เป็นธาตุอาหารให้พืช ซึ่งมีวิธีทำอินทรียวัตถุ คือ นำใบไม้ที่ผ่านการตัดตกแต่งในแปลงผักมากองรวมไว้จนเกิดการย่อยสลาย นำมาผสมกับขี้ไก่แกลบ ขี้เป็ดแกลบ แล้วหมักร่วมกับขุยมะพร้าว แกลบดำ ฮอร์โมนไข่ ไตรโคเดอร์มา (เป็นเชื้อราที่ฆ่าเชื้อโรคได้) ทำการผสมและหมักไว้ประมาณ 1 เดือน ถึงจะสามารถเอามาใช้บำรุงดินได้ ดังนั้นพืชผลที่ได้จึงปลอดสารพิษ 100%
สำหรับผู้ที่สนใจผักปลอดสารพิษสามารถเข้าไปเลือกซื้อได้ตามวันและเวลา ดังนี้
มหาวิทยาลัยได้ส่งเสริมให้เกษตรกรในพื้นที่ได้สร้างอาชีพและมีรายได้จากการขายผักปลอดสารพิษ อีกทั้งเป็นการทำให้นักศึกษา บุคลากร และประชาชนในพื้นที่ใกล้เคียงได้บริโภคอาหารที่มีคุณภาพและปราศจากสารพิษ นอกจากนี้ยังเป็นการใช้ประโยชน์พื้นที่มหาวิทยาลัยซึ่งเดิมเป็นพื้นที่รกร้างไม่มีการใช้ประโยชน์ ทำให้เกิดคุณค่าและคุณประโชชน์ต่อสังคม
-