บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล มีรูปแบบการจัดการศึกษาที่เปิดโอกาสให้บุคคลทั่วไป สามารถเข้าศึกษาเพื่อปรับเพิ่มพัฒนาความรู้และ ทักษะที่จำเป็นในการปฏิบัติงาน
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล มีรูปแบบการจัดการศึกษาที่เปิดโอกาสให้บุคคลทั่วไป สามารถเข้าศึกษาเพื่อปรับเพิ่มพัฒนาความรู้และ ทักษะที่จำเป็นในการปฏิบัติงาน
Mahidol Apprenticeship Program (MAP)
มหาวิทยาลัยมหิดลจัดให้มีโครงการ Mahidol Apprenticeship Program (MAP) แก่ผู้ที่สนใจศึกษาในหลักสูตรของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล หรือผู้ที่ต้องการเพิ่มพูนความรู้และทักษะที่จำเป็นสำหรับการพัฒนาวิชาชีพในศตวรรษที่ 21 เนื่องจากสังคมของเรามีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาอย่างมาก เราต้องปรับตัวและเตรียมพร้อมสำหรับการทำงานและการอยู่ในสังคมอนาคต
วัตถุประสงค์ของหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษาของมหาวิทยาลัยมหิดลคือการพัฒนาทักษะและความเชี่ยวชาญให้แก่นักศึกษาในศตวรรษที่ 21 หลักสูตรเหล่านี้เคยจัดให้เฉพาะนักศึกษาระดับปริญญาโทและปริญญาเอกเท่านั้น แต่ปัจจุบันมหาวิทยาลัยเปิดโอกาสให้บุคคลทั่วไปที่สนใจในหลักสูตรเหล่านี้ได้เข้ามาเรียนรู้เพื่อเป็นการเพิ่มทักษะที่จำเป็นในการทำงาน
โดยการเปิดสอนเป็นรายวิชา การจัดอบรม Short Course และ Training สำหรับหัวข้อหรือเนื้อหาค่อนข้างเปิดกว้างสำหรับผู้สนใจเข้าศึกษาหรือเข้าร่วมอบรม โดยไม่จำกัดอายุ พื้นฐานการศึกษา หรืออาชีพ มุ่งให้ผู้เรียนได้พัฒนาทักษะ นำความรู้และประสบการณ์ที่ได้จากการศึกษาไปพัฒนาต่อยอดและประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน โดยเนื้อหาและหลักสูตรมีความเหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการของกลุ่มผู้เรียนแต่ละกลุ่มแตกต่างกันไป โดย Mahidol Apprenticeship Program แบ่งเป็น 2 รูปแบบ
ปีการศึกษา |
จำนวนรายวิชาที่เข้าร่วม MAP-C |
จำนวนผู้เข้าเรียน MAP-C |
2563 |
242 |
894 |
2564 |
420 |
1,045 |
2565 |
474 |
1,061 |
2566 (มิ.ย.67) |
240 |
1,219 |
ความแตกต่างระหว่าง MAP-C และ MAP-EX
บุคคลทั่วไป หลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล