เยาวชนเชื่อมโยงองค์ความรู้ที่ได้รับไปใช้ในชีวิตประจำวัน และส่งต่อความรู้ไปยังครอบครัว คนใกล้ชิด โรงเรียน ชุมชน และสังคม ได้รับทราบถึงความสำคัญของการดูแลสิ่งแวดล้อมและอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพและการอยู่อาศัยร่วมกันกับสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนตลอดไป
เยาวชนเชื่อมโยงองค์ความรู้ที่ได้รับไปใช้ในชีวิตประจำวัน และส่งต่อความรู้ไปยังครอบครัว คนใกล้ชิด โรงเรียน ชุมชน และสังคม ได้รับทราบถึงความสำคัญของการดูแลสิ่งแวดล้อมและอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพและการอยู่อาศัยร่วมกันกับสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนตลอดไป
คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลและบริษัทบ้านปู จำกัด (มหาชน) ร่วมกันจัดโครงการค่ายเยาวชนวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม (Power Green Camp) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างเยาวชนผู้นำที่มีความรู้และทักษะทางด้านวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม ผ่านการคัดเลือกตัวแทนเยาวชนจากทั่งประเทศ มาเค้าร่วมโครงการและทำกิจกรรมทางด้านสิ่งแวดล้อม ได้ฝึกทักษะและส่งเสริมการมีจิตสาธารณะจากประสบการณ์และการปฏิบัติจริง คิดเป็น ทำเป็น มีเหตุมีผล รู้จักการวิเคราะห์ด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เห็นถึงความสำคัญของสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ และได้รับการเสริมสร้างทัศนคติที่ดีต่อการเรียนรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม และยังมุ่งหวังว่าเยาวชนที่ได้รับการปลูกฝังความรู้และประสบการณ์จากโครงการฯ จะเป็นกลุ่มผู้นำและตัวกลางในการเชื่อมโยงองค์ความรู้ที่ได้รับไปใช้ในชีวิตประจำวัน และส่งต่อความรู้ไปยังครอบครัว คนใกล้ชิด โรงเรียน ชุมชน และสังคม ให้อยู่อาศัยร่วมกันกับสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนต่อไป โดยตั้งแต่เริ่มดำเนินโครงการจนถึงปัจจุบันมีผู้เข้าร่วมโครงการจำนวนทั้งสิ้น 1,159 คน
ผลการดำเนินงาน
สรุปผู้เข้าร่วมโครงการค่ายเยาวชนวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม
ครั้ง |
แนวคิด |
จำนวนผู้เข้าร่วม (คน) |
19 |
“Urban Rewilding” ป่า-เมือง-ชีวิต เชื่อมทุกชีวิต ให้ใกล้ชิดกับธรรมชาติ |
50 |
18 |
Waste Warriors ภารกิจพิทักษ์โลก: Green Cloud – Green Tech – Green Influencer |
50 |
17 |
Climate Change, We Must Change - เริ่มเพื่อโลก |
50 |
16 |
ECO Living & Learning (เปลี่ยนปรับสู่กรีนไลฟ์สไตล์ตอบรับ New Normal) |
40 |
15 |
Jungle rumble |
15 |
14 |
“รวมพลังเยาวชน สู้วิกฤตโลกร้อน ปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพ” |
70 |
13 |
การบริหารจัดการความหลากหลายทางชีวภาพกับการเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ |
69 |
12 |
“เศรษฐกิจ สังคม และความหลากหลายทางชีวภาพ สร้างสมดุลอย่างไรให้ยั่งยืน ในยุคไทยแลนด์ 4.0” |
69 |
11 |
"การจัดการความหลากหลายทางชีวภาพ กับการอนุรักษ์แหล่งมรดกโลกอย่างยั่งยืน" |
69 |
10 |
ความหลากหลายทางชีวภาพกับการพัฒนาสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตที่ยั่งยืน |
70 |
9 |
“เยาวชนไทย เรียนรู้รับมือธรณีพิบัติภัย มหันตภัยใกล้ตัว” |
70 |
8 |
“วิกฤติน้ำ วิกฤติโลก เพาเวอร์กรีนรวมพลัง จัดการน้ำข้ามพรมแดนแบบบูรณาการ” |
67 |
7 |
“ร่วมรักษ์โลกเขียว ร่วมลดโลกร้อน เตรียมสู่อาเซียนหนึ่งเดียว” |
70 |
6 |
“ปี 2012 โลกจะเกิดพิบัติภัยจริงหรือ แล้วเราจะเตรียมพร้อมและรับวิกฤติได้อย่างไร” |
68 |
5 |
“ความหลากหลายทางชีวภาพที่บ้านฉัน ช่วยสร้างสรรค์ให้โลกสวย” |
60 |
4 |
“แก้ไขมลพิษ ลดวิกฤตสิ่งแวดล้อม” |
70 |
3 |
“ลดโลกร้อนด้วยสองมือเรา” |
62 |
2 |
เยาวชนวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม |
70 |
1 |
เยาวชนวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม |
70 |
รวมจำนวนผู้เข้าร่วมทั้งหมด |
1,159 |
ปี 2567
โครงการค่ายเยาวชนวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมรุ่นที่ 19 เมื่อวันที่ 28 เมษายน-4 พฤษภาคม 2567 ภายใต้แนวคิด “Urban Rewilding” ป่า-เมือง-ชีวิต เชื่อมทุกชีวิต ให้ใกล้ชิดกับธรรมชาติ เพื่อเชื่อมโยงเยาวชนคนรุ่นใหม่ให้มีความใกล้ชิดกับ “ป่า” มากขึ้น กระตุ้นจิตสำนึกในการอนุรักษ์ป่าไม้และทรัพยากรธรรมชาติ เกิดความรู้ความเข้าใจ และตระหนักถึงความสำคัญของป่าไม้และความหลากหลายทางชีวภาพ เรียนรู้ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตกับธรรมชาติรอบตัว รวมถึงแนวทางการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้อย่างเป็นระบบ โดยเฉพาะป่าในเมือง และป่าชุมชน โดยคำนึงถึงคุณลักษณะพื้นฐาน ปัจจัยด้านสังคม คุณภาพชีวิตของประชาชนที่อาศัยในเขตเมืองในแต่ละพื้นที่ นอกจากนี้ ยังส่งเสริมให้เยาวชนมีส่วนร่วมกับชุมชนเพื่อฟื้นฟูพื้นที่ป่าด้วยการนำองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม เทคโนโลยี และนวัตกรรมเข้าไปช่วยในกระบวนการแก้ไขปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน โดยมีผู้เข้าร่วม 50 คน
ปี 2566
โครงการค่ายเยาวชนวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมรุ่นที่ 18 เมื่อวันที่ 15 - 21 ตุลาคม 2566 ภายใต้แนวคิด Waste Warriors ภารกิจพิทักษ์โลก: Green Cloud – Green Tech – Green Influencer มุ่งส่งเสริมเยาวชนนำองค์ความรู้ไปประยุกต์แก้ปัญหาทรัพยากรทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในระดับชุมชน สังคม และประเทศชาติ ซึ่งจะเป็นรากฐานนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีและยั่งยืนในอนาคต โดยมอบประสบการณ์การเรียนรู้ให้แก่ผู้เข้าร่วมกิจกรรมในประเด็นต่าง ๆ เกี่ยวข้องกับการจัดการขยะ (Waste Management) ทั้งภาคทฤษฎีผ่านกิจกรรมการบรรยายในหัวข้อต่าง ๆ อาทิ การเข้าใจวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ (Life Cycle Waste Management) โดยมีผู้เข้าร่วม 50 คน
ปี 2565
โครงการค่ายเยาวชนวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม รุ่นที่ 17. (Power Green Camp 17). ระหว่างวันที่วันที่15-25 ตุลาคม พ.ศ. 2565 เรียนรู้ทุกประเด็นการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) ทั้งภาคทฤษฎีแบบจัดเต็ม และการลงพื้นที่จริงในถ้ำ อุทยานและชายฝั่งทะเล ก่อนตกผลึกไอเดียพัฒนาโครงงานวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมสุดเจ๋ง ชิงทุนการศึกษา พร้อมเกียรติบัตรและถ้วยรางวัล มุ่งส่งเสริมเยาวชนนำองค์ความรู้ไปประยุกต์แก้ปัญหาทรัพยากรทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในระดับชุมชน สังคม และประเทศชาติ ซึ่งจะเป็นรากฐานนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีและยั่งยืนในอนาคต โดยในปีนี้กิจกรรมจะจัดขึ้นในรูปแบบผสมผสาน (Hybrid) ระหว่างการเรียนออนไลน์และกิจกรรมภาคสนาม ภายใต้แนวคิดของค่ายฯ “วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม – เรียนรู้สู่การปฏิบัติ” โดยผู้เข้าร่วม 50 คน
ความแตกต่าง หรือมีเอกลักษณ์ที่ต่างจากโครงการอื่น
เป็นค่ายเยาวชนวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมที่ มีเอกลักษณ์ คือ การใช้เครื่องมือความรู้ทางวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี มาประยุกต์ใช้ในการดูแลสิ่งแวดล้อม
ผลกระทบในระดับชุมชน ประเทศ ระดับโลก
ระดับชุมชน : เยาวชนนำองค์ความรู้ที่ได้รับไปใช้ในชีวิตประจำวัน และส่งต่อความรู้ไปยังครอบครัว คนใกล้ชิด โรงเรียน ชุมชน และสังคม
ระดับประเทศ : เยาวชนร่วมดูแลสิ่งแวดล้อมและอนุรักษ์ทรัพยากรทางธรรมชาติ หวงแหนความหลากหลายทางชีวภาพ ส่งผลให้ทรัพยากรทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในประเทศยังคงอยู่และมีคณภาพที่ดี
ระดับโลก : ประเทษไทยมีความอุดมสมบูรณ์ของความหลากหลายทางชีวภาพ ต้นน้ำป่าไม้ และสิ่งแวดล้อมที่ดีสู่สายตาชาวโลก
ทั้งนี้ โครงการค่ายเยาวชนวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม ค่ายเยาวชนที่มุ่งเน้นการเรียนรู้และสร้างประสบการณ์ ปลูกจิตสำนึกที่ดีทางด้านสิ่งแวดล้อม และกล้าแสดงออก มีความเป็นผู้นำ อีกทั้งนำความรู้ที่ได้จากโครงการ นำกลับไปทำให้สังคมน่าอยู่ยิ่งขึ้น