การอบรมหลักสูตรนักบริหารระดับสูงด้านสาธารณสุข

detail

หลักสูตรนักบริหารระดับสูงด้านสาธารณสุข (Mini Master of Management in Health: Mini MM) พัฒนาศักยภาพของบุคลากรด้านสาธารณสุขซึ่งประกอบด้วยแพทย์ พยาบาล นักวิชาการ เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ในระดับท้องถิ่น อำเภอ จังหวัดและประเทศ ให้มีภาวะผู้นำและมีทักษะในการบริหารงานสาธารณสุขยุคใหม่ เพื่อให้สามารถปฏิบัติหน้าที่ผู้บริหารได้อย่างมั่นใจและมีประสิทธิภาพ ในยุคไทยแลนด์ 4.0

การอบรมหลักสูตรนักบริหารระดับสูงด้านสาธารณสุข

สถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียนและสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย ได้พัฒนาหลักสูตรนักบริหารระดับสูงด้านสาธารณสุข (Mini Master of Management in Health: Mini MM) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543 โดยมุ่งที่จะพัฒนาศักยภาพของบุคลากรด้านสาธารณสุขซึ่งประกอบด้วยแพทย์ พยาบาล นักวิชาการ เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ในระดับท้องถิ่น อำเภอ จังหวัดและประเทศ ให้มีภาวะผู้นำและมีทักษะในการบริหารงานสาธารณสุขยุคใหม่ เพื่อให้สามารถปฏิบัติหน้าที่ผู้บริหารได้อย่างมั่นใจและมีประสิทธิภาพ ในยุคไทยแลนด์ 4.0 ในปีงบประมาณ 2564 สถาบันฯ จัดอบรม ทั้งหมด จำนวน 4 รุ่น (อบรมที่สถาบันฯ 3 รุ่น และ สัญจร ณ จังหวัดลำปาง 1 รุ่น) มีผู้เข้ารับการอบรมทั้งสิ้นจำนวน 303 คน การฝึกอบรมจัดในวันศุกร์ เสาร์ และอาทิตย์ เดือนละ 1 ครั้ง เป็นระยะเวลา 4-6 เดือน

ผู้เข้ารับการอบรมจะต้องเข้ารับการปฐมนิเทศ รับฟังการบรรยายสรุปและทำกิจกรรมกลุ่ม
ณ สถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน ไปศึกษาดูงาน ณ สถานที่ที่กลุ่มสนใจ ทำรายงานเดี่ยวและโครงงานกลุ่มส่งตามกำหนด โดยผู้รับการอบรมจะได้รับเอกสารหรือสื่อการเรียนการสอนในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถศึกษาได้ด้วยตนเอง วันสุดท้ายของหลักสูตรผู้เข้ารับการอบรมนำเสนอโครงงานกลุ่ม โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิมาให้ข้อเสนอแนะเพื่อให้สามารถนำโครงการกลุ่มไปใช้ได้จริงอย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อผู้เข้ารับการอบรมผ่านเกณฑ์ตามกำหนดในทุกกิจกรรมแล้วจึงจะได้รับวุฒิบัตร

หลักสูตรนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีคุณสมบัติดังนี้

  1. เป็นผู้นำในการบริหารจัดการงานสาธารณสุขยุคใหม่
  2. สามารถคิดวิเคราะห์ วางแผน กำกับ ติดตาม โครงการหรืองานด้านสาธารณสุข
  3. มีทักษะในการบริหารงานสาธารณสุขระดับสูง

 

เนื้อหาวิชาแบ่งเป็น 10 หมวดรายวิชา (Module) ได้แก่

1. เวชศาสตร์ป้องกันกับการประยุกต์ใช้ในระบบสุขภาพ (Applied Preventive Medicine for Health System)
1.1 การประยุกต์ใช้หลักการเวชศาสตร์ป้องกันในระบบสุขภาพทุกระดับ
1.2 การพัฒนาและการจัดการระบบบริการสุขภาพและบริการปฐมภูมิ
1.3 นวัตกรรมการบริหารจัดการสาธารณสุขในยุค Thailand 4.0
 

2. ระบาดวิทยาเพื่อการแก้ปัญหาสาธารณสุข (Epidemiology for Public Health Solutions)
2.1 หลักระบาดวิทยาการเฝ้าระวังโรคและการสอบสวนโรค การสอบสวนอุบัติเหตุ
2.2 การประยุกต์ระบาดวิทยาในการแก้ปัญหาโรคติดต่อ โรคเรื้อรังและสิ่งแวดล้อม
 

3. เศรษฐศาสตร์สาธารณสุขและการบริหารจัดการทรัพยากรสำหรับผู้บริหาร (Health Economics and Resource Management for Administrator)
3.1 หลักการและการประยุกต์เศรษฐศาสตร์สาธารณสุขสำหรับผู้บริหาร
3.2 การบริหารจัดการทรัพยากร ในสถานบริการสุขภาพและระบบสุขภาพ
 

4. สุขภาพระหว่างประเทศและการขับเคลื่อนนโยบายสุขภาพ
 

5. การวิจัยและการนำผลการวิจัยไปใช้ (Health Research and Research Utilization)
5.1 การวิจัยและการนำผลการวิจัยไปใช้เพื่อแก้ปัญหาหรือพัฒนางานด้านสาธารณสุข
5.2 การจัดการความรู้และการพัฒนางานประจำให้เป็นงานวิจัย
 

6. ภาวะผู้นำและทักษะของนักบริหารจัดการสมัยใหม่ (Leadership and Modern Management Skills)
6.1 ภาวะผู้นำแนวใหม่สำหรับนักบริหารสาธารณสุข
6.2 การบริหารบุคลากรสาธารณสุขแนวใหม่และการจัดการความขัดแย้งในองค์กร
6.3 การวางแผนยุทธศาสตร์และการบริหารเชิงกลยุทธ์


7. การพัฒนาคุณภาพและการบริหารความเสี่ยงในระบบสุขภาพ (Quality Development and Risk Management for Health System)
 

8. การบริหารการเงิน – การคลังในสถานบริการสุขภาพ
 

9. การจัดทำและบริหารโครงการแบบมืออาชีพ
9.1 เทคนิคการจัดทำแผนกลยุทธ์เพื่อการพัฒนาคุณภาพ
9.2 การนำกลยุทธ์สู่การปฏิบัติและการจัดการโครงการอย่างมีประสิทธิภาพ
 

10. เทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับผู้บริหารสาธารณสุข
10.1 Health Literacy and Communication
10.2 Digital Health and Innovation

 

 

Partners/Stakeholders

สมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย

ผู้ดำเนินการหลัก
-
ส่วนงานหลัก
ผู้ดำเนินการร่วม
-