Sustainable Cities and Communities

ทำให้เมืองและการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์มีความครอบคลุม ปลอดภัยพร้อมรับการเปลี่ยนแปลง และยั่งยืน

มหาวิทยาลัยมหิดลไม่เพียงเป็นโรงเรียนแพทย์แห่งแรกประเทศไทยที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านการแพทย์และสาธารณสุข แต่ยังมีโรงเรียนดนตรีแห่งแรกในประเทศไทยที่มีเชี่ยวชาญทางด้านศิลปะดนตรี “วิทยาลัยดุริยางคศิลป์” ซึ่งก่อตั้งในปี พ.ศ 2537 เพื่อส่งเสริมการพัฒนา soft power ของประเทศสู่ระดับนานาชาติ มีหลักสูตรการเรียนการสอนด้านศิลปะการดนตรีในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับเตรียมอุดมดนตรีไปจนถึงระดับปริญญาเอก นอกจากนี้ยังมี มหิดลสิทธาคาร (Prince Mahidol Hall) ซึ่งเป็นอาคารที่การออกแบบระบบ Acoustic รวมถึงพื้นที่ภายในอาคารให้สามารถถ่ายทอดเสียงไปยังผู้ชมจำนวน 2,016 ที่นั่ง ได้รับฟังอย่างมีคุณภาพ อาคารถูกออกแบบให้สามารถรองรับการใช้งานที่หลากหลายตั้งแต่พิธีพระราชทานปริญญาบัตร การปฐมนิเทศนักศึกษา รวมทั้งการแสดงละคร ดนตรี ศิลปวัฒนธรรมต่าง ๆ และการประชุมสัมมนาระดับประเทศและภาคพื้นทวีป ทั้งยังสามารถจัดเป็นห้องบรรยายการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยได้อีกด้วย นอกจากนี้มหาวิทยาลัยมหิดลให้ความสำคัญเกี่ยวกับการสร้างเมืองที่น่าอยู่และปลอดภัย โดยเริ่มจากการเปลี่ยนสภาพแวดล้อมภายในมหาวิทยาลัยให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเพื่อลดปริมาณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ เช่น การเพิ่มพื้นที่สีเขียวผ่านการปลูกต้นไม้ บริการรถรางสาธารณะให้กับบุคลากรและนักศึกษาในมหาวิทยาลัยใช้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย มีเส้นทางจักรยาน มีแนวทางการจัดการขยะที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มีสวัสดิการอาคารที่พักให้กับนักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัยในราคาที่ไม่แพง และเนื่องจากจะมีการสร้างรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงอ่อน (ตลิ่งชัน-ศาลายา) กับระบบขนส่งสาธารณะอื่น ๆ มหาวิทยาลัยมหิดลจึงมีการทำแผนพัฒนาพื้นที่รอบสถานีศาลายาเพื่อรองรับการเข้ามาของรถไฟฟ้าและมีแผนพัฒนาทางเชื่อมระหว่างสถานีรถไฟศาลายามายังระบบขนส่งสาธารณะของมหาวิทยาลัย และเชื่อมต่อไปยังศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก เพื่อความสะดวกในการเข้าถึงบริการทางการแพทย์และสาธารณสุขอย่างเป็นระบบ โดยไม่กระทบ ระบบนิเวศภายในวิทยาเขตศาลายา มหาวิทยาลัยยังมีฐานข้อมูลกลางเพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการ การพัฒนาและมีระบบ WIFI ครอบคลุมทุกพื้นที่ในมหาวิทยาลัย โดยเพิ่มปริมาณ Internet Gateway Bandwidth เป็น 19 Gbps ซึ่งรองรับผู้ใช้จำนวนมากกว่า 70,000 บัญชี เพื่อส่งเสริมให้บุคลากรเข้าถึงเทคโนโลยีในการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพ และยังสนับสนุนการใช้งานหลายอุปกรณ์เพื่อผลักดันไปสู่ Digital Convergence อีกทั้งยังมีแพลตฟอร์ม We Mahidol Application ที่รองรับได้ทั้งระบบปฏิบัติการ Android และ iOS ซึ่งมีรูปแบบการใช้งานที่หลากหลายตอบโจทย์การใช้ชีวิตของนักศึกษาและบุคลากรของมหาวิทยาลัย ในปี พ.ศ. 2565 มียอดดาวน์โหลดเพื่อใช้งานมากกว่า 40,000 ครั้ง ซึ่งช่วยให้การรองรับการเปลี่ยนแปลงภายใต้ Disruptive Technology ต่อไปในอนาคต

Highlights
  • thumb
    12 08 11
    6 ก.ย. 2565
    โครงการ “สานเสวนา Social Co-production กับการยกระดับคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืน”
    บทบาทของภาคประชาชนตามแนวคิดประชารัฐนี้ จะปรับเปลี่ยนจากการเป็นผู้รอรับสินค้าและบริการ (user/consumer) จากภาครัฐแต่เพียงฝ่ายเดียว ไปสู่การเข้าไปมีส่วนร่วมกับประชาชน (citizen participation) และภาคส่วนอื่น ๆ เนื่องจากจะเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียโดยตรง อันจะเป็นการออกแบบและส่งมอบสินค้าและบริการสาธารณะได้ตรงกับความต้องการที่แท้จริงของผู้ใช้/รับบริการ และการให้โอกาสประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการออกแบบ จัดหา และส่งมอบสินค้าและบริการสาธารณะของตนเองตั้งแต่ต้น ย่อมจะทำให้เกิดความต่อเนื่องและยั่งยืนต่อไป ดังนั้น การจัดการขยะในชุมชนจำเป็นจะต้องร่วมมือกันระหว่างภาคส่วนต่าง ๆ ตามแนวทางที่เรียกกันว่า “Coproduction” หรือ “การร่วมผลิต” เพื่อให้การจัดการกับปัญหาขยะในพื้นที่เกิดประสิทธิภาพและมีความยั่งยืนต่อไป
  • thumb
    03 11
    31 ส.ค. 2565
    ศูนย์พัฒนาองค์ความรู้ด้านกิจกรรมทางกายประเทศไทย (ทีแพค)
    ศูนย์การศึกษาวิจัยองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมทางกายในมิติทางประชากรและสังคมที่มุ่งเน้นการศึกษาและวิเคราะห์ปรากฏการณ์และพฤติกรรม โดยใช้องค์ความรู้และระเบียบวิธีวิจัยที่มีมาตรฐานระดับสากลเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงทางสังคม พันธกิจ (Mission) 1. ทบทวนสถานการณ์และองค์ความรู้ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องด้านกิจกรรมทางกายเพื่อใช้ในประกอบการจัดทำแผนและแนวทางในการขับเคลื่อนนโยบายด้านการส่งเสริมกิจกรรมทางกายของประชากรไทย 2. เชื่อมประสานภาคีทำงานด้านกิจกรรมทางกาย ตลอดจนวิเคราะห์ประเด็น และโจทย์การวิจัยเพื่อสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมส่งเสริมกิจกรรมทางกาย 3. พัฒนาฐานข้อมูล เครื่องมือรวบรวมข้อมูลทางสังคม การติดตามและประเมินผล ตลอดจนการวิเคราะห์แนวโน้ม ด้านกิจกรรมทางกายที่มีมาตรฐานทางวิชาการระดับสากล เพื่อประโยชน์ในการวิเคราะห์และศึกษาเปรียบเทียบ ตลอดจนเฝ้าระวังกิจกรรมทางกาย 4. พัฒนาและเผยแพร่ผลผลิตทางวิชาการ ตลอดจนนวัตกรรมทางด้านสังคมศาสตร์ที่มีคุณภาพสูงเพื่อสนับสนุนการส่งเสริมกิจกรรมทางกายของคนไทยทุกช่วงวัย การดำเนินกิจกรรมทางวิชาการของศูนย์ได้มีการกำหนดเป้าหมายเพื่อพัฒนาองค์ความรู้และผลผลิตทางวิชาการด้านกิจกรรมทางกายที่มีคุณภาพและมาตรฐานเพื่อนำไปสู่การสร้างการเปลี่ยนแปลงในสังคม โดยมุ่งเน้นที่ผลผลิตหลัก 4 มิติ ประกอบด้วย 1) T: Tool คือ เครื่องมือและต้นแบบสำหรับการวิจัย 2) P: Publication คือ ผลการวิจัยที่เผยแพร่ 3) A: Analysis คือ ชุดข้อมูลเพื่อการวิเคราะห์ 4) K: Knowledge คือ ความรู้สู่การปฏิบัติ โดยตั้งเป้าหมายให้เกิดรูปธรรมภายใต้ขอบเขตดังกล่าวทั้งในระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว
  • thumb
    04 11 15
    31 ส.ค. 2565
    SIREEPARK 360 Virtual Tour
    ม.มหิดล เปิดโลกเมตาเวิร์สท่องอุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติครั้งแรก แม้วิกฤติ COVID-19 จะทำให้ “แลนด์มาร์ค” (landmark) หรือสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าประทับใจหลายจุดในประเทศไทยต้องหลับใหลงดเปิดให้บริการเยี่ยมชม แต่ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลจะไม่ทำให้ระยะทาง เวลา หรืออุปสรรคใดๆ มาคอยขวางกั้น “ห้องเรียนธรรมชาติ” จากสมุนไพรนานาชนิด สู่โลกแห่งการเรียนรู้ที่ไร้ขีดจำกัด นับเป็นครั้งแรกของ “อุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ” แห่งโครงการจัดตั้งสถาบันอุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งเป็นหนึ่งใน “แลนด์มาร์ค” ที่สำคัญของจังหวัดนครปฐม ที่จะได้ “ย่อโลก” สมุนไพรนานาชนิด และธรรมชาติอันอุดมสมบูรณ์ ในพื้นที่ 140 ไร่ ซึ่งนับเป็นความภาคภูมิใจของ มหาวิทยาลัยมหิดล ในฐานะ “ปัญญาของแผ่นดิน” เข้าสู่ “โลกแห่งเมตาเวิร์ส” เพื่อการเรียนรู้ที่ไม่มีวันสิ้นสุดในโลกเสมือนจริง
  • thumb
    31 ส.ค. 2565
    อุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติรับเกียรติบัตรแหล่งท่องเที่ยวเชิงสุขภาพภูมิปัญญาไทยและสมุนไพร ระดับ “ดีเยี่ยม”
    โครงการจัดตั้งสถาบันอุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ ได้รับการคัดเลือกให้ได้รับเกียรติบัตรแหล่งท่องเที่ยวเชิงสุขภาพภูมิปัญญาไทยและสมุนไพร ระดับ “ดีเยี่ยม”
  • thumb
    30 มิ.ย. 2565
    การเฝ้าระวังควบคุมป้องกันโรค COVID-19 5 ชุมชน หน้าคณะสาธารณสุขศาสตร์ ถอดบทเรียน: Factory Isolation (FAI)
    การเฝ้าระวังควบคุมป้องกันโรค COVID-19 5 ชุมชน หน้าคณะสาธารณสุขศาสตร์ ถอดบทเรียน: Factory Isolation (FAI)
จำนวนทั้งหมด 41 รายการ