ศูนย์กลางด้านวิชาการเพื่อการควบคุมและป้องกันและแก้ไขปัญหาการบริโภคยาสูบของประเทศไทย
มหาวิทยาลัยมหิดลได้ลงนามในข้อตกลงดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาพแผนงาน โครงการศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ กับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ โดยแผนงานระยะที่ 4 ดำเนินงานโดยคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และต่อมาแผนงานระยะที่ 5 ดำเนินงานโดยคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล (ตั้งแต่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2561 เป็นต้นมา) ซึ่งได้ดำเนินกิจกรรม ได้แก่ สรุปวาระการประชุมกลุ่มศึกษานโยบายเศรษฐศาสตร์ด้านยาสูบ, ประชุมคณะกรรมการปรึกษาวิชาการฯ เพื่อกำหนดประเด็นวิจัยสำคัญ, รายงานสถิติการบริโภคยาสูบของประเทศไทย, การประชุมวิชาการ “บุหรี่กับสุขภาพแห่งชาติ” เป็นต้น
ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ เป็นศูนย์วิชาการและจัดการความรู้ มุ่งสู่ความเป็นผู้นำด้านจัดการและสร้างองค์ความรู้เชิงประจักษ์เพื่อการควบคุมยาสูบของประเทศไทย ด้วยกระบวนการและผลงานที่อยู่ในมาตรฐานวิชาการและจริยธรรม และมีภาคีเครือข่ายต่างประเทศทั้งในระดับภูมิภาค ระดับนานาชาติ
โดยระยะดำเนินการนี้ มีวัตถุประสงค์เฉพาะดังนี้
1.เพื่อพัฒนาระบบบริหารจัดการและระบบสนับสนุนงานวิจัย
มีการบูรณาการแผนและประสานงานกับหน่วยงานวิจัยอื่น เพื่อพัฒนางานวิชาการที่สำคัญในการควบคุมการบริโภคยาสูบ ทั้งในเชิงนโยบาย ตลอดจนศึกษาผลลัพธ์และผลกระทบจากการบริโภคยาสูบในมิติด้านสุขภาพ สังคม เศรษฐกิจ นำไปสู่การเผยแพร่ โดยเฉพาะที่สามารถใช้ในการผลักดันเป็นนโยบายสาธารณะเพื่อการควบคุมการบริโภคยาสูบ
2.สังเคราะห์งานวิชาการเพื่อผลักดันข้อเสนอเชิงนโยบาย (Policy Advocacy)
จากการถอดบทเรียนและจัดการองค์ความรู้ด้านการควบคุมการบริโภคยาสูบ และดำเนินการให้มีการถ่ายทอดผ่านสื่ออย่างต่อเนื่อง(Media Advocacy) โดยเฉพาะข้อเสนอที่สามารถผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงระดับประเทศและนำไปสู่การรณรงค์กับภาคส่วนต่าง ๆ ในสังคมรวมทั้งสนับสนุนการจัดทำรายงานผลและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับหน่วยงานสากลตามกรอบอนุสัญญาขององค์การอนามัยโลกว่าด้วยการควบคุมยาสูบ (WHO Framework Convention on Tobacco Control: FCTC)
3.พัฒนาระบบฐานข้อมูลงานวิจัย องค์ความรู้ และข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมการบริโภคยาสูบ (Big data)
รวมทั้งเป็นศูนย์กลางเผยแพร่ผลงานวิจัยและองค์ความรู้ ข้อมูลข่าวสารด้านการควบคุมการบริโภคยาสูบสื่อสารข้อมูลวิจัยต่อผู้กำหนดนโยบายและผู้ขับเคลื่อนทั้งระดับประเทศและระดับพื้นที่
4.สร้างและพัฒนาเครือข่ายนักวิชาการด้านการควบคุมยาสูบ
(knowledge generator) เชื่อมต่อกับผู้ใช้ข้อมูลความรู้ (knowledge user) ในระดับต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนงานการควบคุมยาสูบอย่างเป็นรูปธรรมและยั่งยืน
โดยมีการรายงานสถานการณ์การบริโภคยาสูบเป็นประจำทุกปี และมีการสื่อสารองค์ความรู้ และงานวิจัยในรูปแบบ แผ่นพับชุดความรู้ ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย วารสารก้าวทันวิจัยกับ ศจย. สื่อ Infographic จากการรณรงค์ควบคุมยาสูบ
และมี หลักสูตร EVALI and Health Impact from Electronic Cigarette เป็นรูปแบบการเรียนการสอนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต E-learning ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับการควบคุมยาสูบ เพื่อสร้างความตระหนักโดยการถ่ายทอดความรู้ ความเข้าใจ คำแนะนำ และแนวทางการดูแลรักษาเพื่อให้ความรู้แก่ซึ่งจะเป็นประโยชน์โดยตรงต่อแพทย์ พยาบาลและบุคลากรทางการแพทย์รวมไปถึงบุคลากรที่ทำงานการควบคุมยาสูบ นักวิจัย นักวิชาการและบุคคลทั่วไป เพื่อให้ตระหนักถึงพิษภัยจากบุหรี่ไฟฟ้าและผลทางสุขภาพได้อย่างครบถ้วนและถูกต้องต่อไป
งานวิจัยควบคุมยาสูบ ศจย 1
- ป้องกันการแทรกแซงของธุรกิจยาสูบต่อนโยบายสาธารณะ
- มาตรการราคาและภาษียาสูบ
- ปกป้องบุคคลจากควันบุหรี่
- ควบคุมสารประกอบและเปิดเผยข้อมูลส่วนประกอบยาสูบ
- ควบคุมบรรจุภัณฑ์และฉลากของผลิตภัณฑ์ยาสูบ
- ให้การศึกษาและสร้างจิตสำนึกสาธารณะ
- ควบคุมการโฆษณาและการตลาดของอุตสาหกรรมยาสูบ
- มาตรการสำหรับการช่วยเลิกยาสูบ
- มาตรการควบคุมการค้าผลิตภัณฑ์ยาสูบผิดกฎหมาย
- ควบคุมการขายผลิตภัณฑ์ยาสูบให้แก่ผู้เยาว์และการขายโดยผู้เยาว์
- ส่งเสริมการปลูกพืชทดแทนยาสูบ
- ความรับผิดของธุรกิจยาสูบ
- การวิจัย การสำรวจและการแลกเปลี่ยนข้อมูล
- การควบคุมบุหรี่อิเล็กทรอนิกส์
TDC: TRC Data Center หรือ ศูนย์ข้อมูลแห่งศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ เป็นคลังรวบรวมองค์ความรู้จากการศึกษาวิจัยภายใต้การสนับสนุนของ ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เพื่อใช้เป็นคลังข้อมูลสำหรับการแก้ไขปัญหาจากการบริโภคยาสูบ โดยได้จำแนกผลงานการวิจัยทั้งหมดออกเป็น 2 ลักษณะ คือ
1. จำแนกตามยุทธศาสตร์การควบคุมยาสูบ MPOWER ขององค์การอนามัยโลก
2. จำแนกตามอนุสัญญาว่าด้วยการควบคุมยาสูบขององค์การอนามัยโลก (WHO FCTC)