Mahidol Eco Park

detail

การพัฒนาพื้นที่ที่ไม่มีการใช้ประโยชน์ให้เป็นสวนสาธารณะเพื่อการเรียนรู้ พักผ่อนหย่อนใจท่ามกลางธรรมชาติอย่างบูรณาการ และพื้นที่สีเขียวใจกลางพื้นที่โซนการศึกษา เอื้อให้นักศึกษาและบุคลากรได้ใช้โยชน์อย่างเต็มที่

มหาวิทยาลัยมหิดลมีแนวคิดในการพัฒนามหาวิทยาลัยตามผังแม่บทที่ต้องการสร้าง มหาวิทยาลัยแห่งการเรียนรู้และอยู่ร่วมกันกับธรรมชาติ (A Promise Place to Live and Learn Together with Nature) มีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ มีลักษณะทางกายภาพที่ตอบสนองสภาพสังคมและสิ่งแวดล้อมได้อย่างกลมกลืน โดยมีการพัฒนาพื้นที่ในมหาวิทยาลัยให้เกิดการใช้ประโยชน์อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งมีพื้นที่บริเวณลานหน้าสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดลเนื้อที่ประมาณ 6-0-70 ไร่ หรือ 9,880 ตารางเมตร เป็นพื้นที่โล่งตั้งอยู่ในแนวแกนหลักสีเขียวตะวันออก-ตะวันตก ตามผังแม่บทมหาวิทยาลัย ที่เชื่อมต่อพื้นที่ทุกส่วนของมหาวิทยาลัยเข้าด้วยกันอย่างต่อเนื่อง เดิมเป็นพื้นที่ว่างที่ไม่มีการใช้ประโยชน์ที่มหาวิทยาลัยเล็งเห็นศักยภาพในการพัฒนาเป็นแหล่งเรียนรู้และแหล่งพักผ่อนท่ามกลางธรรมชาติอย่างบูรณาการให้นักศึกษาและบุคลากรได้ใช้โยชน์อย่างเต็มที่ อีกทั้งยังเป็นพื้นที่สีเขียวใจกลางพื้นที่โซนการศึกษา

  

มหาวิทยาลัยจึงดำเนินโครงการปรับปรุงภูมิทัศน์บริเวณลานหน้าสมุดและคลังความรู้ฯ ดังกล่าวให้เป็นสวนสาธารณะเพื่อการเรียนรู้ Mahidol Eco Park ในปี พ.ศ. 2565 โดยมีวัตถุประสงค์หลักดังนี้

  1. พัฒนาพื้นที่ว่างให้เกิดประโยชน์และสอดคล้องกับแนวคิดผังแม่บทมหาวิทยาลัยมหิดล
  2. สร้างสวนสาธารณะศูนย์กลางพื้นที่โซนการศึกษาที่นำเทคโนโลยีการใช้พลังงานทดแทนและการสื่อสารระบบดิจิทัลมาประยุกต์ใช้ภายในสวนฯ ให้เกิดประโยชน์และความน่าสนใจ
  3. สร้างพื้นที่ให้มีเอกลักษณ์เฉพาะเพื่อให้เป็น Landmark สำคัญของมหาวิทยาลัย      

การปรับปรุงภูมิทัศน์ Mahidol Eco Park จะแบ่งเป็น 2 ส่วนหลัก คือส่วน Soft Scape โดยการปลูกต้นไม้ใหญ่เพิ่มในพื้นที่เพื่อใช้ประโยชน์จากร่มเงา และลดอุณหภูมิความร้อนจากแสงแดดในเวลากลางวัน ปลูกต้นไม้พุ่มเพื่อใช้ประโยชน์เป็นแนวแบ่งพื้นทีให้เป็นสัดส่วน รวมถึงตกแต่งภูมิทัศน์ให้มีความสวยงาม ใช้พืชคุลมดินหรือหญ้าเพื่อลดการชะล้างหน้าดินจากน้ำฝนและน้ำรดต้นไม้ อีกทั้งยังให้พื้นที่เกิดความชุ่มชื้นมีความเป็นระเบียบ และส่วน Hard Scape ออกแบบพื้นที่เพื่อรองรับการใช้ประโยชน์ในกิจกรรมที่หลากหลาย เนื่องจากตั้งอยู่ในบริเวณศูนย์กลางโซนการศึกษา จึงเน้นการใช้ประโยชน์ (Function) หลักเป็น 2 ส่วน คือ Passive Recreation 80% + Active Recreation 20% ซึ่งจำแนกเป็น 5 กลุ่มหลัก เพื่อให้มีการใช้ประโยชน์สอดคล้องและรองรับกับการใช้งานในพื้นที่โซนการศึกษา ดังนี้

     

Mild ออกแบบกายภาพของพื้นที่ให้มีการใช้งานเพื่อรองรับกิจกรรมประเภท การอ่านหนังสือ การทำสมาธิเพื่อพัฒนาทางด้านจิตใจ โดยมีแนวคิดการออกแบบให้พื้นที่มีความสงบร่มเย็น

Mood ออกแบบกายภาพของพื้นที่ให้มีการใช้งานเพื่อรองรับกิจกรรมประเภท การพบปะพูดคุย นั่งพักผ่อน นอนพักผ่อน นั่งเล่น เพื่อพัฒนาทางด้านอารมณ์ โดยมีแนวคิดการออกแบบให้พื้นที่เข้าถึงได้สะดวกสร้างสรรค์บรรยากาศให้มีความร่มรื่น เน้นให้เกิดปฏิสัมพันธ์ของสังคมภายในมหาวิทยาลัย

Learn การใช้ชีวิตร่วมกับธรรมชาติเพื่อการเรียนรู้ออกแบบกายภาพของพื้นที่ให้มีการใช้งานเพื่อรองรับกิจกรรมประเภท การศึกษานอกห้องเรียนท่ามกลางธรรมชาติ การติวหนังสือ

Activity & Culture ออกแบบลานอเนกประสงค์รองรับการจัดกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์และกิจกรรมที่สื่อถึงวัฒนธรรมองค์กร เช่น งานประเพณี งานประจำปีของมหาวิทยาลัย

Sense of Place ออกแบบสื่อเชิงสัญลักษณ์ เช่น ประติมากรรม ภาพวาด/ภาพถ่าย ฯลฯ เพื่อถ่ายทอดเรื่องราวของสถานที่

 


ในเดือนมีนาคม ปี 2566 ที่ผ่านมามหาวิทยาลัยได้ดำเนินการปรับปรุงพื้นที่ Mahidol Eco Park แล้วเสร็จ ทำให้มีต้นไม้ใหญ่และพื้นที่สวนสาธารณะภายในมหาวิทยาลัยเพิ่มขึ้นทั้งนี้สามารถลดการใช้พลังงานไฟฟ้าที่ได้มาจากการใช้พลังงานทดแทน (Solar Cell) กับระบบไฟฟ้าแสงสว่างของสวนสาธารณะ และสร้างทางเลือกใหม่สำหรับการเรียนการสอนนอกห้องเรียนเพื่อให้เกิด Activity and Learning รวมทั้งเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจแห่งใหม่ของประชาคมชาวมหิดล เป็นการพัฒนาที่ส่งเสริมการเรียนรู้ตาม SDG4 Quality Education การใช้พลังงานทดแทนในพื้นที่ตาม SDG7 Affordable and Clean Energy ออกแบบด้านกายภาพของพื้นที่ให้เป็น Universal Design รองรับการใช้งานสำหรับทุกคนอย่างไม่มีอุปสรรคตาม SDG10 Reduced Inequality เป็นการพัฒนาพื้นที่ทิ้งร้างให้มีการใช้ประโยชน์ตาม SDG11 Sustainable Cities and Communities พร้อมทั้งการเพิ่มพื้นที่สีเขียวในการช่วยดูดกลับก๊าซเรือนกระจกตาม SDG13 Climate Action 


สภาพแวดล้อมก่อนโครงการปรับปรุงพื้นที่ Mahidol Eco Park  

  

 


สภาพแวดล้อมภายหลังโครงการปรับปรุงพื้นที่ Mahidol Eco Park

  

  

 

Partners/Stakeholders

-

ผู้ดำเนินการหลัก
กองกายภาพและสิ่งแวดล้อม
ส่วนงานหลัก