ผลสำเร็จในการดำเนินงานด้านการขับเคลื่อนการใช้พลังงานสะอาด ทำให้มีผู้สนใจเข้ามาศึกษาข้อมูลเพื่อนำไปพัฒนาองค์กรของตนเอง และเป็นการเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้เข้ามาเรียนรู้การทำงานจริง
ผลสำเร็จในการดำเนินงานด้านการขับเคลื่อนการใช้พลังงานสะอาด ทำให้มีผู้สนใจเข้ามาศึกษาข้อมูลเพื่อนำไปพัฒนาองค์กรของตนเอง และเป็นการเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้เข้ามาเรียนรู้การทำงานจริง
สถานีบำบัดน้ำเสียรวมเป็นสถานที่รับน้ำเสียจากอาคารต่างๆ ภายในมหาววิทยาลัยเพื่อบำบัดน้ำเสียและส่งน้ำรีไซเคิลกลับไปใช้ใหม่อีกครั้ง ซึ่งมีการใช้พลังงานไฟฟ้าเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 28,000 หน่วย/เดือน หรือประมาณ 112,000 บาท/เดือน เนื่องจากมีเครื่องจักรขนาดใหญ่ทำให้มีความต้องการใช้พลังงานสูง
มหาวิทยาลัยจึงมีโครงการติดตั้งโซลาร์เซลล์บนหลังคา (Solar Rooftop) อาคารสำนักงานระบบบำบัดน้ำเสียรวม เพื่อนำพลังงานแสงอาทิตย์มาผลิตเป็นพลังงานไฟฟ้าใช้ภายในอาคารสำนักงาน ซึ่งระบบที่ติดตั้งเป็นระบบโซล่าเซลล์แบบ On Grid คือ ระบบที่สามารถใช้พลังงานไฟฟ้าที่ผลิตจากโซลาร์เซลล์ควบคู่ไปกับการใช้พลังงานไฟฟ้าจากการไฟฟ้า ซึ่งจะช่วยลดค่าไฟฟ้าลงบางส่วน แต่ถ้าความต้องการใช้ไฟฟ้ามีมากกว่าที่ระบบโซลาเซลล์ผลิตได้ จะนำไฟฟ้าจากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA) เข้ามาใช้เพิ่มเติมจนครบตามความต้องการของอาคาร ทำให้ลดการใช้พลังงานไฟฟ้าจากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคได้ ในกรณีการจ่ายไฟฟ้าจากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเกิดปัญหาหรือมีการหยุดจ่ายไฟฟ้า (ไฟดับ) ระบบโซล่าเซลล์ยังสามารถจ่ายไฟฟ้าได้ตามปกติ อย่างไรก็ตามกริดไทน์อินเวอร์เตอร์ (Grid Tie Inverter) ที่ทำหน้าที่แปลงไฟฟ้าจะหยุดทำงานทันที เพราะ Grid Tie Inverter แบบ On Grid จะทำงานก็ต่อเมื่อมีไฟฟ้าทั้งจากแผงโซล่าเซลล์และจากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเท่านั้น เพื่อเป็นการป้องกันอันตรายจากการที่ไฟฟ้าไหลย้อนกลับที่อาจจะเกิดขึ้นกับเจ้าหน้าที่ที่เข้ามาปฏิบัติงานในช่วงเวลาที่ไฟฟ้าดับ
กระบวนการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ในระบบ On Grid
สำหรับแผงโซล่าเซลล์ที่ติดตั้งบนอาคารสำนักงานระบบบำบัดน้ำเสียรวม เป็นชนิด Mono Crystalline ที่มีประสิทธิภาพในการผลิตไฟฟ้ามากกว่าแบบ Poly Crystalline โดยมีกำลังการผลิตต่อแผงอยู่ที่ 330 วัตต์ (W) ติดตั้งจำนวน 66 แผง ทำให้มีกำลังการผลิตรวมสูงสุด 21.78 กิโลวัตต์ (kW) โดยพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้นำมาใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในอาคารฯ เช่น เครื่องปรับอากาศ โคมไฟฟ้าแสงสว่าง เครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นต้น หากระบบผลิตไฟฟ้าได้มากกว่าปริมาณความต้องการไฟฟ้าของอาคารสำนักงานระบบบำบัดน้ำเสียรวม พลังงานไฟฟ้าส่วนที่เหลือจะถูกนำไปจ่ายให้กับเครื่องจักรต่างๆ ในระบบบำบัดน้ำเสีย เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการใช้พลังงานจากพลังงานทดแทน
ภายหลังจากการติดตั้งและใช้งานระบบผลิตพลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ที่อาคารสำนักงานระบบบำบัดน้ำเสียรวมแล้ว มหาวิทยาลัยได้ส่งเสริมการใช้พลังงานสะอาดให้มากขึ้น โดยขยายผลไปสูการติดตั้งระบบพลังงานแสงอาทิตย์ทั้งแบบบนหลังคา (Solar Rooftop) และแบบลอยน้ำ (Solar Floating) กำลังการผลิตรวมสูงสุด 14 เมกะวัตต์ (MW) ภายในมหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา
จากผลสำเร็จในการดำเนินงานด้านการขับเคลื่อนการใช้พลังงานสะอาด ทำให้มีผู้สนใจเข้ามาศึกษาข้อมูลงานระบบผลิตพลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์เป็นจำนวนมาก มหาวิทยาลัยจึงจัดให้โครงการ Solar Rooftop ที่อาคารสำนักงานระบบบำบัดน้ำเสียรวม เป็น “ศูนย์การเรียนรู้การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ (Solar Rooftop)” เพื่อให้ผู้สนใจด้านการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์และการใช้พลังงานไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพ ได้เข้ามาเรียนรู้และศึกษาดูงานเพื่อนำไปพัฒนาองค์กรของตนเอง รวมทั้งเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้เข้ามาเรียนรู้การปฏิบัติงานจริงของระบบผลิตพลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ ซึ่งมหาวิทยาลัยได้จัดให้มีการนำชม การบรรยาย และเจ้าหน้าที่คอยตอบข้อซักถามจากผู้ที่สนใจ
โดยที่ผ่านมามีกลุ่มบุคคล นักเรียน นักศึกษา และหน่วยงาน เข้ามาศึกษาดูงานและแลกเปลี่ยนเรียนรู้มากกว่า 1,000 คน อาทิเช่น
-