การเลือกปลูกพืชทนแล้งกลายเป็นวิธีสำคัญในการอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำในการจัดการภูมิทัศน์
การเลือกปลูกพืชทนแล้งกลายเป็นวิธีสำคัญในการอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำในการจัดการภูมิทัศน์
พื้นที่สีเขียวในมหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา ครอบคลุมประมาณ 40% ของพื้นที่ทั้งหมด ซึ่งเต็มไปด้วยพันธุ์ไม้ท้องถิ่นและพันธุ์ไม้ทนแล้งกระจายอยู่ทั่วมหาวิทยาลัย เนื่องจากดูแลรักษาง่าย ใช้น้ำน้อยในการเจริญเติบโต ซึ่งพันธุ์ไม้ทนแล้งจะมีลักษณะกายวิภาคแตกต่างออกไป เช่น กิ่งแขนงแสดงลักษณะลำต้นคล้ายใบทำหน้าที่สังเคราะห์แสง ลักษณะการเรียงตัวของปากใบ ชั้นผิวที่หนาหรือมีเซลล์ที่ช่วยป้องกันการสูญเสียน้ำของพืช ทำให้ลดปริมาณการใช้น้ำในการดูแลรักษาต้นไม้ และมหาวิทยาลัยได้ออกแบบระบบการจัดการน้ำผิวดินซึ่งรวบรวมน้ำฝนและน้ำที่ผ่านการบำบัดแล้วผ่านเครือข่ายคูคลองรอบมหาวิทยาลัย เพื่อใช้ในการดูแลและบำรุงรักษาพันธุ์ไม้ในพื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพ
ตัวอย่างพันธุ์ไม้ที่ปลูกเพื่อส่งเสริมความสวยงามและช่วยอนุรักษ์น้ำ ได้แก่
ไม้ต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง สูง 10 - 20 เมตร ผลัดใบ เรือนยอดเป็นพุ่มทึบรูปไข่ ดอกสีขาว ออกเป็นช่อ ช่วงเดือนกุมภาพันธ์ - มิถุนายน ผลเป็นฝักแห้ง ออกเดือนมิถุนายน – สิงหาคม ปลูกปะปนกับไม้ชนิดอื่น ริมถนนพูนผลประชา
พืชคลุมดิน
นอกจากช่วยรักษาความชื้นและเพิ่มธาตุอาหารในดินแล้ว ยังช่วยลดอุณหภูมิและป้องกันการพังทลายของหน้าดิน ลดวัชพืช และเพิ่มกิจกรรมจุลินทรีย์ในดิน เช่น
มหาวิทยาลัยได้ปรับพื้นที่แนวรั้วเนินดินและเปลี่ยนจากการปลูกหญ้าเป็นต้นกระดุมทองเลื้อย ซึ่งเป็นพืชคลุมดินแทน เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นแก่หน้าดิน ลดความถี่ในการตัดแต่ง และป้องกันการพังทลายหน้าดิน โดยมีการเพาะพันธุ์ต้นกล้าเพิ่มเติมมากกว่า 2,000 กระถาง เพื่อเลือกปลูกแทนต้นหญ้าบริเวณแนวรั้วเนินดินทิศตะวันตกที่เชื่อมต่อกับพื้นที่ว่างเปล่า
แนวรั้วเนินดินทิศตะวันตกเดิม
การปักชำต้นกระดุมทองเลื้อย มากกว่า 2,000 กระถาง โดยใช้กิ่งจากต้นที่มีในพื้นที่ และการปลูกต้นกระดุมทอง ที่แนวรั้วเนินดิน
ปัจจุบัน ความท้าทายจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภัยแล้งที่ไม่แน่นอน ทำให้การเลือกปลูกพืชทนแล้งกลายเป็นวิธีสำคัญในการอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำในการจัดการภูมิทัศน์ ซึ่งนอกจากจะลดการใช้น้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพแล้ว ยังช่วยลดต้นทุนการดูแลรักษา ซึ่งพืชเหล่านี้ยังคงความสวยงามและทำหน้าที่เป็นองค์ประกอบในภูมิทัศน์ของมหาวิทยาลัยได้ดี
-