Case Study

ผลการค้นหาทั้งหมด 5 รายการ
  • thumb
    03
    5 ส.ค. 2567
    ยุติปัญหา “การฆ่าตัวตาย” ด้วยระบบการเฝ้าระวังและป้องกัน
    ยุทธศาสตร์ 4 เสา” หรือ “โฟร์พิลล่าร์” (4 Pillars) เป็นกลยุทธ์ป้องกันการฆ่าตัวตายที่มีการนำมาใช้กับระบบเฝ้าระวังการฆ่าตัวตายของจังหวัดลำพูน ซึ่งเป็นจังหวัดในเขตพื้นที่ภาคเหนือตอนบน ภายใต้เขตสุขภาพที่ 1 เป็นเขตพื้นที่ที่มีอัตราการฆ่าตัวตายสูงที่สุดในประเทศไทย โดยมีอัตราการฆ่าตัวตายสูงกว่าค่าเป้าหมายที่ประเทศไทยกำหนดไว้ 2-3 เท่า โดยใช้ยุทธศาสตร์ 4 เสาได้แก่ เสาที่ 1 ระบบข้อมูล (Data) เป็นการค้นหากลุ่มเสี่ยงหรือกลุ่มเปราะบาง โดยการทำความเข้าใจคุณลักษณะ ปัจจัยเสี่ยง หรือผลกระทบที่ส่งผลให้เกิดความคิดฆ่าตัวตาย อาทิ ปัจจัยด้านสุขภาพ สังคมและเศรษฐกิจ เสาที่ 2 ชี้เป้า ดักจับ (Radar) เป็นเสาสัญญาณที่ทำหน้าที่ในการดักจับสัญญาณเสี่ยงโดยบุคคลรอบข้าง รวมถึงการนำส่งข้อมูลให้ผู้เชี่ยวชาญด้านสาธารณสุขเพื่อส่งต่อเข้าสู่ระบบให้ความช่วยเหลือ เสาที่ 3 ป้องกัน บำบัด (Prevention and Treatment) จำเป็นต้องใช้การช่วยเหลือในรูปแบบที่เป็นเครือข่ายและการบูรณาการร่วมกัน หรือที่เรียกว่า “การทำงานแบบหลายภาคส่วน” (Multisectoral Collaboration) เพื่อร่วมดำเนินการให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายตามขั้นตอนและกระบวนการบำบัดต่อไป และเสาที่ 4 การบริหารอย่างมีส่วนร่วม (Administration) เป็นกระบวนการช่วยเหลือด้วยการบูรณาการหลายภาคส่วน ตามลักษณะของปัญหาและภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง อาทิ หน่วยงานในสังกัด กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์และกระทรวงมหาดไทย
  • thumb
    7 มิ.ย. 2567
    สถานการณ์การดูแลสุขภาพและความต้องการการสนับสนุนในพื้นที่ชายแดนจังหวัดแม่ฮ่องสอนและจังหวัดตาก
    การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เฉพาะ เพื่อทำความเข้าใจและสรุปสถานการณ์ด้านสุขภาพในพื้นที่ชายแดนจังหวัดแม่ฮ่องสอนและตาก เพื่อวิเคราะห์และระบุประเด็นและความท้าทายด้านสุขภาพและการดูแลสุขภาพในพื้นที่ รวมถึงผลกระทบของการข้ามชายแดนต่อสถานการณ์สุขภาพโดยทั่วไปในพื้นที่ชายแดน และพิจารณาและเสนอการแนวทางการสนับสนุนที่จำเป็น และเป็นไปได้จาก JICA เพื่อแก้ไขปัญหาและความท้าทายที่เกิดขึ้น
  • thumb
    02 06 07
    7 มิ.ย. 2567
    การประเมินความเชื่อมโยงของความมั่นคงด้านทรัพยากรน้ำ อาหาร และพลังงานเพื่อการจัดการน้ำในระบบกสิกรรมของไทยด้วยแบบจำลองเชิงพลวัต
    การพัฒนากรอบการประเมิน WFE security nexus ในระบบ กสิกรรมของประเทศไทย เพื่อแสดงให้เห็นถึงองค์ประกอบและพลวัตความเชื่อมโยงขององค์ประกอบภายใต้กรอบนั้น และการทดสอบการประเมินความมั่นคงของระบบกสิกรรมของไทยสำหรับพืชเศรษฐกิจด้วย WFE security nexus โดยมีขอบเขตการศึกษาในพื้นที่ลุ่มน้ำภาคกลางซึ่งเป็นแหล่งพืชเศรษฐกิจ 3 ชนิด ได้แก่ ข้าว อ้อย และมันสำปะหลัง ในการศึกษาครั้งนี้ได้ทำการประเมินความสามารถในการปรับตัว (Adaptation) ของเกษตรกรในพื้นที่ศึกษา ผลการศึกษาบ่งชี้ว่า เกษตรกรมีความสามารถในการปรับตัวภาพรวมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของกิจกรรมในแปลงเกษตร อยู่ที่ระดับ 3.9/5.0 ประเด็นที่มีคะแนนต่ำที่สุด (3.3/5.0) คือ การทำกสิกรรมเชิงเดี่ยวและไม่มีการหมุนเวียนปลูกพืช ประเด็นที่มีคะแนนสูงสุด (4.2/5.0) ได้แก่ การคัดเลือกพันธุ์ข้าวที่ให้ผลผลิตสูง และ ความสนใจต่อเทคนิคการปลูกพืชแบบควบคุมการให้น้ำและเห็นว่าน่าจะเพิ่มผลผลิตได้ ซึ่งเป็นประเด็นที่สามารถขับเคลื่อนในภาคประชาคมเกษตรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพเชิงนิเวศน์เศรษฐกิจของพื้นที่และ WEF security nexus
  • thumb
    03 17
    2 ก.ค. 2567
    ระบบประเมินมหาวิทยาลัยสุขภาวะ Healthy University Rating System (HURS)
    Healthy University Rating System (HURS) ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อเป็นเครื่องมือในการประเมินมหาวิทยาลัยสุขภาวะ โดยใช้กรอบแนวคิด AUN Healthy University Framework (HUF) ซึ่งประกอบด้วย 22 ประเด็น มุ่งเน้นส่งเสริมสุขภาพ ความยั่งยืน และความเป็นอยู่ที่ดีแก่บุคลากร นักศึกษามหาวิทยาลัยและชุมชนรอบข้าง
  • thumb
    04 03
    11 มี.ค. 2565
    การอบรมหลักสูตรนักบริหารระดับสูงด้านสาธารณสุข
    สถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล และสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย ได้พัฒนาหลักสูตรนักบริหารระดับสูงด้านสาธารณสุข (Mini Master Management in Health)