Quality Education

สร้างหลักประกันว่าทุกคนมีการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุมและเท่าเทียมและสนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต

มหาวิทยาลัยมหิดลเปิดโอกาสให้ทุกคนสามารถเข้าถึงการศึกษาในทุกระดับ มีหลักสูตรการเรียนการสอนเฉพาะทางของวิทยาลัยราชสุดาให้กับผู้บกพร่องทางการสื่อสารและการได้ยิน เพื่อโอกาสในการประกอบอาชีพ รวมไปถึงหลักสูตรวิทยาศาสตร์สื่อความหมายและความผิดปกติของการสื่อความหมายของคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี เพื่อผลิตบุคลากรวิชาชีพในการวินิจฉัยความผิดปกติของการสื่อความหมาย รวมไปถึงผลิตบุคลากรที่ให้การช่วยเหลือ ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้บกพร่องทางการสื่อสาร มหาวิทยาลัยมีการสนับสนุนทุนการศึกษามากกว่า 300 ทุน ให้กับผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์ และกลุ่มเปราะบางอื่น ๆ อีกทั้งยังมีการสนับสนุนกิจกรรมทางวิชาการและงานวิจัยเพื่อพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน โดยคำนึงถึงการใช้องค์ความรู้ในการจัดการทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ คำนึงถึงความเท่าเทียมทางสังคมเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น มหาวิทยาลัยมหิดลไม่ได้มุ่งพัฒนาการศึกษาเฉพาะในสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพเท่านั้น แต่ยังสนับสนุนกลุ่มสาขาอื่น ๆ เช่น สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย ได้ดำเนินงานวิจัยร่วมกับชุมชนชาติพันธุ์ต่าง ๆ จำนวน 25 กลุ่มชาติพันธุ์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 จนถึงปัจจุบัน โดยได้สร้างนวัตกรรมที่เรียกว่า “มหิดลโมเดล” (Mahidol Model Endangered Languages and Culture Revitalisation) ซึ่งเป็นเครื่องมือในการฟื้นฟูและพัฒนาภาษาแม่/ภาษาท้องถิ่น นำไปสู่การสร้างสรรค์วรรณกรรม การบันทึกความรู้ด้วยภาษาท้องถิ่น และการพัฒนาการศึกษาของเด็กและเยาวชนในรูปแบบต่าง ๆ ที่ใช้ทุนทางภาษาแม่และภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นฐานการเรียนรู้และพัฒนาสมองจนประสบความสำเร็จเป็นประจักษ์ และได้รับรางวัลระดับโลกUNESCO King Sejong Literacy Prize 2016 ต่อมามีการต่อยอดและประยุกต์ใช้ในโครงการคลังข้อมูลดิจิทัลของกลุ่มชาติพันธุ์ ส่งเสริมการปกป้องและดำรงรักษาความหลากหลายทางภาษาและวัฒนธรรม และโครงการการจัดการศึกษาแบบทวิ-พหุภาษาและการเรียนรู้ ทำให้กลุ่มชาติพันธุ์สามารถเข้าถึงระบบการศึกษาของประเทศได้อย่างเท่าเทียม โดยยังคงไว้ซึ่งอนุรักษ์ภาษาถิ่นให้สืบต่อไป นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยมหิดลยังคำนึงถึงคุณภาพของหลักสูตร โดยมีนโยบายผลักดันให้หลักสูตรได้รับการรับรองมาตรฐานระดับนานาชาติ ณ ปัจจุบันมหาวิทยาลัยมีหลักสูตรที่ได้รับรองมาตรฐานสากลมากที่สุดในประเทศไทยถึงจำนวน 54 หลักสูตร ได้แก่ ASEAN University Network-Quality Assurance (AUN-QA) จำนวน 24 หลักสูตร Association to Advance Collegiate Schools of Business (AACSB) จำนวน 9 หลักสูตร Accreditation Board for Engineering and Technology (ABET) จำนวน 6 หลักสูตร Music Quality Enhancement (MusiQuE) จำนวน 5 หลักสูตร International Society for Prosthetics and Orthotics (ISPO) จำนวน 3 หลักสูตร World Federation for Medical Education (WFME) จำนวน 2 หลักสูตร Institute and Faculty of Actuaries (IFoA) จำนวน 2 หลักสูตร Asia-Pacific Academic Consortium for Public Health (APACPH) จำนวน 1 หลักสูตร United Nation World Tourism Organisation (UNWTO.TedQual) จำนวน 1 หลักสูตร และ World Federation of Occupational Therapists (WFOT) จำนวน 1 หลักสูตร ซึ่งการได้รับมาตรฐานหลักสูตรระดับนานาชาติดังกล่าวเป็นการประกันคุณภาพการศึกษา สร้างการยอมรับของผู้สำเร็จการศึกษาในการเข้าศึกษาต่อรวมทั้งการศึกษาต่อและประกอบอาชีพในระดับนานาชาติ และเป็นปัจจัยสำคัญในการตัดสินใจของผู้เรียนในการเลือกสถาบันการศึกษา จากการดำเนินการดังกล่าวแสดงให้เห็นว่ามหาวิทยาลัยมหิดลให้ความสำคัญทางด้านการศึกษา โดยคำนึงถึงการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างเท่าเทียม และสนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิตในทุกระดับชั้น โดยกำหนดเป็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยด้านการศึกษา เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา และหลักสูตรตรงตามความต้องการของผู้เรียนและตอบโจทย์ความต้องการของประเทศ เพื่อสร้างบัณฑิตให้เป็น Global Citizen และ Global Talents ต่อไป

Highlights
  • thumb
    29 ส.ค. 2565
    การพัฒนาอาชีพและการบ่มเพาะธุรกิจสำหรับคนพิการ “หลักสูตรอาชีพจากเครื่องยาสมุนไพร” และ “หลักสูตรอาชีพจากพรรณไม้”
    วันที่ 18-20 กรกฎาคม 2565 สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) วิทยาลัยราชสุดา และโครงการจัดตั้งสถาบันอุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล ภายใต้โครงการสร้างเสริมสมรรถนะด้านการเรียนรู้เพื่อสุขภาวะที่ยั่งยืนของคนพิการ วัตถุประสงค์ 1.4 การพัฒนาอาชีพและการบ่มเพาะธุรกิจสำหรับคนพิการ โดยมีรองศาสตราจารย์ ดร.ณัฏฐนียา โตรักษา ผู้อำนวยการโครงการจัดตั้งสถาบันอุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นผู้รับผิดชอบโครงการ ร่วมกันจัดฝึกอบรมอาชีพใน 2 หลักสูตรแบบ Authentic Learning ปฏิบัติจริงผ่านกิจกรรม DIY ทั้งรูปแบบ Online และ Onsite ณ สถานที่ตั้งของผู้เรียน
  • thumb
    04
    25 ส.ค. 2565
    โครงการจัดอบรมหลักสูตรเครื่องมือแพทย์สำหรับช่างและผู้ดูแลเครื่องมือแพทย์ ระยะสั้น 1 สัปดาห์
    เป็นการจัดอบรมเพื่อให้บุคลากรฝ่ายช่างหรือผู้ใช้เครื่องมือแพทย์ได้มีโอกาสเรียนรู้หลักการทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติในด้านของการตรวจซ่อมบำรุงรักษาเครื่องมือแพทย์ อันจะช่วยลดเวลาการตรวจสอบในขั้นต้น สามารถตัดสินปัญหาเฉพาะหน้าที่ ที่เกิดขึ้นกับเครื่องมือแพทย์เพื่อวางแผนการจัดซ่อม
  • thumb
    03 04
    25 ส.ค. 2565
    โครงการประชุมวิชาการอุปกรณ์การแพทย์ ครั้งที่ 32 เรื่อง "โรงพยาบาลอัจฉริยะและความมั่นคงด้านสุขภาพ (Smart Hospital and Health Security)
    ในสถานการณ์ปัจจุบันความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีดิจิทัล มีพัฒนาการขึ้นเป็นอย่างมาก ตลอดจนมีการนำเอาเทคโนโลยีดิจิทัลมาสนับสนุนในการทำงานทุกระบบ เพื่ออำนวยความสะดวกในการดำเนินชีวิต ในระบบของโรงพยาบาลก็เช่นกัน การนำเอาความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีดิจิทัลมาสนับสนุนการบริการภายในโรงพยาบาล หรือทำงานแทนระบบการทำงานของผุ้บริหาร แพทย์ พยาบาล หรือผู้เกี่ยวข้อง และระบบของเครื่องมือแพทย์พร้อมทั้งเครื่องอำนวยความสะดวกต่าง ๆ เพื่อให้แต่ละงานในโรงพยาบาลมีประสิทธิภาพสูงสุด ลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน และเพื่อความสะดวกรวดเร็วในการรับบริการที่มีคุณภาพดี มีความปลอดภัย และทันสมัยอย่างเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม อันทำให้เกิดความมั่นคงทางด้านสุขภาพของผู้เข้ารับบริการ
  • thumb
    04
    24 ส.ค. 2565
    เสวนาวิชาการ สานสัมพันธ์พี่น้อง IL: “Innovation In Education” และการปฐมนิเทศออนไลน์สำหรับนักศึกษาใหม่ ปีการศึกษา 2564
    สถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ ได้ดำเนินการจัดกิจกรรมและโครงการ ตลอดปีงบประมาณ 2564 เพื่อสนองตอบเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนที่กำหนดขึ้นโดยองค์การสหประชาชาติ (United Nations: UN) และผลการดำเนินงานเพื่อความยั่งยืนของมหาวิทยาลัยมหิดล ให้แก่นักศึกษา ศิษย์เก่า และบุคลากร โดยกิจกรรมในปีงบประมาณ 2564 ประกอบด้วย เสวนาวิชาการ สานสัมพันธ์พี่น้อง IL: “Innovation In Education” และการปฐมนิเทศออนไลน์สำหรับนักศึกษาใหม่ ปีการศึกษา 2564 โดยทั้งสองกิจกรรมจัดในรูปแบบ Online
  • thumb
    04 17
    24 ส.ค. 2565
    โครงการสัมมนาวิชาการ การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน ครั้งที่ 7 : นวัตกรรมการสอนและการเรียนรู้ในโลกยุคดิจิทัล
    สถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้เข้าร่วมเป็นภาคีเครือข่ายในการจัดโครงการงานสัมมนาวิชาการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนครั้งที่ 3 ได้จัดขึ้นภายใต้ theme หลัก คือ นวัตกรรมการสอนและการเรียนรู้ในโลกยุคดิจิทัล โดยมีภาคีหลักในการจัดสัมมนาวิชาการ คือ สถาบันคลังสมองของชาติ สำนักนวัตกรรมการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยขอนแก่น สถาบันการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • thumb
    04
    24 ส.ค. 2565
    การดำเนินโครงการสัมมนาวิชาการออนไลน์ (Webinar) “Applications for Effective Teaching and Learning”
    โครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สัมมนาวิชาการออนไลน์ (Webinar) “Applications for Effective Teaching and Learning” ให้แก่ผู้บริหาร นักการศึกษา ครู อาจารย์ นักศึกษา บุคลากรและบุคคลทั่วไป ในระหว่างเดือนกรกฎาคม - กันยายน 2564 ผ่านระบบ Zoom meeting เพื่อเพิ่มพูนความรู้ความเข้าใจในการใช้งาน Application ต่าง ๆ เพื่อให้สามารถประยุกต์ในจัดการเรียนรู้ การประเมินผล และการทำงานบนระบบออนไลน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • thumb
    04
    24 ส.ค. 2565
    กิจกรรมส่งเสริมการศึกษา ให้แก่ นักเรียน นักศึกษา นักวิจัย เพื่อพัฒนาทักษะ และเพิ่มพูนความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
    เป็นการอบรมเชิงปฏิบัติการ เพื่อถ่ายทอดความรู้ และทักษะด้านวิทยาศาสตร์ทางการแพทย์ และทางการเกษตร เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการ มีความรู้เบื้องต้น ในทักษะการฝึกภาคปฏิบัติการด้านชีววิทยาศาสตร์โมเลกุลและพันธุวิศวกรรม ระดับที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาในโรงเรียน และเพื่อเสริมสร้างประสบการณ์ในการปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการแก่ผู้เข้าร่วมโครงการ มีการเรียนการสอนภาคบรรยายและภาคปฏิบัติในห้องปฏิบัติการวิจัย โดยวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ
  • thumb
    17 ส.ค. 2565
    เติมเต็มสุขภาวะผู้ใช้แรงงาน จัดอบรมออนไลน์ตรวจสมรรถภาพการได้ยิน ในงานอาชีวอนามัย โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
    "เติมเต็มสุขภาวะผู้ใช้แรงงาน จัดอบรมออนไลน์ตรวจสมรรถภาพการได้ยิน ในงานอาชีวอนามัย โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย" องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ได้กำหนดให้เสียงที่ดังเกิน 85 dBA (เดซิเบลเอ) เป็นเสียงที่เป็นอันตราย จึงกลายเป็นที่มาของข้อกำหนด เพื่อสุขภาวะของผู้ใช้แรงงานทั่วโลก ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน(SDGs) แห่งสหประชาชาติ ข้อที่ 3 ที่ว่าด้วยเรื่องสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี ซึ่งครอบคลุมเรื่องการลดการป่วยจากมลพิษต่าง ๆ รองศาสตราจารย์ ดร.อรวรรณ แก้วบุญชู รองคณบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ และอาจารย์ประจำภาควิชาการพยาบาลสาธารณสุข คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้สอนหลักรายวิชาออนไลน์ "การตรวจสมรรถภาพการได้ยินในงานอาชีวอนามัย” ซึ่งเปิดให้ผู้เกี่ยวข้อง ได้แก่ พยาบาลอาชีวอนามัย และเจ้าหน้าที่สุขภาพจากหน่วยงานต่าง ๆ ทั่วประเทศ เข้ารับการอบรมได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ผ่าน MUx โดยได้กล่าวถึงประเด็นที่น่าเป็นห่วงเกี่ยวกับเรื่องสุขภาวะแรงงานไทยว่าแม้กฎหมายแรงงานไทย ได้กำหนดให้นายจ้างจัดให้มีการเฝ้าระวังการได้ยิน โดยให้ดำเนินการทดสอบสมรรถภาพการได้ยินแก่ลูกจ้างอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง แต่พบว่ายังไม่ได้มีการกำหนดมาตรฐานคุณสมบัติของผู้ทดสอบแต่อย่างใด มหาวิทยาลัยมหิดล โดย คณะสาธารณสุขศาสตร์ ถือเป็นภารกิจสำคัญในการริเริ่มจัดอบรมออนไลน์ที่ได้มาตรฐานในเรื่องดังกล่าว จุดเด่นของรายวิชาออนไลน์ "การตรวจสมรรถภาพการได้ยินในงานอาชีวอนามัย" นอกจากการเปิดอบรมโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายแล้ว ยังได้ออกแบบให้มีครบทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ ซึ่งในภาคทฤษฎีนั้น ได้มีการสาธิตให้ผู้เรียนสามารถฝึกปฏิบัติตามได้โดยง่าย และหลังจากจบบทเรียนทั้งหมดแล้ว ยังเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ส่งคลิปการฝึกปฏิบัติกลับมาให้ผู้สอนประเมิน และสามารถรับประกาศนียบัตร E-Certificate เมื่อผ่านเกณฑ์ที่กำหนดอีกด้วย
  • thumb
    04
    17 ส.ค. 2565
    โครงการพัฒนาระบบคำบรรยายรายวิชาพื้นฐานระบบดิจิทัลเพื่อพัฒนาการเรียนรู้สำหรับนักศึกษาปริญญาตรี
    หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับความร่วมมือและสนับสนุนในด้านต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเรียนการสอนในรายวิชาพื้นฐานของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 และชั้นปีที่ 2 โดยทีผ่านมาหอสมุดและคลังความรู้ฯ ได้รับความร่วมมือจากคณะวิทยาศาสตร์และเงินสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยในการจัดทำโครงการบริการวีดิทัศน์คำบรรยายรายวิชาพื้นฐานระบบดิจิตัล ซึ่งเป็นการบันทึกการเรียนการสอนในห้องเรียนจากอาคารบรรยายรวมที่มีอยู่ในพื้นที่มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา และได้เปิดให้นักศึกษาได้เข้ามาศึกษาทบทวนบทเรียนย้อนหลัง ซึ่งมีจำนวนนักศึกษาเข้ามาใช้บริการจำนวนมาก
  • thumb
    10 04
    1 ส.ค. 2565
    บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล สนับสนุนทุนช่วยเหลือนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาที่มีความพิการ
    บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล สนับสนุนทุนช่วยเหลือนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาที่มีความพิการเพื่อเพิ่มโอกาสทางการศึกษาให้แก่นักศึกษาพิการระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
  • thumb
    04
    1 ส.ค. 2565
    โครงการ Mahidol Apprenticeship Program (MAP)
    บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล ได้จัดทำโครงการ Mahidol Apprenticeship Program (MAP) ซึ่งเป็นรูปแบบการจัดการศึกษาของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดลที่เปิดกว้างสำหรับผู้สนใจเข้าศึกษา/บุคคลทั่วไป สามารถเข้าศึกษา โดยไม่จำกัดอายุ พื้นฐานการศึกษา หรืออาชีพ มุ่งให้ผู้เรียนเพิ่มพูน พัฒนาความรู้และทักษะที่จำเป็นในการปฏิบัติงาน
  • thumb
    17 03 04
    25 ก.ค. 2565
    โครงการ MFA – MU Capacity Building for Medical and Health Science Education Hub
    มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับกรมความร่วมมือระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ ตกลงทำบันทึกความเข้าใจ ในปี ๒๕๖๔ เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาศักยภาพบุคลากรทางการแพทย์และวิทยาศาสตร์สุขภาพของมหาวิทยาลัยมหิดลด้วยเทคนิควิธีการที่ทันสมัยผ่านผู้เชี่ยวชาญจากสถาบันระดับโลก (Train the Trainers) ซึ่งนำไปสู่การถ่ายทอดองค์ความรู้ที่ได้รับจากผู้เชี่ยวชาญต่อไปยังบุคลากรในภาคส่วนนั้นๆ ทั้งในการรักษาพยาบาลประชาชนในประเทศและการกระจายองค์ความรู้สู่การพัฒนาทางการแพทย์นอกประเทศ (Training the Others) ในประเทศกำลังพัฒนาโดยเฉพาะในกลุ่ม CLMV ตลอดจนเป็นการสร้างเครือข่ายทางการแพทย์ในระดับภูมิภาคและนานาชาติ เพื่อส่งเสริมยุทธศาสตร์ทางการทูตเพื่อการพัฒนา (Development Diplomacy) และการทูตเชิงเวชการ (Medical Diplomacy) โดยความร่วมมือดังกล่าวสอดคล้องกับ Sustainable Development Goals ในด้าน Partnerships for the goals ตอบโจทย์ยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยในด้าน Education for Sustainability เนื่องจากมุ่งเน้นในด้านของการพัฒนาองค์ความรู้ของบุคลากรด้านการแพทย์ในประเทศไทย ซึ่งจะเป็นผู้ทำหน้าที่ส่งต่อองค์ความรู้ไปยังประเทศที่กำลังพัฒนาต่อไป ซึ่งภายใต้ความร่วมมือดังกล่าวมีโครงการจาก ๓ ส่วนงาน
จำนวนทั้งหมด 74 รายการ