Quality Education

สร้างหลักประกันว่าทุกคนมีการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุมและเท่าเทียมและสนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต

มหาวิทยาลัยมหิดลเปิดโอกาสให้ทุกคนสามารถเข้าถึงการศึกษาในทุกระดับ มีหลักสูตรการเรียนการสอนเฉพาะทางของวิทยาลัยราชสุดาให้กับผู้บกพร่องทางการสื่อสารและการได้ยิน เพื่อโอกาสในการประกอบอาชีพ รวมไปถึงหลักสูตรวิทยาศาสตร์สื่อความหมายและความผิดปกติของการสื่อความหมายของคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี เพื่อผลิตบุคลากรวิชาชีพในการวินิจฉัยความผิดปกติของการสื่อความหมาย รวมไปถึงผลิตบุคลากรที่ให้การช่วยเหลือ ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้บกพร่องทางการสื่อสาร มหาวิทยาลัยมีการสนับสนุนทุนการศึกษามากกว่า 300 ทุน ให้กับผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์ และกลุ่มเปราะบางอื่น ๆ อีกทั้งยังมีการสนับสนุนกิจกรรมทางวิชาการและงานวิจัยเพื่อพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน โดยคำนึงถึงการใช้องค์ความรู้ในการจัดการทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ คำนึงถึงความเท่าเทียมทางสังคมเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น มหาวิทยาลัยมหิดลไม่ได้มุ่งพัฒนาการศึกษาเฉพาะในสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพเท่านั้น แต่ยังสนับสนุนกลุ่มสาขาอื่น ๆ เช่น สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย ได้ดำเนินงานวิจัยร่วมกับชุมชนชาติพันธุ์ต่าง ๆ จำนวน 25 กลุ่มชาติพันธุ์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 จนถึงปัจจุบัน โดยได้สร้างนวัตกรรมที่เรียกว่า “มหิดลโมเดล” (Mahidol Model Endangered Languages and Culture Revitalisation) ซึ่งเป็นเครื่องมือในการฟื้นฟูและพัฒนาภาษาแม่/ภาษาท้องถิ่น นำไปสู่การสร้างสรรค์วรรณกรรม การบันทึกความรู้ด้วยภาษาท้องถิ่น และการพัฒนาการศึกษาของเด็กและเยาวชนในรูปแบบต่าง ๆ ที่ใช้ทุนทางภาษาแม่และภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นฐานการเรียนรู้และพัฒนาสมองจนประสบความสำเร็จเป็นประจักษ์ และได้รับรางวัลระดับโลกUNESCO King Sejong Literacy Prize 2016 ต่อมามีการต่อยอดและประยุกต์ใช้ในโครงการคลังข้อมูลดิจิทัลของกลุ่มชาติพันธุ์ ส่งเสริมการปกป้องและดำรงรักษาความหลากหลายทางภาษาและวัฒนธรรม และโครงการการจัดการศึกษาแบบทวิ-พหุภาษาและการเรียนรู้ ทำให้กลุ่มชาติพันธุ์สามารถเข้าถึงระบบการศึกษาของประเทศได้อย่างเท่าเทียม โดยยังคงไว้ซึ่งอนุรักษ์ภาษาถิ่นให้สืบต่อไป นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยมหิดลยังคำนึงถึงคุณภาพของหลักสูตร โดยมีนโยบายผลักดันให้หลักสูตรได้รับการรับรองมาตรฐานระดับนานาชาติ ณ ปัจจุบันมหาวิทยาลัยมีหลักสูตรที่ได้รับรองมาตรฐานสากลมากที่สุดในประเทศไทยถึงจำนวน 54 หลักสูตร ได้แก่ ASEAN University Network-Quality Assurance (AUN-QA) จำนวน 24 หลักสูตร Association to Advance Collegiate Schools of Business (AACSB) จำนวน 9 หลักสูตร Accreditation Board for Engineering and Technology (ABET) จำนวน 6 หลักสูตร Music Quality Enhancement (MusiQuE) จำนวน 5 หลักสูตร International Society for Prosthetics and Orthotics (ISPO) จำนวน 3 หลักสูตร World Federation for Medical Education (WFME) จำนวน 2 หลักสูตร Institute and Faculty of Actuaries (IFoA) จำนวน 2 หลักสูตร Asia-Pacific Academic Consortium for Public Health (APACPH) จำนวน 1 หลักสูตร United Nation World Tourism Organisation (UNWTO.TedQual) จำนวน 1 หลักสูตร และ World Federation of Occupational Therapists (WFOT) จำนวน 1 หลักสูตร ซึ่งการได้รับมาตรฐานหลักสูตรระดับนานาชาติดังกล่าวเป็นการประกันคุณภาพการศึกษา สร้างการยอมรับของผู้สำเร็จการศึกษาในการเข้าศึกษาต่อรวมทั้งการศึกษาต่อและประกอบอาชีพในระดับนานาชาติ และเป็นปัจจัยสำคัญในการตัดสินใจของผู้เรียนในการเลือกสถาบันการศึกษา จากการดำเนินการดังกล่าวแสดงให้เห็นว่ามหาวิทยาลัยมหิดลให้ความสำคัญทางด้านการศึกษา โดยคำนึงถึงการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างเท่าเทียม และสนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิตในทุกระดับชั้น โดยกำหนดเป็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยด้านการศึกษา เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา และหลักสูตรตรงตามความต้องการของผู้เรียนและตอบโจทย์ความต้องการของประเทศ เพื่อสร้างบัณฑิตให้เป็น Global Citizen และ Global Talents ต่อไป

Highlights
  • thumb
    4 พ.ย. 2567
    Open field day ตรวจวิเคราะห์ดิน บูรณาการร่วมกับชุมชนจัดงาน เพื่อจัดทำแผนที่ข้อมูลดินชุมชนและการใช้ปุ๋ยสั่งตัดในนาข้าวเพื่อลดต้นทุนการผลิต
    กระบวนการปรับรูปแบบการเรียนการสอนจากในห้องเรียนโดยการใช้ชุมชนเป็นฐาน เพื่อยกระดับการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างมหาวิทยาลัยกับชุมชน อีกทั้งเป็นการฝึกทักษะให้แก่ผู้เรียนแบบ real world situation และช่วยส่งเสริมพันธกิจสัมพันธ์ของมหาวิทยาลัยมหิดลต่อชุมชนและการบรรลุตามเป้าหมาย SDGs ที่จะดำเนินการตามแนวปฏิบัติทางการเกษตรที่มีภูมิคุ้มกันที่จะเพิ่มผลิตภาพและการผลิต ซึ่งจะช่วยรักษาระบบนิเวศ เสริมขีดความสามารถในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ภาวะอากาศรุนแรง ภัยแล้ง อุทกภัย และภัยพิบัติอื่น ๆ และจะช่วยพัฒนาคุณภาพของดินและที่ดินอย่างต่อเนื่อง ภายในปี พ.ศ. 2573
  • thumb
    3 พ.ย. 2567
    SMART Farmer เส้นทางสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน
    หลักสูตร SMART Farmer มุ่งเน้นการเกษตรแบบผสมผสานและแปรรูปผลิตภัณฑ์เกษตรเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม สร้างความมั่นคงทางอาหารและความปลอดภัยต่อผู้ผลิตและผู้บริโภค พร้อมส่งเสริมทักษะการเป็นผู้ประกอบการตั้งแต่การผลิตจนถึงการขาย และเชื่อมโยงกับเป้าหมาย SDGs เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
  • thumb
    07 04
    1 พ.ย. 2567
    ศูนย์การเรียนรู้การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ (Solar Rooftop)
    โซลาร์เซลล์บนหลังคา (Solar Rooftop) อาคารสำนักงานระบบบำบัดน้ำเสียรวม เปิดโอกาสให้ผู้สนใจเข้ามาศึกษาข้อมูลเพื่อนำไปพัฒนาองค์กรของตนเอง และให้นักศึกษาได้เข้ามาเรียนรู้การปฏิบัติงานจริง
  • thumb
    5 ก.ย. 2567
    โครงการส่งเสริมอาชีพทอผ้าและแปรรูปผ้าขอเอื้อสำหรับผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์ ตำบลโนนหนามแท่ง
    โครงการจัดตั้งวิทยาเขตอำนาจเจริญ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ดำเนินโครงการบริการวิชาการ เรื่อง การส่งเสริมอาชีพทอผ้าและแปรรูปผ้าขิดลายขอเอื้อสำหรับผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์ ตำบลโนนหนามแท่ง ได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) จำนวน 720,000 บาท ดำเนินการช่วงเดือนมิถุนายน 2566 ถึงเดือนมีนาคม 2567
  • thumb
    03 04 05
    7 พ.ค. 2567
    โครงการพัฒนาสมรรถนะของพยาบาลผดุงครรภ์ในการดูแลสตรีตั้งครรภ์เสี่ยงสูงอย่างต่อเนื่อง ณ นครหลวงเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
    ได้รับทุนสนับสนุนจาก Rockefeller Foundation ในโครงการ “Intensive Training for Continuing-Care System for High-risk Pregnancy” เพื่อดำเนินการพัฒนาสมรรถนะของพยาบาลผดุงครรภ์ในการดูแลสตรีตั้งครรภ์เสี่ยงสูงอย่างต่อเนื่อง ณ นครหลวงเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว จำนวน 14 โรงพยาบาลในระดับตติยภูมิและระดับปฐมภูมิ
  • thumb
    04
    19 ก.ย. 2567
    โครงการ “เปิดโลกวิทย์ สนุกคิด สนุกทำ กับ สถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้” สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาโรงเรียนวัดลำโพ (คล้อยประชารังสฤษฏ์)
    สถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดโครงการ “บริการวิชาการสู่ชมชน กับ สถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้” สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาโรงเรียนบ้านคลองมหาสวัสดิ์ (ตั้งตรงจิตร17) กิจกรรมในช่วงเช้าเป็นการสอนน้้อง ๆ จำนวน 30 คน สร้าง Flat Graphic ด้วย Microsoft PowerPoint น้อง ๆ จะได้เรียนรู้การใช้เครื่องมือใน PowerPoint เพื่อสร้างภาพของตัวเองขึ้นมาได้ ช่วงบ่ายเป็นการมอบเงินสมทบทุนสำหรับปรับปรุงระบบไฟฟ้าของโรงเรียน ที่มีความชำรุดเพื่อให้ทางโรงเรียนสามารถจัดการเรียนการสอนได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ โดยได้รับเงินบริจาคจากผู้มีจิตศรัทธาทั้งจากศิษย์เก่า และบุคลากรสถาบันฯ คณะต่าง ๆ ภายในมหาวิทยาลัยมหิดล อาทิ คณะศิลปศาสตร์ คณะกายภาพบำบัด และคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และบุคคลทั่วไป ตามด้วยการมอบ Poster การเรียนรู้ เกี่ยวกับการสร้าง Flat Graphic และประโยชน์ของสมุนไพร โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วัชรี เกษพิชัยณรงค์ รองผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม และต่อด้วยการให้น้อง ๆ จำนวน 70 คน ทำ “กิจกรรมเรียนรู้ความปลอดภัยของสารระเหย” ผ่านการเล่นเกม น้อง ๆ จะได้เรียนรู้โทษของสารระเหยที่อันตราย และเรียนรู้สัญลักษณ์ความเป็นอันตรายที่ต้องพึงระวัง และสุดท้ายน้อง ๆ จะได้เรียนรู้ที่มา และประโยชน์ของสมุนไพร ไปกับการทำ “กิจกรรมสมุนไพรมหัศจรรย์” โดยน้อง ๆ จะได้ลงมือทำยาดมตามกลิ่นที่น้อง ๆ ชอบ และได้ยาดมกลับบ้านกันทุกคน ณ โรงเรียนบ้านคลองมหาสวัสดิ์ (ตั้งตรงจิตร17) จังหวัดนครปฐม
  • thumb
    04 17
    19 ก.ย. 2567
    โครงการเปิดโลกทัศน์วิทยาศาสตร์และนวัตกรรม สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษา
    โครงการเปิดโลกทัศน์วิทยาศาสตร์และนวัตกรรม จัดโดยสถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งเป็นโครงการที่อยู่ภายใต้งานบริการวิชาการของสถาบันฯ โดยมีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมและพัฒนาการเรียนรู้ของคนไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี เพื่อส่งเสริมสังคมไทยให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ ที่ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่าง “รู้จริง รู้นาน สร้างสรรค์ และสื่อสารได้” ดังนั้น พันธกิจหนึ่งที่สำคัญของสถาบันฯ คือ การสร้างความเป็นเลิศทางด้านการบริการวิชาการ โดยมุ่งเน้นส่งเสริมและพัฒนากระบวนการเรียนรู้ในทุกระดับ โดยมีการจัดฝึกอบรม สัมมนาเชิงปฏิบัติการ ทั้งด้านทฤษฎีและปฏิบัติการ ให้กับบุคลากรทางการศึกษา ทั้งนักเรียนและอาจารย์ ตั้งแต่ระดับประถมศึกษา จนถึงระดับอุดมศึกษา เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้ที่ได้ไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน และเพื่อให้เกิดการเรียนรู้แบบพัฒนาต่อยอดอย่างยั่งยืน
  • thumb
    04 17
    19 ก.ย. 2567
    โครงการอบรมหลักสูตรระยะสั้น ประจำปีงบประมาณ 2567
    โครงการอบรมหลักสูตรระยะสั้น จัดโดยสถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อเป็นการส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้อย่างยั่งยืนในทุกภาคส่วนของประเทศ และส่งเสริมให้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับวงการการศึกษาและบุคคลทั่วไปก้าวทันแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์ของโลกในด้านการศึกษาในศตวรรษที่ 21 การดำเนินโครงการดังกล่าวเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนและเป็นส่วนหนึ่งในการยกระดับของการศึกษาไทยในอนาคตซึ่งตรงกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนข้อ 4 เป็นการสร้างหลักประกันว่าทุกคนมีการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุมและเท่าเทียม และสนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต
  • thumb
    6 ก.ย. 2567
    โครงการมหิดลเพื่อสังคม “ความปลอดภัยในเด็ก (Child Safety)”
    ศูนย์สุขภาวะครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตอำนาจเจริญ ได้จัดโครงการมหิดลเพื่อสังคม “ความปลอดภัยในเด็ก” (Child Safety) เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานสร้างสุขภาวะที่ดีให้เด็กและประชาชนในพื้นที่จังหวัดอำนาจเจริญ ร่วมกับ ภาคีเครือข่ายในจังหวัดอำนาจเจริญ ให้เกิดการทำงานร่วมบูรณาการที่ต่อเนื่องและยั่งยืน
  • thumb
    04 03
    11 มี.ค. 2565
    การอบรมหลักสูตรนักบริหารระดับสูงด้านสาธารณสุข
    สถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล และสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย ได้พัฒนาหลักสูตรนักบริหารระดับสูงด้านสาธารณสุข (Mini Master Management in Health)
  • thumb
    26 ก.ค. 2567
    โครงการ “ค่ายบัณฑิตมหิดลอาสาเพื่อพัฒนาชุมชน” ณ โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านป่าก่อ อ.ชานุมาน จ.อำนาจเจริญ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล
    บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล จัดโครงการ “ค่ายบัณฑิตมหิดลอาสาเพื่อพัฒนาชุมชน” ณ โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านป่าก่อ อำเภอชานุมาน จังหวัดอำนาจเจริญ
  • thumb
    5 เม.ย. 2567
    กลไกการพัฒนาระบบการจ้างงานคนพิการเชิงสังคม
    พัฒนาระบบที่เป็นแหล่งรวมงานที่เป็นความต้องการคนพิการ และสถานประกอบการ เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจ มีระบบทีมสนับสนุน เพื่อสร้างความเข้าใจร่วมกันระหว่างคนพิการและสถานประกอบการ รวมทั้งการ การสร้างการตระหนักรู้ในสถานประกอบการ และพัฒนาระบบองค์กรตัวกลาง โดยมีเครือข่ายความร่วมมือ
จำนวนทั้งหมด 97 รายการ