โครงการฝึกอบรมและสร้างอาชีพบุคคลพิเศษและการพัฒนาสู่ Inclusive organization

detail
SDGs ที่่เกี่ยวข้อง

โครงการฝึกอบรมและสร้างอาชีพบุคคลพิเศษและการพัฒนาสู่ Inclusive organization จะช่วยลดความเหลื่อมล้ำ และสร้างหลักประกันว่ากลุ่มที่เปราะบาง ซึ่ง รวมถึงผู้พิการ ผู้ขาดโอกาสทางการศึกษา และเด็กในสถานการณ์เปราะบางเข้าถึงการศึกษาและการฝึกอาชีพทุกระดับอย่างเท่าเทียมกัน

   

     สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มีพันธกิจที่สำคัญพันธกิจหนึ่ง คือ การให้บริการตรวจวินิจฉัย บำบัด รักษา และฟื้นฟูเด็กที่มีความต้องการพิเศษ เมื่อเด็กเหล่านี้ได้รับการบำบัด รักษา และฟื้นฟูตามศักยภาพของตนเองและเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีทักษะการช่วยเหลือตนเองที่ดี สามารถอ่านเขียนได้บ้าง ทำงานง่ายๆ ที่ไม่ซับซ้อนได้ และยังมีความพร้อมที่จะประกอบอาชีพหาเลี้ยงตนเองได้ แต่ยังขาดสถานที่ที่จะรับบุคคลพิเศษมาปฏิบัติงาน ขาดบุคลากรที่มีความเข้าใจ และมีความสามารถในการฝึกฝนบุคคลเหล่านี้

       สถาบันเป็นหน่วยงานที่ทำงานด้านนี้โดยตรง มีนักวิชาชีพที่สามารถให้การช่วยเหลือ ฝึกฝนบุคคลพิเศษเหล่านี้ได้ จึงเล็งเห็นว่าสถาบันมีศักยภาพเพียงพอที่จะรับบุคคลพิเศษที่มีความพร้อมมาฝึกอาชีพ และทำงานที่ไม่ซับซ้อนในหน่วยงานต่างๆ ของสถาบัน ได้แก่ งานทำความสะอาด งานต้อนรับ งานบ้านงานครัว งานดูแลเด็ก งานเดินเอกสาร และงานอื่นๆ โดยให้บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับงานที่บุคคลพิเศษฝึกงานเป็นพี่เลี้ยงสอนงาน ฝึกงานตามศักยภาพของบุคคลพิเศษนั้นๆ  และมีบุคลากรของงานคลินิกกำกับดูแล วางแผนการจัดการ ซึ่งจะเป็นการสร้างงาน เพิ่มคุณค่าในตนเอง และไม่เป็นภาระต่อครอบครัวในอนาคต  ประโยชน์ที่จะได้รับนอกจากบุคคลพิเศษจะมีรายได้จากการทำงาน ได้เพิ่มคุณค่าในตนเองแล้ว ยังสามารถช่วยให้บุคคลพิเศษมีความสามารถติดตัวเพื่อนำไปประกอบอาชีพได้ต่อไป  รวมทั้งบุคลากรหน่วยอื่น ๆ  ของสถาบันยังมีโอกาสได้เรียนรู้ เข้าใจบุคคลพิเศษอีกด้วย

 

      ในปีงบประมาณ 2566 สถาบันเปิดรับสมัครบุคคลพิเศษที่มึความสนใจเข้าร่วมโครงการโดยผ่านการสัมภาษณ์ ประเมินความพร้อมของบุคคลพิเศษและครอบครัว มีบุคคลพิเศษที่สนใจเข้าร่วมจำนวน 2 คน โดยมาฝึกอาชีพเป็นเวลา 3 เดือน มีการประชุมคณะทำงานเพื่อวางแผนการปฏิบัติงานของบุคคลพิเศษโดยคำนึงถึงสภาพร่างกาย จิตใจอารมณ์ และความสามารถทางสติปัญญาของบุคคลพิเศษ และมอบหมายให้มีเจ้าหน้าที่หนึ่งคนในการดูแลระหว่างบุคคลพิเศษปฏิบัติงาน ระหว่างการปฏิบัติงานมีการประเมินโครงการร่วมกับครอบครัว และผู้ดูแลบุคคลพิเศษเป็นระยะ หลังการฝึกอาชีพครบ 3 เดือนมีการประเมินโครงการร่วมกับครอบครัว และสัมภาษณ์บุคคลพิเศษที่เข้าร่วมโครงการ

           

 

                     ส่วนในปีงบประมาณ 2567 สถาบัน ดำเนินการต่อในชื่อ "...โครงการฝึกอบรมและสร้างอาชีพบุคคลพิเศษและการพัฒนาสู่ Inclusive organization..."

ได้ขยายการดำเนินงาน โดยมีเป้าหมายการดำเนินงาน ดังนี้        

    

                     โดยมีผลการดำเนินงาน ดังนี้

enlightenedจ้างผู้มีคุณวุฒิ ม.ปลาย หรือเทียบเท่า จำนวน 2 คน เข้ารับการฝึกทักษะด้านต่างๆ ดังนี้

  • งานบริหารทั่วไป เข้ารับการฝึกทักษะด้านเอกสาร การตรวจสอบเอกสาร การคัดแยกเอกสาร 
  • งานกายภาพและสิ่งแวดล้อม เข้ารับการฝึกทักษะทางด้านทางภูมิทัศน์ การจัดสวน ช่วยเหลือในการขนย้ายวัสดุ ครุภัณฑ์ 

enlightenedรับบุคคลพิเศษเข้าฝึกประสบการณ์ จำนวน 1 คน เพื่อฝึกประสบการณ์ตามศักยภาพของบุคคลพิเศษ โดยมีบุคลากรของงานคลินิกกำกับดูแล วางแผนการจัดการ มีการหมุนเวียนเปลี่ยนลักษณะการทำงานให้มีความหลากหลาย และมีบุคลากรงานต่างๆ ทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยง เพื่อช่วยสอนงานและให้คำแนะนำ

                   

 

 

 

ในปีงบประมาณ 2568 นี้ สถาบันได้ดำเนินการต่อในชื่อ "...โครงการฝึกอบรมและสร้างอาชีพบุคคลพิเศษและการพัฒนาสู่ Inclusive organization..."

โดยมีเป้าหมายการดำเนินงาน ดังนี้ 

 

Partners/Stakeholders

ครอบครัวบุคคลพิเศษ

ผู้ดำเนินการหลัก
นางอรพินท์ เลิศอวัสดาตระกูล, นางสาวประพา หมายสุข, นางสาวทัชชิมาภรณ์ เกาะกิ่ง, นางวรรณอนงค์ พิพัฒนอารยกุล, นางสาวสัณห์จุฑา ศรีสุพรรณและผศ.พญแก้วตา นพมณีจำรัสเลิศ
ส่วนงานหลัก