Healthy University Rating System (HURS) หรือ ระบบประเมินมหาวิทยาลัยสุขภาวะ ถูกพัฒนาขึ้นโดยคณะทำงานแกนนำ Committee on HURS Development โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะส่งเสริมให้มหาวิทยาลัยในอาเซียนใช้การทราบความก้าวหน้าหรือผลการดำเนินงานด้านการสร้างเสริมสุขภาพ เพื่อมุ่งสู่การเป็นมหาวิทยาลัยสุขภาวะ Healthy University Rating System (HURS) ใช้กรอบแนวคิด AUN Healthy University Framework ที่ได้มีการรวบรวมข้อมูลมาเป็นแนวทางปฏิบัติ สร้างเกณฑ์มาตรฐาน 22 ประเด็นด้านการสร้าเสริมสุขภาพ และกำหนดแนวทางการประเมินผลที่บ่งชี้ถึงระดับความก้าวหน้าของมหาวิทยาลัยเครือข่ายในการดำเนินงานด้านการสร้างเสริมสุขภาพ ซึ่งจะเป็นการกระตุ้นและส่งเสริมให้แต่ละมหาวิทยาลัยเล็งเห็นถึงความสำคัญในการดำเนินงานด้านการสร้างเสริมสุขภาพ อันจะนำไปสู่ความต่อเนื่องในการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยสร้างเสริมสุขภาพในมหาวิทยาลัยภูมิภาคอาเซียน ซึ่งจะส่งผลดีต่อนักศึกษา บุคลากรภายในมหาวิทยาลัย และชุมชน ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืน
ระบบประเมินมหาวิทยาลัยสุขภาวะ มีรอบการประเมินรายปี ตั้งแต่วันที่ 15 สิงหาคม – 16 พฤศจิกายนของทุกปี โดยมีการเป็นครั้งแรกในปี 2564 และมีดำเนินการต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน หลังการปิดระบบประเมิน คณะกรรมการแกนนำในการพัฒนาระบบ HURS จะพิจารณาและตรวจสอบข้อมูลที่แต่ละมหาวิทยาลัยได้ส่งในระบบ รวมถึงกิจกรรมที่มหาวิทยาลัยแต่ละแห่งได้มีการดำเนินการในรอบปีนั้น ๆ ว่ามีความสอดคล้องต่อเกณฑ์ 22 ประเด็นมาตรฐานด้านการสร้างเสริมสุขภาพใน AUN Healthy University Framework เพียงใด จากนั้น จึงจัดทำสรุปผลคะแนนและแจ้งผลคะแนนอย่างเป็นทางการให้แต่ละมหาวิทยาลัยได้ทราบผ่านหนังสืออย่างเป็นทางการและใบแจ้งผลการประเมิน เพื่อเป็นการให้ข้อเสนอแนะ ว่ามหาวิทยาลัยควรปรับปรุงหรือพัฒนาแต่ละด้านอย่างไร Healthy University Rating System (HURS) ใช้ระบบการให้คะแนนด้วยดาว (Star Rating System) จากเกณฑ์สูงสุดระดับ 5 ดาวพลัส แทนการจัดอันดับ (Ranking System) เปิดโอกาสให้มหาวิทยาลัยทุกแห่งสามารถขึ้นเป็น Top Health Promoting Universities ได้ สำหรับมหาวิทยาลัยที่ได้รับผลการประเมินระดับ 4 ดาวขึ้นไป จะได้รับรางวัล อาทิ เกียรติบัตร (Certificate) โล่ประกาศเกียรติคุณแก่มหาวิทยาลัยในอาเซียนที่เข้าร่วมระบบประเมิน Healthy University Rating System (HURS)
เนื่องจากแต่ละมหาวิทยาลัยมีบริบทการดำเนินงานด้านการสร้างเสริมสุขที่แตกต่างกัน มหาวิทยาลัยที่ได้รับคะแนนผลการประเมินสูงในแต่ละปีจะได้รับเชิญให้เป็นวิทยากรในเวทีประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ เพื่อร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในการดำเนินงานด้านการสร้างเสริมสุขภาพ การจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ นอกจากจะเป็นการสนับสนุนและเผยแพร่ต้นแบบกลไกการทำงานของเครือข่ายมหาวิทยาลัยสร้างเสริมสุขภาพในประเทศไทยไปยังประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคอาเซียนแล้ว ยังสามารถการขยายผลการดำเนินงานไปสู่ชุมชนและประชาชนให้มีสุขภาพที่ดีขึ้น ปัจจุบัน มหาวิทยาลัยในภูมิภาคอาเซียนมากกว่า 30 แห่ง ได้เข้าร่วมระบบประเมินมหาวิทยาลัยสุขภาวะนี้ การผลักดันแนวคิดเรื่องการส่งเสริมสุขภาวะใน HURS ที่ครอบคลุมทั้งในด้านสุขภาพ (Health) ความเป็นอยู่ที่ดี (Well-being) และความยั่งยืน (Sustainability) โดยมีเป้าหมายในการสร้างนโยบายจากระดับประเทศไปสู่ระดับภูมิภาค ผ่านเครื่องมือการชี้วัด HURS ทำให้เกิดการขับเคลื่อนอย่างเห็นผลเป็นรูปธรรม