สวนมุมสวย

detail

กระตุ้นการพัฒนา/ปรับปรุงพื้นที่ว่างที่ไม่มีการใช้ประโยชน์หรือพื้นที่สีเขียวเดิมที่มีสภาพเสื่อมโทรมให้สามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด เพื่อกิจกรรมการศึกษา กีฬาหรือนันทนาการ รวมทั้งเพิ่มการเชื่อมต่อพื้นที่สีเขียวภายในมหาวิทยาลัย รวมทั้งช่วยเพิ่มการดูดกลับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ปล่อยจากกิจกรรมต่างๆ

มหาวิทยาลัยมหิดลจัดทำแผนยุทธศาสตร์การบริหารจัดการเพื่อความยั่งยืน พ.ศ. 2558-2562 ซึ่งยกระดับจากการเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียว (Green University) ให้เป็นมหาวิทยาลัยเชิงนิเวศ (Eco-University) หนึ่งในแผนการดำเนินงานตามนโยบายดังกล่าวคือการปรับปรุงระบบภูมิทัศน์ภายในมหาวิทยาลัยที่มุ่งเน้นการอนุรักษ์พื้นที่สีเขียวดั้งเดิมที่มีอยู่และเพิ่มพื้นที่สีเขียวแห่งใหม่ให้มากขึ้น ตามแนวคิดที่ให้มหาวิทยาลัยเป็นมหาวิทยาลัยแห่งการเรียนรู้และอยู่ร่วมกับธรรมชาติอย่างมีสุขภาวะ

 

กองกายภาพและสิ่งแวดล้อมจึงดำเนินโครงการประกวดสวนมุมสวยเพื่อเป็นการส่งเสริมการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาอย่างยั่งยืนของมหาวิทยาลัย และเป็นการกระตุ้นให้คณะและส่วนงานภายในมหาวิทยาลัยมีส่วนร่วมในปรับปรุงสภาพภูมิทัศน์ภายในส่วนงานเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานตามนโยบายของมหาวิทยาลัย โดยการพัฒนา/ปรับปรุงพื้นที่ว่างที่ไม่มีการใช้ประโยชน์หรือพื้นที่สีเขียวเดิมที่มีสภาพเสื่อมโทรมให้สามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด และใช้เพื่อกิจกรรมการศึกษา กีฬาหรือนันทนาการ รวมทั้งเพิ่มการเชื่อมต่อพื้นที่สีเขียวภายในมหาวิทยาลัย ในการยกระดับคุณภาพชีวิตภายใต้สิ่งแวดล้อมที่ดีของนักศึกษาและบุคลากรตลอดจนชุมชนรอบข้าง นอกจากนี้พื้นที่สีเขียวที่เพิ่มขึ้นยังสามารถช่วยเพิ่มการดูดกลับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ปล่อยจากกิจกรรมต่างๆ ของมหาวิทยาลัย

 

 

วัตถุประสงค์

  • เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียวและเพิ่มการดูดกลับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ปล่อยจากกิจกรรมต่างๆ ของมหาวิทยาลัย
  • เพื่อส่งเสริมให้ส่วนงานต่างๆ มีส่วนร่วมในปรับปรุงภูมิทัศน์ของมหาวิทยาลัย เป็นการสนับสนุนการดำเนินงานตามนโยบายของมหาวิทยาลัยเชิงนิเวศ
  • เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของนักศึกษาและบุคลากรตลอดจนชุมชนรอบข้างมหาวิทยาลัย

โครงการประกวดสวนมุมสวยดังกล่าวเป็นโครงการที่ดำเนินงานอย่างต่อเนื่องมา 8 ปี มีส่วนงานเข้าร่วมกิจกรรมกว่า 25 ส่วนงาน โดยในแต่ละปีจะมีทั้งส่วนงานที่เคยส่งเข้าประกวดและในปีถัดมามีการปรับปรุงพื้นที่ใหม่เพิ่ม รวมทั้งส่วนงานใหม่ที่ส่งเข้าประกวดเป็นครั้งแรก ซึ่งเป็นการส่งเสริมให้ส่วนงานที่การพัฒนาพื้นที่ว่างให้เกิดประโยชน์มากขึ้น รวมทั้งส่งเสริมให้การดูแลรักษาพื้นที่เดิมให้มีสภาพแวดล้อมที่ดีอย่างต่อเนื่อง โดยมีการกำหนดขนาดพื้นที่ขั้นต่ำในการเข้าร่วมประกวด แสดงภาพก่อน-หลังปรับปรุงเพื่อให้เห็นการเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจน ทั้งนี้ตลอดการดำเนินงาน 8 ปี ได้มีการพัฒนาเกณฑ์เพิ่มเติม เพื่อส่งเสริมการดูดกลับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ โดยหน่วยงานต้องดำเนินการประเมินปริมาณการดูดกลับก๊าซเรือนกระจกจากต้นไม้และพื้นที่สีเขียวที่เพิ่มขึ้นก่อนส่งเข้าประกวด

  

การตรวจวัดต้นไม้เพื่อดำเนินการประเมินปริมาณการดูดกลับก๊าซเรือนกระจก

Partners/Stakeholders

-

ผู้ดำเนินการหลัก
กองกายภาพและสิ่งแวดล้อม
ส่วนงานหลัก