พื้นที่ออกกำลังกายและนันทนาการ

detail

มหาวิทยาลัยส่งเสริมให้เกิดชุมชนสุขภาพดี และให้ความสำคัญในการกำหนดนโยบายสร้างเสริมสุขภาพภายในสถาบันการศึกษา ที่เป็นประโยชน์ต่อบุคลากร นักศึกษา และชุมชนโดยรอบ ให้เกิดเป็น “มหาวิทยาลัยสุขภาพ” โดยพัฒนาสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการสร้างเสริมสุขภาพ

มหาวิทยาลัยส่งเสริมให้เกิดชุมชนสุขภาพดี และให้ความสำคัญในการกำหนดนโยบายสร้างเสริมสุขภาพภายในสถาบันการศึกษา ที่เป็นประโยชน์ต่อบุคลากร นักศึกษา และชุมชนโดยรอบ ให้เกิดเป็น “มหาวิทยาลัยสุขภาพ” โดยพัฒนาสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการสร้างเสริมสุขภาพ

 

ศาลายา

มีผังแม่บทมหาวิทยาลัยมหิดล ปี พ.ศ. 2551 ได้กำหนดการการพัฒนาพื้นที่สำหรับกิจกรรม (Social Activity Node & Facility Node) โดยออกแบบพื้นที่ภายนอกอาคารเพื่อรองรับกิจกรรมต่าง ๆ ของประชาคมในมหาวิทยาลัย เพื่อส่งเสริมให้ประชาคมได้มีโอกาสพบปะแลกเปลี่ยนกันมากขึ้น โดยลักษณะของพื้นที่กิจกรรมสามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ ลานกิจกรรม ทางเดินกิจกรรม และจุดบริการ

 

พื้นที่สำหรับกิจกรรมกีฬาและการออกกำลังกาย ในศาลายา แบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ

  1. พื้นที่สนามกีฬาหลัก
  2. พื้นที่สนามหญ้าเพื่อการออกกำลังกาย
  3. สระน้ำสำหรับพายเรือเล่น
  4. เส้นทางจักรยานเพื่อการพักผ่อนและออกกำลังกาย

 

ผังแสดงพื้นที่เพื่อการกีฬาและนันทนาการ

 

 


 

      1. สนามกีฬา                                                                                                                                                                                                                                                                                                       

สนามกีฬาหลัก ตามผังแม่บทมหาวิทยาลัยมหิดล ปี พ.ศ. 2551 ได้กำหนดการพัฒนาพื้นที่บริเวณด้านหลัง (ทิศตะวันตก) เป็นพื้นที่สนามกีฬาหลัก โดยปัจจุบันมีสนามกีฬา ดังนี้

  • สนามฟุตบอลและสนามกรีฑา
  • สนามตะกร้อลอดห่วง
  • สนามเทนนิส และสนามสำหรับฝึกหัดตี (Knock Board)
  • สนามเปตอง
  • สนามเทนนิส
  • สนามแบดมินตันในอาคาร
  • สระว่ายน้ำ
  • สระกระโดด

    

 

ลานกีฬาเพื่อสุขภาพ มหาวิทยาลัยมหิดล  บริเวณข้างหอพักนักศึกษา ประกอบด้วย

  • สนามบาสเกตบอล
  • สนามวอลเลย์บอล
  • สนามฟุตซอล
  • สนามสตรีทบาส 

 


 

       2. พื้นที่สนามหญ้าเพื่อการออกกำลังกาย                                                                                                                                                                                                                                                                

มหาวิทยาลัยมหิดล ปรับปรุงพัฒนาพื้นที่สาธารณะสำหรับการพักผ่อนหย่อนใจ การจัดกิจกรรม การออกกำลังกายและนันทนาการสำหรับนักศึกษา บุคลากร หรือบุคคลภายนอกที่อยู่โดยรอบสามารถมาใช้ประโยชน์พื้นที่ เช่น

 

  • สวนเจ้าฟ้า (Chaofaa Garden)

เป็นสวนที่เต็มไปด้วยไม้ยืนต้นที่สมบูรณ์ ดุจสวนป่าตามธรรมชาติ  มีสะพานขนาดเล็กข้ามคูน้ำที่เชื่อมต่อเส้นทางเดินภายในสวนที่เป็ฯแนวคดโค้ง และมีที่นั่งจัดวางกระจายทั่วสวน บนพื้นที่ประมาณ 10 ไร่เศษ 

     

 

  • ลานมหิดล (Mahidol Court)
    เป็นลานหญ้าเขียวขจีบนพื้นที่กว่า 9 ไร่เศษ มีต้นไม้ใหญ่แลพโต๊ะที่นั่งเรียงรายตลอดแนว 2 ข้างสนาม พื้นที่ส่วนในเป็นลานแท่นที่ประดิษฐานองค์ตราส่วนพระองค์ของสมเด็จพระบรมราชชนก เจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช กรมหลวงสงขลานครินทร์ (พระราชบิดา) ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานให้เป็นตรามหาวิทยาลัยมหิดล ประกอบด้วยพระมหามงกุฎภายใต้จักรกับตรีศูล อยู่ระหว่างกลางอักษรพระปรมาภิไธย “ม” ปิดผิวด้วยทองคำเปลวสีทอง เป็นสถานที่สำหรับจัดงานพิธีการของมหาวิทยาลัยและกิจกรรมต่าง ๆ ของนักศึกษา

 

 

 

บริเวณด้านหน้าหอสมุดและคลังความรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นแหล่งเรียนรู้และแหล่งพักผ่อนท่ามกลางธรรมชาติอย่างบูรณาการให้นักศึกษาและบุคลากรได้ใช้โยชน์อย่างเต็มที่ บนพื้นที่กว่า 6 ไร่เศษ เป็นสวนสาธารณะเพื่อการเรียนรู้ 

     

 

  • MU Salaya Park

บริเวณศด้านข้างอาคารหอพักนักศึกษาพยาบาลรามาธิบดี ประกอบด้วย ลานพักผ่อน ศาลาแปดเหลี่ยม ลานออกกำลังกายกลางแจ้ง ลานออกกำลังกายแบบใช้อุปกรณ์ ลานกิจกรรมอเนกประสงค์ และสนามเด็กเล่น

  

 

เป็นศูนย์การเรียนรู้สมุนไพรไทยระดับประเทศและระดับนานาชาติ รวมทั้งเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ทางด้านพฤกษศาสตร์ พื้นที่เป็น 140 ไร่ จัดแสดงสมุนไพรในลานสมุนไพร จำนวน 7 ลาน รวมถึงสร้าง “ลานสมุนไพรเพื่อผู้พิการและผู้สูงอายุ” แห่งแรกในประเทศไทย รวบรวมพันธุ์พืชสมุนไพรจากตำรายาที่มีคุณค่าและหายากมากกว่า 900 ชนิด 

     

 

การออกแบบป่าไม้ให้เป็นสวนและพิพิธภัณฑ์ต้นไม้ดนตรี บนพื้นที่ 10 ไร่ ของวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ รวบรวมพรรณไม้ที่ใช้ทำเครื่องดนตรีนานาชนิดปลูกไว้กว่า 62 พันธุ์ จำนวน 1,500 ต้น และมีปติมากรรมหินอ่อน 3 ชิ้น สร้างบรรยากาศให้มนุษย์อยู่ร่วมกับธรรมชาติอย่างร่มรื่น และสร้างสิ่งแวดล้อมให้มีคุณค่าทางการศึกษา คุณค่าในวีถีชีวิตของคนในสังคมภูมิภาคอุษาคเนย์ และสร้างความรื่นรมย์ให้กับมหาวิทยาลัย

 

 

  • ลานพระบิดา

 

 

  • สวนศิลปิน

 

 

  • ลานประชากร

 

  • ลานเป็ดขาว


 

           3. สระน้ำสำหรับพายเรือเล่น                                                                                                                                                                                                                                                                                    

แหล่งนันทนาการทางน้ำ บริเวณด้านหลังมหาวิทยาลัย 

 

 


 

           4. เส้นทางจักรยานเพื่อการพักผ่อนและออกกำลังกาย                                                                                                                                                                                                                                

มหาวิทยาลัยมหิดลพัฒนาปรับปรุงด้านกายภาพเพื่อให้มีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการสร้างเสริมสุขภาพ โดยเปลี่ยนระบบสัญจรที่เน้นการสัญจรทางรถมาเป็นมหาวิทยาลัยเพื่อคนเดินและจักรยาน มุ่งส่งเสริมวัฒนธรรมที่นอบน้อมต่อธรรมชาติ ตามแนวนโยบาย “A Promised Place to Leave and Learn with Nature” โดยได้วางหลักในการพัฒนาระบบสัญจร ระบบถนนและที่จอดรถ ระบบทางจักรยาน และระบบทางเดินเท้า ให้สอดคล้องกับการเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียว (Green Campus) โดยปรับปรุงถนนสายหลักรอบพื้นที่การศึกษาเป็นเส้นทางเดินเท้าและทางจักรยาน เพื่อให้นักศึกษาและบุคลากร ได้ออกกำลังกายด้วยการขี่จักรยาน หรือใช้เป็นลู่วิ่งออกกำลังกาย เพิ่มโอกาสในการเดินเท้า พบเจอและทักทายกัน มีต้นไม้ปลูกให้ร่มเงา รวมถึงเกิด Green Lifestyle จากการมีพื้นที่ใหม่ ๆ ทำให้จัดกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ เช่น งานถนนคนเดิน ที่เพิ่มสีสันและความหลากหลายให้ชีวิตในมหาวิทยาลัย

 

ปัจจุบัน

  • เส้นทางเดิน-วิ่ง รอบเขตพื้นที่การศึกษา มีระยะประมาณ 2.5 และ 3 กิโลเมตร คิดเป็นพื้นที่ทางเดินเท้าทั้งหมด 51,133 ตารางเมตร
  • เส้นทางจักรยาน คิดเป็นพื้นที่ทางจักรยาน 24,586 ตารางเมตร

 

มีพื้นที่สาธารณะสำหรับทำกิจกรรมออกกำลังกายและนันทนาการสำหรับนักศึกษา บุคลากร หรือบุคคลภายนอกที่อยู่โดยรอบสามารถมาใช้ประโยชน์พื้นที่เพื่อมาออกกำลังกายได้ เช่น

  • เส้นทางเดินและปั่นจักรยานภายในมหาวิทยาลัย 

 

  

พื้นที่ทางสัญจรส่วนกลาง 

มีการจัดสิ่งอำนวยความสะดวกขั้นพื้นฐาน ดังนี้

 

ทางเท้าของถนนสายหลักรอบพื้นที่การศึกษาและทางเดินมีหลังคาคลุม (Cover way)

  • ความกว้างตั้งแต่ 1.50 – 5.50 เมตร
  • ลักษณะพื้นผิวทางเท้าเรียบเสมอกัน ไม่ลื่น ไม่มีสิ่งกีดขวางที่อาจทำให้เกิดอันตรายต่อคนพิการ
  • ทางเดินมีหลังคาคลุมในพื้นที่การศึกษา แบ่งเป็นทางเท้ากว้าง 3 เมตร ทางจักรยานกว้าง 2 เมตร

  • มีสัญลักษณ์เส้นทางสัญจร และสิ่งอำนวยความสะดวกให้ผู้พิการสามารถใช้เส้นทางได้สะดวก

     

 

บริเวณทางเท้าทางจักรยานถนนสายหลักมีที่นั่งพักตลอดแนวทางเดิน 2 ฝั่ง สำหรับให้คนทั่วไปและคนพิการสามารถใช้ร่วมกันได้ โดยบริเวณจุดนั่งพักมีพื้นที่เพียงพอสำหรับจอดรถวีลแชร์โดยไม่กีดขวางทางสัญจร

 

 

ทางลาด

มีทางลาดในบริเวณพื้นที่ต่างระดับ เช่น บริเวณทางลงทางข้ามถนนและทางข้ามทางม้าลาย

  • พื้นผิวเป็นวัสดุที่ป้องกันการลื่นไถล
  • ทางลาดมีความกว้างไม่น้อยกว่า 0.90  เมตร
  • ความลาดเอียงไม่เกิน 1 : 12 ตามข้อกำหนดของกฎกระทรวง

 

สะพานดาว

ทางเดินแบบมีหลังคาคลุม (Cover Way) และสะพานลอยข้ามถนนบรมราชนนี เชื่อมพื้นที่มหาวิทยาลัยทั้ง 2 ฝั่ง คือพื้นที่สถาบันราชสุดาและพื้นที่การศึกษาหลักเข้าด้วยกัน

  • ความกว้าง 2.30 เมตร
  • พื้นผิวเรียบเสมอกัน ทำให้ไม่เป็นอุปสรรคในการสัญจรของคนพิการทุกประเภท
  • บริเวณทางแยกทางเลี้ยวมีการติดตั้งพื้นผิวต่างสัมผัสสำหรับคนพิการสายตา
  • กระจกสะท้อนเพื่อให้คนพิการทางการได้ยินใช้เป็นสื่อสัมผัสการมองสภาพการสัญจร


      ​บริเวณทางลาดขึ้นและลงของสะพาน

  • ความชันไม่เกิน 1 : 12
  • ทุกช่วงความยาว 6.00 เมตร มีชานพักยาวไม่น้อยกว่า 1.50 เมตร
  • ติดตั้งราวกันตกทั้ง 2 ข้าง ตามข้อกำหนดของกฎกระทรวง

 

  

Partners/Stakeholders

-

ผู้ดำเนินการหลัก
งานออกแบบและผังแม่บท
ส่วนงานร่วม