Quality Education

สร้างหลักประกันว่าทุกคนมีการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุมและเท่าเทียมและสนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต

มหาวิทยาลัยมหิดลเปิดโอกาสให้ทุกคนสามารถเข้าถึงการศึกษาในทุกระดับ มีหลักสูตรการเรียนการสอนเฉพาะทางของวิทยาลัยราชสุดาให้กับผู้บกพร่องทางการสื่อสารและการได้ยิน เพื่อโอกาสในการประกอบอาชีพ รวมไปถึงหลักสูตรวิทยาศาสตร์สื่อความหมายและความผิดปกติของการสื่อความหมายของคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี เพื่อผลิตบุคลากรวิชาชีพในการวินิจฉัยความผิดปกติของการสื่อความหมาย รวมไปถึงผลิตบุคลากรที่ให้การช่วยเหลือ ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้บกพร่องทางการสื่อสาร มหาวิทยาลัยมีการสนับสนุนทุนการศึกษามากกว่า 300 ทุน ให้กับผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์ และกลุ่มเปราะบางอื่น ๆ อีกทั้งยังมีการสนับสนุนกิจกรรมทางวิชาการและงานวิจัยเพื่อพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน โดยคำนึงถึงการใช้องค์ความรู้ในการจัดการทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ คำนึงถึงความเท่าเทียมทางสังคมเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น มหาวิทยาลัยมหิดลไม่ได้มุ่งพัฒนาการศึกษาเฉพาะในสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพเท่านั้น แต่ยังสนับสนุนกลุ่มสาขาอื่น ๆ เช่น สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย ได้ดำเนินงานวิจัยร่วมกับชุมชนชาติพันธุ์ต่าง ๆ จำนวน 25 กลุ่มชาติพันธุ์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 จนถึงปัจจุบัน โดยได้สร้างนวัตกรรมที่เรียกว่า “มหิดลโมเดล” (Mahidol Model Endangered Languages and Culture Revitalisation) ซึ่งเป็นเครื่องมือในการฟื้นฟูและพัฒนาภาษาแม่/ภาษาท้องถิ่น นำไปสู่การสร้างสรรค์วรรณกรรม การบันทึกความรู้ด้วยภาษาท้องถิ่น และการพัฒนาการศึกษาของเด็กและเยาวชนในรูปแบบต่าง ๆ ที่ใช้ทุนทางภาษาแม่และภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นฐานการเรียนรู้และพัฒนาสมองจนประสบความสำเร็จเป็นประจักษ์ และได้รับรางวัลระดับโลกUNESCO King Sejong Literacy Prize 2016 ต่อมามีการต่อยอดและประยุกต์ใช้ในโครงการคลังข้อมูลดิจิทัลของกลุ่มชาติพันธุ์ ส่งเสริมการปกป้องและดำรงรักษาความหลากหลายทางภาษาและวัฒนธรรม และโครงการการจัดการศึกษาแบบทวิ-พหุภาษาและการเรียนรู้ ทำให้กลุ่มชาติพันธุ์สามารถเข้าถึงระบบการศึกษาของประเทศได้อย่างเท่าเทียม โดยยังคงไว้ซึ่งอนุรักษ์ภาษาถิ่นให้สืบต่อไป นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยมหิดลยังคำนึงถึงคุณภาพของหลักสูตร โดยมีนโยบายผลักดันให้หลักสูตรได้รับการรับรองมาตรฐานระดับนานาชาติ ณ ปัจจุบันมหาวิทยาลัยมีหลักสูตรที่ได้รับรองมาตรฐานสากลมากที่สุดในประเทศไทยถึงจำนวน 54 หลักสูตร ได้แก่ ASEAN University Network-Quality Assurance (AUN-QA) จำนวน 24 หลักสูตร Association to Advance Collegiate Schools of Business (AACSB) จำนวน 9 หลักสูตร Accreditation Board for Engineering and Technology (ABET) จำนวน 6 หลักสูตร Music Quality Enhancement (MusiQuE) จำนวน 5 หลักสูตร International Society for Prosthetics and Orthotics (ISPO) จำนวน 3 หลักสูตร World Federation for Medical Education (WFME) จำนวน 2 หลักสูตร Institute and Faculty of Actuaries (IFoA) จำนวน 2 หลักสูตร Asia-Pacific Academic Consortium for Public Health (APACPH) จำนวน 1 หลักสูตร United Nation World Tourism Organisation (UNWTO.TedQual) จำนวน 1 หลักสูตร และ World Federation of Occupational Therapists (WFOT) จำนวน 1 หลักสูตร ซึ่งการได้รับมาตรฐานหลักสูตรระดับนานาชาติดังกล่าวเป็นการประกันคุณภาพการศึกษา สร้างการยอมรับของผู้สำเร็จการศึกษาในการเข้าศึกษาต่อรวมทั้งการศึกษาต่อและประกอบอาชีพในระดับนานาชาติ และเป็นปัจจัยสำคัญในการตัดสินใจของผู้เรียนในการเลือกสถาบันการศึกษา จากการดำเนินการดังกล่าวแสดงให้เห็นว่ามหาวิทยาลัยมหิดลให้ความสำคัญทางด้านการศึกษา โดยคำนึงถึงการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างเท่าเทียม และสนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิตในทุกระดับชั้น โดยกำหนดเป็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยด้านการศึกษา เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา และหลักสูตรตรงตามความต้องการของผู้เรียนและตอบโจทย์ความต้องการของประเทศ เพื่อสร้างบัณฑิตให้เป็น Global Citizen และ Global Talents ต่อไป

Highlights
  • thumb
    03 04 08
    20 ก.ค. 2566
    HAPPINOMETER
    HAPPINOMETER คือ นวัตกรรมทางด้านสังคมศาสตร์ในการสนับสนุนการสร้างเสริม คุณภาพชีวิต ความผูกพันองค์กร ความสุข และ สมดุลชีวิต ระดับคนวัยทำงาน และ ระดับองค์กร ไปจนถึง ภาพรวมคุณภาพชีวิตและความสุขคนวัยทำงานระดับประเทศ และ ภาพรวมองค์กรแห่งความสุขระดับประเทศ
  • thumb
    03 04 17
    9 มี.ค. 2565
    การควบคุมป้องกันโรคธาลัสซีเมีย
    โรคธาลัสซีเมียและฮีโมโกลบินผิดปกติ เป็นโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมที่พบบ่อยที่สุดในโลกรวมถึงประเทศไทย ประมาณร้อยละ 5.2 ของประชากรโลกเป็นพาหะของโรคธาลัสซีเมียและฮีโมโกลบินผิดปกติ ความเสี่ยงของการมีบุตรที่เป็นโรคธาลัสซีเมียและฮีโมโกลบินผิดปกติสูงถึงร้อยละ 1.1 ของคู่แต่งงานของประชากรทั้งโลก หรือ 2.7 คน ใน 1,000 คน การป้องกันและควบคุมโรคธาลัสซีเมียชนิดรุนแรงให้มีผู้ป่วยเกิดใหม่ลดลงจึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง โดยในช่วงระหว่างปีพ.ศ 2560-2564 ศูนย์วิจัยธาลัสซีเมียได้ให้บริการปรึกษาทางพันธุศาสตร์แก่หญิงตั้งครรภ์และสามีที่มีความเสี่ยงต่อการมีบุตรเป็นโรคธาลัสซีเมีย ณ คลินิกธาลัสซีเมีย โรงพยาบาลนครปฐม จำนวน 129 ราย และได้ให้คำแนะนำเพื่อทำการตรวจวินิจฉัยก่อนคลอดด้วยวิธีการเจาะน้ำคร่ำ (amniocentesis) สำหรับหญิงตั้งครรภ์ที่มีโอกาสมีบุตรเป็นโรคธาลัสซีเมียชนิดรุนแรง 3 โรค ที่ทางกระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายในการควบคุมและป้องกัน อีกจำนวน 49 ราย ทำให้ลดภาระค่าใช้จ่ายในการรักษาผู้ป่วยธาลัสซีเมียของครอบครัวและกระทรวงสาธารณสุขได้ วัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาการตรวจวินิจฉัยโรคและพาหะด้วยเทคนิคระดับเซลล์ โปรตีน และอณูพันธุศาสตร์ ที่รวดเร็วแม่นยำ และนำไปใช้ประโยชน์สำหรับเป็นแนวทางการวินิจฉัยและการรักษาโรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย และเป็นแนวทางสำหรับดูแลรักษาผู้ป่วยธาลัสซีเมียในเวชปฏิบัติทั่วไป
  • thumb
    1 ธ.ค. 2565
    คลินิกกายภาพบำบัดสัญจรสู่ชุมชน มหาวิทยาลัยมหิดล
    คลินิกกายภาพบำบัดสัญจรสู่ชุมชนได้ริเริ่มขึ้นมาให้สอดรับกับแผนพัฒนาระบบบริการสุขภาพของกระทรวงสาธารณสุข ประเทศไทย และเพื่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ โดยการให้ความรู้กับประชาชนร่วมกับเครือข่ายภายในและภายนอกประเทศผ่านการสร้างเสริมสุขภาพ ส่งเสริม ป้องกัน รักษา ฟื้นฟู โดยการใช้ปัญหาของชุมชนเป็นโจทย์ การออกแบบการบริการให้สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนในชุมชนทั้ง 5 กลุ่มวัย รวมไปถึงการสร้างชุมชนต้นแบบให้ชุมชนดูแลตนเองได้ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อปรับคุณภาพชีวิตของประชาชนในชุมชนรอบมหาวิทยาลัยมหิดล
  • thumb
    16 พ.ค. 2566
    งานนิทรรศการทันตสุขภาพ “เพื่อฟันที่คุณรัก”
    คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และสโมสรนักศึกษาทันตแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลปิ่นเกล้า เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร ในการจัดกิจกรรมดังกล่าว เพื่อเป็นการหารายได้สมทบทุนมูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวเริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2527 จนถึงปัจจุบัน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการให้ความรู้ คำแนะนำในการป้องกันโรคและแนวทางการรักษาทางทันตกรรม เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนเล็งเห็นถึงความสำคัญของการรักษาสุขภาพช่องปากและฟัน เพื่อเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับทันตสุขภาพให้กับประชาชน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมเสริมหลักสูตรให้กับนักศึกษาทันตแพทย์ ในการสร้างจิตสำนึกในการทำงานเพื่อสังคม กิจกรรมภายในงานประกอบด้วยนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร นิทรรศการทันตสุขภาพ การประกวดหนูน้อยฟันสวยชิงถ้วยประทาน พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าโสมสวลีพระวรราชาทินัดดามาตุ พร้อมทุนการศึกษา การให้บริการตรวจสุขภาพช่องปากและฟันแก่ประชาชนทั่วไปโดยไม่คิดมูลค่า และการออกร้านสอยดาวหารายได้สมทบทุนมูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย สมทบทุนมูลนิธิคณะทันตแพทยศาสตร์มหิดล เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยยากไร้และด้อยโอกาส และมอบทุนการศึกษาแก่นักเรียนที่เรียนดีแต่ขาดแคลนทุนทรัพย์ของคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลด้วย
  • thumb
    15 พ.ค. 2566
    โครงการส่งเสริมสิทธิมนุษยชนศึกษาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
    การส่งเสริมสิทธิมนุษยชนศึกษาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นหนึ่งในแผนงานเชิงยุทธศาสตร์ของโครงการจัดตั้งสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา (IHRP) มหาวิทยาลัยมหิดล โดยมีส่วนร่วมในการส่งเสริมสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษาผ่านการเสริมสร้างศักยภาพ การเสริมสร้างอำนาจ และการเผยแพร่ความรู้ในหมู่นักวิชาการ นักวิจัย นักศึกษาและภาคส่วนต่างๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มานานกว่าทศวรรษ นอกเหนือจากหลักสูตรด้านสิทธิมนุษยชนและสันติภาพในระดับบัณฑิตศึกษาแล้ว สถาบันฯ ยังทำงานร่วมกับองค์กรระหว่างประเทศเพื่อเสริมสร้างศักยภาพ ทักษะ และความรู้ด้านสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษาสำหรับนักวิชาการในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยในช่วงหลังได้เน้นการทำงานไปที่กลุ่มนักวิชาการในเมียนมาร์ที่ได้รับผลกระทบจากการรัฐประหารเมื่อปี 2564
  • thumb
    13 พ.ค. 2566
    การศึกษาหาความสัมพันธ์ระหว่างอาการโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้และมลพิษในอากาศ ในชุมชนบางกอกน้อย ในโครงการสร้างรูปแบบชุมชนสุขภาพดี
    การสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับมลพิษในอากาศและโรคภูมิแพ้ให้แก่ประชากรในชุมชนบางกอกน้อย และพัฒนาระบบการแจ้งเตือน AQI พร้อมคำแนะนำในการปฏิบัติตัวที่เหมาะสม และศึกษาความสัมพันธ์ของอาการโรคจมูกอักเสบกับระดับ AQI และ ฝุ่นละอองเล็ก PM 2.5
  • thumb
    03 04 17
    13 พ.ค. 2566
    โครงการสนับสนุนการมีส่วนร่วมในการจัดการระบบสุขภาพชุมชนบางกอกน้อย ร่วมกับคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
    การพัฒนา “ฐานข้อมูลสุขภาพของชุมชน” เครื่องมือสำหรับพัฒนากิจกรรม โครงการ และองค์ความรู้ที่ตอบสนองต่อสถานการณ์ระบบสุขภาพชุมชน เพื่อยกระดับการขับเคลื่อน และเชื่อมโยงกลไกการบริหารในระบบสุขภาพ
  • thumb
    9 พ.ค. 2566
    การจัดการเรียนรู้ โดยใช้เกมกระดาน “Mangrove Survivor” เพื่อส่งเสริมความเข้าใจและความตะหนักเรื่องระบบนิเวศป่าชายเลน
    Mangrove Survivor Board game ใช้ส่งเสริมความเข้าใจเรื่องป่าชายเลนซึ่งเป็นระบบนิเวศที่เชื่อมโยงพื้นดินและน้ำทะเลเข้าด้วยกัน ตัวเกมมีต้นทุนที่ในการผลิตต่ำจึงสามารถนำไปใช้ในในทุกบริบท ทั้งในและนอกห้องเรียน
  • thumb
    5 พ.ค. 2566
    โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ STEM & ROBOTICS CAMP
    โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ STEM & ROBOTICS CAMP” เป็นการจัดค่ายเสริมพิเศษนอกเวลาเรียน เพื่อพัฒนาทักษะของครูและนักเรียนด้านการโค้ดดิ้ง การจัดกิจกรรมมีลักษณะการดำเนินงานใน 3 มิติ ได้แก่ การอบรมเชิงปฏิบัติการโค้ดดิ้งสำหรับนักเรียนและครูผู้สอน การวิจัยและพัฒนากระบวนการสอนโค้ดดิ้งสำหรับครูผู้สอน และการวิจัยและพัฒนาสื่อการสอนโค้ดดิ้ง โดยแนวคิดและหลักการทำงานของคณะทำงานจะยึดหลักที่ว่า สื่อการสอนที่ใช้ในการจัดกิจกรรมต้องมีราคาไม่แพง เข้าถึงง่าย กระบวนการเรียนการสอนต้องเข้าถึงผู้เรียน คือ เข้าใจง่าย ไม่น่าเบื่อ มีความทั่วถึง และมีความยั่งยืน
  • thumb
    17 04
    25 ก.ค. 2565
    โครงการ Norwegian Scholarship Projects ระหว่างรัฐบาลนอร์เวย์ โดยสถานทูตนอร์เวย์ประจำประเทศเมียนมา สถานทูตนอร์เวย์ประจำประเทศอินโดนีเซียและมหาวิทยาลัยมหิดล
    โครงการ Norwegian Scholarships Projects เป็นโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลนอร์เวย์ โดยสถานทูตนอร์เวย์ประจำประเทศเมียนมา สถานทูตนอร์เวย์ประจำประเทศอินโดนีเซียและมหาวิทยาลัยมหิดล มอบทุนศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา เพื่อมาศึกษา ณ มหาวิทยาลัยมหิดล ในลักษณะ Co-funding จำนวน 4 สาขา ได้แก่ Life Science & Health, Environmental Sciences and Engineering, Social & Population Science และ Human Rights & Peace Studies
  • thumb
    15 04
    11 มี.ค. 2565
    Animal Speak by Mahidol
    Animal Speak by Mahidol เป็นรายการที่สร้างความเข้าใจเรื่องสัตว์ ทำให้ผู้ชมและเด็ก ๆ เข้าใจธรรมชาติของสัตว์ สามารถอยู่ร่วมกันได้กับสิ่งมีชีวิตในโลก ปลูกฝั่งเรื่องความรับผิดชอบให้แก่เด็ก ๆ
  • thumb
    03 04
    23 ม.ค. 2566
    การปลูกถ่ายสเต็มเซลล์ของผิวกระจกตาโดยไม่ต้องอาศัย การเพาะเลี้ยงและใช้ สเต็มเซลล์ปริมาณน้อย (วิธี SLET: Simple Limbal Epithelial Transplantation)
    ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัด ปลูกถ่ายสเต็มเซลล์ผิวกระจกตาด้วยวิธี SLET สามารถกลับมามองเห็นได้ ใช้ชีวิตได้อีกครั้ง
จำนวนทั้งหมด 74 รายการ