Sustainable Cities and Communities

ทำให้เมืองและการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์มีความครอบคลุม ปลอดภัยพร้อมรับการเปลี่ยนแปลง และยั่งยืน

มหาวิทยาลัยมหิดลไม่เพียงเป็นโรงเรียนแพทย์แห่งแรกประเทศไทยที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านการแพทย์และสาธารณสุข แต่ยังมีโรงเรียนดนตรีแห่งแรกในประเทศไทยที่มีเชี่ยวชาญทางด้านศิลปะดนตรี “วิทยาลัยดุริยางคศิลป์” ซึ่งก่อตั้งในปี พ.ศ 2537 เพื่อส่งเสริมการพัฒนา soft power ของประเทศสู่ระดับนานาชาติ มีหลักสูตรการเรียนการสอนด้านศิลปะการดนตรีในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับเตรียมอุดมดนตรีไปจนถึงระดับปริญญาเอก นอกจากนี้ยังมี มหิดลสิทธาคาร (Prince Mahidol Hall) ซึ่งเป็นอาคารที่การออกแบบระบบ Acoustic รวมถึงพื้นที่ภายในอาคารให้สามารถถ่ายทอดเสียงไปยังผู้ชมจำนวน 2,016 ที่นั่ง ได้รับฟังอย่างมีคุณภาพ อาคารถูกออกแบบให้สามารถรองรับการใช้งานที่หลากหลายตั้งแต่พิธีพระราชทานปริญญาบัตร การปฐมนิเทศนักศึกษา รวมทั้งการแสดงละคร ดนตรี ศิลปวัฒนธรรมต่าง ๆ และการประชุมสัมมนาระดับประเทศและภาคพื้นทวีป ทั้งยังสามารถจัดเป็นห้องบรรยายการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยได้อีกด้วย นอกจากนี้มหาวิทยาลัยมหิดลให้ความสำคัญเกี่ยวกับการสร้างเมืองที่น่าอยู่และปลอดภัย โดยเริ่มจากการเปลี่ยนสภาพแวดล้อมภายในมหาวิทยาลัยให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเพื่อลดปริมาณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ เช่น การเพิ่มพื้นที่สีเขียวผ่านการปลูกต้นไม้ บริการรถรางสาธารณะให้กับบุคลากรและนักศึกษาในมหาวิทยาลัยใช้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย มีเส้นทางจักรยาน มีแนวทางการจัดการขยะที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มีสวัสดิการอาคารที่พักให้กับนักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัยในราคาที่ไม่แพง และเนื่องจากจะมีการสร้างรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงอ่อน (ตลิ่งชัน-ศาลายา) กับระบบขนส่งสาธารณะอื่น ๆ มหาวิทยาลัยมหิดลจึงมีการทำแผนพัฒนาพื้นที่รอบสถานีศาลายาเพื่อรองรับการเข้ามาของรถไฟฟ้าและมีแผนพัฒนาทางเชื่อมระหว่างสถานีรถไฟศาลายามายังระบบขนส่งสาธารณะของมหาวิทยาลัย และเชื่อมต่อไปยังศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก เพื่อความสะดวกในการเข้าถึงบริการทางการแพทย์และสาธารณสุขอย่างเป็นระบบ โดยไม่กระทบ ระบบนิเวศภายในวิทยาเขตศาลายา มหาวิทยาลัยยังมีฐานข้อมูลกลางเพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการ การพัฒนาและมีระบบ WIFI ครอบคลุมทุกพื้นที่ในมหาวิทยาลัย โดยเพิ่มปริมาณ Internet Gateway Bandwidth เป็น 19 Gbps ซึ่งรองรับผู้ใช้จำนวนมากกว่า 70,000 บัญชี เพื่อส่งเสริมให้บุคลากรเข้าถึงเทคโนโลยีในการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพ และยังสนับสนุนการใช้งานหลายอุปกรณ์เพื่อผลักดันไปสู่ Digital Convergence อีกทั้งยังมีแพลตฟอร์ม We Mahidol Application ที่รองรับได้ทั้งระบบปฏิบัติการ Android และ iOS ซึ่งมีรูปแบบการใช้งานที่หลากหลายตอบโจทย์การใช้ชีวิตของนักศึกษาและบุคลากรของมหาวิทยาลัย ในปี พ.ศ. 2565 มียอดดาวน์โหลดเพื่อใช้งานมากกว่า 40,000 ครั้ง ซึ่งช่วยให้การรองรับการเปลี่ยนแปลงภายใต้ Disruptive Technology ต่อไปในอนาคต

Highlights
  • thumb
    21 ต.ค. 2565
    โครงการฟาร์มสร้างสุขรามาธิบดี
    ฟาร์มสร้างสุขรามาธิบดี เกษตรอินทรีย์วิถีธรรมชาติ เพื่อผู้ป่วยและประชาชนคนไทย ได้ตระหนักและเรียนรู้ต้นทางของการดูแลสุขภาพแบบครบวงจร
  • thumb
    12 08 11
    23 ส.ค. 2566
    โครงการการพัฒนารูปแบบการอภิบาลจัดการขยะสิ่งแวดล้อมในระดับท้องถิ่น ภายใต้กรอบการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs): กรณีศึกษาของ อ.ท่าม่วง จ.กาญจนบุรี
    การพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมของระบบทุนนิยมโลกมีการเจริญเติบโตไปอย่างรวดเร็ว เกิดการค้าขายแลกเปลี่ยน นำเข้า ส่งออก และการผลิตของระบบอุตสาหกรรม ที่กระตุ้นให้เกิดการผลิตและการบริโภคสินค้าและบริการเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภค นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงด้านการดำรงชีวิต วัฒนธรรมการบริโภค ที่ผู้ผลิตสินค้าและบริการนำเสนอความสะดวกและรวดเร็วเพื่อส่งมอบสินค้าและบริการต่าง ๆ มีการใช้บรรจุภัณฑ์จากพลาสติกที่ยากแก่การย่อยสลาย และขาดการกำจัดที่ดีและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม กลายเป็นขยะ (Waste) อันตราย อีกทั้งยังส่งผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อมอย่างมหาศาลในระยะยาว โดยเฉพาะปัญหาการจัดการขยะ (Waste Management) ซึ่งขยะเองมีแนวโน้มทวีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างมากในขณะที่การจัดการขยะยังขาดประสิทธิภาพและความเอาใจใส่ของมนุษย์ จากข้อมูลจากธนาคารโลก (World Bank) พบว่า ในปัจจุบันทั่วโลกมีการผลิตขยะรวมกันมากถึง 2.01 พันล้านตันต่อปี และในจำนวนนี้ ขยะร้อยละ 33 ยังขาดการจัดการที่ดีและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และคาดว่าจะมีแนวโน้มสูงถึง 3.40 พันล้านตันภายในปี ค.ศ. 2050 ซึ่งมากกว่า 2 เท่าของอัตราการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรทั่วโลกในช่วงระยะเวลาเดียวกัน
  • thumb
    11 16 17
    15 พ.ค. 2566
    โครงการ ปันรัก ปันสุข เยี่ยมบ้านบูรณาการสำหรับกลุ่มเปราะบาง
    โครงการเยี่ยมบ้านบูรณาการสำหรับกลุ่มเปราะบาง เป็นการบูรณาการภาคีเครือข่ายทั้งในระดับตำบล อำเภอ จังหวัดในการเยี่ยมกลุ่มเปราะบางรายที่มีปัญหาซับซ้อนทั้งมิติด้านสังคม สุขภาพ เศรษฐกิจและสภาพแวดล้อมเพื่อร่วมกันดูแลและช่วยเหลือให้เข้าถึงบริการแบบไร้รอยต่อช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตกลุ่มเปราะบางให้ดียิ่งขึ้น
  • thumb
    15 พ.ค. 2566
    การพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพและสร้างรายได้สำหรับผู้สูงอายุในศูนย์ดูแลกลางวันสำหรับผู้สูงอายุโดยชุมชน
    การสร้างเสริมสุขภาพและสร้างรายได้สำหรับผู้สูงอายุในศูนย์ดูแลกลางวันสำหรับผู้สูงอายุเป็นพื้นที่สร้างสรรค์ให้ผู้สูงอายุมาทำกิจกรรมร่วมกันทุกวันจันทร์ถึงศุกร์ มีกลไกคณะทำงานในการบริหารจัดการศูนย์ดูแลกลางวัน โดยมีครูอาสาในการสร้างการเรียนรู้ 12 ฐาน และมีกองทุนศูนย์ดูแลกลางวันสำหรับผู้สูงอายุเพื่อสนับสนุนงบประมาณในการจัดกิจกรรม
  • thumb
    10 ส.ค. 2565
    สร้างฝายชะลอน้ำ (CHECK DAM) แล้วได้ประโยชน์อย่างไร
    วิทยาเขตกาญจนบุรี มหาวิทยาลัยมหิดลเดิมประสบปัญหาการพังทลายของหน้าดิน เนื่องจากการชะล้างของน้ำฝน ในช่วงฤดูฝนได้ไหลเข้าท่วมสู่อำเภอไทรโยค เนื่องจากสถานที่ตั้งของวิทยาเขตกาญจนบุรีอยู่บนที่ราบเชิงเขา ทำให้สถานที่ราชการ บ้านเรือนประชาชน ถนน ได้รับความเสียหายส่งผลให้เกิดความเดือดร้อนของชุมชนในพื้นที่เทศบาลตำบลวังโพ อำเภอไทรโยค ในปี 2553 วิทยาเขตกาญจนบุรี ได้มีความร่วมมือกับ SCGP โรงงานวังศาลา ได้เข้ามาศึกษาและสำรวจการพังทลายของชั้นดินบริเวณวิทยาเขตกาญจนบุรี เพื่อร่วมหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาโดยเห็นควรให้มีการจัดสร้างฝายชะลอน้ำในพื้นที่ของวิทยาเขตกาญจนบุรี เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ทั้งนี้วิทยาเขตกาญจนบุรีจึงได้มีความร่วมมือกับทาง SCGP โรงงานวังศาลา และทุกภาคส่วนในอำเภอไทรโยค ในการเริ่มสร้างฝายชะลอน้ำขึ้นในพื้นที่ของวิทยาเขตกาญจนบุรี มาเป็นลำดับในทุกปี โดย ณ ปัจจุบัน มีฝายชะลอน้ำทั้งหมดจำนวน 427 ฝาย วัตถุประสงค์หลักของการสร้างฝายในพื้นที่มิได้เพื่อการกักเก็บน้ำเนื่องจากสภาพพื้นที่เป็นเขาหินปูน มีรูพรุนใต้พื้นดินเป็นจำนวนมากไม่สามารถเก็บน้ำได้ แต่การสร้างฝายเพือชะลอน้ำ และลดความรุนแรงของน้ำเพื่อไม้ให้สูญเสียหน้าดิน อีกทั้งยังต้องการให้พื้นป่ามีความชุ่มชื้นที่ยาวนานขึ้น โดยส่วนใหญ่ฝายชะลอน้ำสร้างจากวัสดุธรรมชาติ เช่น เศษไม้ ปลายไม้ หิน สามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติและไม่ส่งผลเสียต่อระบบนิเวศ
  • thumb
    03 11 12
    30 มิ.ย. 2565
    โครงการตรวจประเมินการปฏิบัติงานบริษัทรับกำจัดของเสียอันตราย
    มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นมหาวิทยาลัยที่มีการเรียนการสอน งานวิจัยทางการแพทย์และวิทยาศาสตร์เป็นหลัก จากนโยบายและแนวปฏิบัติด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2557 ว่าด้วยการสนับสนุนการใช้ทรัพยากรอย่างเหมาะสม และมีระบบการจัดการของเสียที่มีประสิทธิภาพ ศูนย์บริหารความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (COSHEM) จึงได้จัดทำโครงการบริหารจัดการของเสียนตรายภายในมหาวิทยาลัย โดยดูแลรับผิดชอบการบริหารจัดการของเสียอันตราย 2 ประเภท คือ ของเสียสารเคมี และของเสียอันตรายทางชีวภาพ ทั้งนี้ทางศูนย์ฯ มีระบบบริหารจัดการตั้งแต่ การคัดแยกของเสีย การจัดเก็บ และการส่งกำจัด ซึ่งทางศูนย์ฯ เป็นหน่วยงานกลางในการติดต่อประสานงาน และดำเนินการจัดหาบริษัทรับกำจัดของสียอันตราย ที่ดำเนินกิจการภายใต้การควบคุมและดูแลจากหน่วยงานของรัฐ และได้รับการรับรองมาตรฐานตามที่กฎหมายกำหนด เข้ารับกำจัดของเสียอันตรายภายในส่วนงาน
  • thumb
    21 ต.ค. 2565
    ผังแม่บทมหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา พ.ศ. 2551
    แนวคิดหลักมหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยสีเขียว (Greens University)
  • thumb
    7 ต.ค. 2565
    MU Green Rankings
    MU Green Rankings ประเมินสถานะการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนของส่วนงานภายในมหาวิทยาลัยมหิดล
  • thumb
    7 ต.ค. 2565
    ชายฝั่งทะเลไทย: ความเปราะบาง ความยืดหยุ่น และการปรับตัวของบริเวณชายฝั่งทะเลในประเทศไทย
    การวิจัยชายฝั่งทะเลไทยจะเป็นประโยชน์ต่อรัฐบาลและผู้กำหนดนโยบาย ซึ่งจำเป็นต้องมีการวางแผนสำหรับผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และเป็นไปเพื่อการพัฒนากลยุทธ์ที่มีความยืดหยุ่นเพื่อจัดการกับผลกระทบต่อระบบธรรมชาติและสังคม
  • thumb
    12 08 11
    6 ก.ย. 2565
    โครงการ “สานเสวนา Social Co-production กับการยกระดับคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืน”
    บทบาทของภาคประชาชนตามแนวคิดประชารัฐนี้ จะปรับเปลี่ยนจากการเป็นผู้รอรับสินค้าและบริการ (user/consumer) จากภาครัฐแต่เพียงฝ่ายเดียว ไปสู่การเข้าไปมีส่วนร่วมกับประชาชน (citizen participation) และภาคส่วนอื่น ๆ เนื่องจากจะเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียโดยตรง อันจะเป็นการออกแบบและส่งมอบสินค้าและบริการสาธารณะได้ตรงกับความต้องการที่แท้จริงของผู้ใช้/รับบริการ และการให้โอกาสประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการออกแบบ จัดหา และส่งมอบสินค้าและบริการสาธารณะของตนเองตั้งแต่ต้น ย่อมจะทำให้เกิดความต่อเนื่องและยั่งยืนต่อไป ดังนั้น การจัดการขยะในชุมชนจำเป็นจะต้องร่วมมือกันระหว่างภาคส่วนต่าง ๆ ตามแนวทางที่เรียกกันว่า “Coproduction” หรือ “การร่วมผลิต” เพื่อให้การจัดการกับปัญหาขยะในพื้นที่เกิดประสิทธิภาพและมีความยั่งยืนต่อไป
  • thumb
    04 11 15
    31 ส.ค. 2565
    SIREEPARK 360 Virtual Tour
    ม.มหิดล เปิดโลกเมตาเวิร์สท่องอุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติครั้งแรก แม้วิกฤติ COVID-19 จะทำให้ “แลนด์มาร์ค” (landmark) หรือสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าประทับใจหลายจุดในประเทศไทยต้องหลับใหลงดเปิดให้บริการเยี่ยมชม แต่ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลจะไม่ทำให้ระยะทาง เวลา หรืออุปสรรคใดๆ มาคอยขวางกั้น “ห้องเรียนธรรมชาติ” จากสมุนไพรนานาชนิด สู่โลกแห่งการเรียนรู้ที่ไร้ขีดจำกัด นับเป็นครั้งแรกของ “อุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ” แห่งโครงการจัดตั้งสถาบันอุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งเป็นหนึ่งใน “แลนด์มาร์ค” ที่สำคัญของจังหวัดนครปฐม ที่จะได้ “ย่อโลก” สมุนไพรนานาชนิด และธรรมชาติอันอุดมสมบูรณ์ ในพื้นที่ 140 ไร่ ซึ่งนับเป็นความภาคภูมิใจของ มหาวิทยาลัยมหิดล ในฐานะ “ปัญญาของแผ่นดิน” เข้าสู่ “โลกแห่งเมตาเวิร์ส” เพื่อการเรียนรู้ที่ไม่มีวันสิ้นสุดในโลกเสมือนจริง
  • thumb
    31 ส.ค. 2565
    อุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติรับเกียรติบัตรแหล่งท่องเที่ยวเชิงสุขภาพภูมิปัญญาไทยและสมุนไพร ระดับ “ดีเยี่ยม”
    โครงการจัดตั้งสถาบันอุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ ได้รับการคัดเลือกให้ได้รับเกียรติบัตรแหล่งท่องเที่ยวเชิงสุขภาพภูมิปัญญาไทยและสมุนไพร ระดับ “ดีเยี่ยม”
จำนวนทั้งหมด 31 รายการ