การฆ่าตัวตายเป็นปัญหาสำคัญทางสังคมและสาธารณสุขทั่วโลก จากรายงานขององค์กรอนามัยโลก พบว่า 1 ใน 100 ของการเสียชีวิตทั่วโลกเกิดจากการฆ่าตัวตายและเป็น 1 ใน 4 อันดับแรกของสาเหตุการเสียชีวิตในกลุ่มอายุ 15-29 ปีทั่วโลก ซึ่งการเสียชีวิตจากการฆ่าตัวตายมีจำนวนสูงกว่าการเสียชีวิตจากเอดส์ มาลาเรีย และมะเร็งเต้านม ประเทศไทยการฆ่าตัวตายถูกกำหนดให้เป็นภาระงานด้านสาธารณสุขและสุขภาพจิต แต่การฆ่าตัวตายเกิดจากปัญหาที่ซับซ้อนตามระดับนิเวศสังคม (ตั้งแต่ระดับบุคคล ระหว่างบุคคล ชุมชน และสังคม) โดยเฉพาะในยุคปัจจุบันที่ระบบสังคมที่มีความซับซ้อนและปรับตัวอย่างรวดเร็ว การแก้ไขปัญหาที่มีความซับซ้อนต้องใช้แนวคิดเชิงระบบ วิเคราะห์วงรอบเชิงเหตุแลผล และการทำงานร่วมกันระหว่างผู้มีส่วนเกี่ยวข้องที่ครอบคลุม จะนำไปสู่การตัดสินใจเชิงยุทธศาสตร์
จากการศึกษาวิจัยในโครงการวิเคราะห์ระบบเฝ้าระวังและป้องกันการฆ่าตัวตายที่ใช้ชุมชนเป็นฐานเพื่อการขยายผลด้วยกรอบแนวคิด CFIR, RE-AIM และ NPT พบว่า อัตราการเสียชีวิตจากการฆ่าตัวตายของประชากรไทย มีจำนวน 5,172 คน หรือเท่ากับ 7.94 ต่อ 100,000 ประชากร เฉลี่ยวันละ 14 คน หรือเสียชีวิต 1 คน ในทุก 2 ชั่วโมง และจำนวนคนไทยที่พยายามฆ่าตัวตาย มีจำนวน 31,110 คน หรือเท่ากับ 47.74 ต่อ 100,000 ประชากร เฉลี่ยวันละ 85 คน หรือมีผู้พยายามฆ่าตัวตาย 7 คน ในทุก 2 ชั่วโมง ซึ่งเพศชายจะมีอัตราการเสียชีวิตสูงกว่าเพศหญิง แต่การพยายามทำร้ายตัวเองของเพศหญิงสูงกว่าเพศชาย ส่วนช่วงวัยและอาชีพจะมีความแตกต่างกันไปแต่ละภูมิภาคและไม่พบรูปแบบที่ตายตัว แต่อย่างไรก็ดี เราสามารถป้องกันการฆ่าตัวตายได้ เพราะปัจจุบันนี้เรามีเครื่องมือที่สามารถขับเคลื่อนและป้องกันการฆ่าตัวตายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
จังหวัดลำพูนอยู่ภายใต้การกำกับของเขตบริการสุขภาพที่ 1 มีอัตราการฆ่าตัวตายในปี พ.ศ. 2563 เพิ่มจากปี พ.ศ. 2561 เกือบ 3 เท่า โดย 1 ใน 4 อยู่ในวัยทำงาน ซึ่งสาเหตุ 3 อันดับแรกได้แก่ ได้รับความกระทบกระเทือนทางใจ เจ็บป่วยทางกายและทางจิตเรื้อรัง และใข้สารเสพติดหรือสุรา ซึ่งจังหวัดลําพูนกําหนดให้ปัญหาการฆ่าตัวตายเป็นวาระจังหวัด (Province agenda) และพัฒนารูปแบบการป้องกันและแก้ไขปัญหาการฆ่าตัวตายระดับจังหวัดด้วยแนวคิดเชิงระบบ โดย ติดตั้งระบบเฝ้าระวังและป้องกันการฆ่าตัวตายที่ใช้ชุมชนเป็นฐาน เรียกว่ายุทธศาสตร์ 4 เสา (4 Pillars) ประกอบด้วย เสาที่ 1 การกําหนดเป้าหมายด้วยการใช้ข้อมูลค้นหากลุ่มเสี่ยงเพื่อกําหนดพฤติกรรมเสี่ยงและ กลุ่มเปราะบาง เสาที่ 2 การตรวจจับด้วยการใช้ชุมชนเป็นฐานดักจับสัญญานเสี่ยงทั้งระบบออนไลน์และ ออฟไลน์และส่งข้อมูลให้ระบบดูแลรักษา (ระบบสุขภาพ) เสาที่ 3 การป้องกันและแก้ไขเชิงบูรณาการด้วยการ ทํางานเชิงรุกใช้หน่วยงานด้านสาธารณสุขเป็นแกนหลักรับข้อมูลจากระบบเฝ้าระวังชุมชน เพื่อยืนยัน สถานการณ์และกําหนดแผนดําเนินการ และเสาที่ 4 การจัดการแบบบูรณาการระดับชุมชน เป็นการให้การ ช่วยเหลือด้วยการบูรณาการหลายภาคส่วนตามลักษณะของปัญหาและภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ยุทธศาสตร์ 4 เสา เป็นยุทธศาสตร์ที่ใช้ชุมชนเป็นฐานจึงมีกระบวนการพัฒนาศักยภาพชุมชนเกี่ยวกับสัญญานและลักษณะสําคัญของผู้มีความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายแนวทางการส่งต่อให้วิชาชีพที่เกี่ยวข้อง ผ่านการทํางานร่วมกันระหว่างรัฐและชุมชน การสื่อสารเพื่อการยกระดับความตระหนักและความรู้เกี่ยวกับสัญญานลักษณะและพฤติกรรมที่แสดงถึงความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย ตลอดจนการเรียนรู้ผ่านการประชุมระดม ความคิด เพื่อให้การนํายุทธศาสตร์ 4 เสาของจังหวัดลําพูนไปปฏิบัติและขยายผลได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ระยะเวลาการดำเนินงานของโครงการวันที่ 1 ธันวาคม 2565 ถึง 30 พฤศจิกายน 2566 หลักฐานเชิงประจักษ์ของการดําเนินงานและความสําเร็จในการพัฒนาศักยภาพของชุมชนในการเฝ้าระวังตรวจจับและส่งต่อ ที่เกิดจากกระบวนการทํางานร่วมกัน จึงเป็นข้อมูลนําเข้าที่สําคัญในการขยายผลและปรับปรุงนโยบายให้สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นในจังหวัดลําพูนและพื้นที่อื่นที่มีบริบทของชุมชน ระบบสุขภาพและคุณภาพของระบบบริการ เนื่องจากระบบเฝ้าระวังและป้องกันการฆ่าตัวตายของชุมชนจะดําเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ชุมชนต้องมีศักยภาพในการติดตามประเมินผลเพื่อใช้เป็นข้อมูลป้อนกลับในการปรับปรุงให้ระบบมีความทันสมัย ทันเวลาต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและข้อมูลที่ได้จากการวิจัยจะนําไปพัฒนากลยุทธ์ที่ทันสมัยทําให้การนํานโยบายไปปฏิบัติบรรลุเป้าประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืนได้รูปแบบการดําเนินงานที่มีประสิทธิภาพ การค้นหาหลักฐานเชิงประจักษ์ตามแนวคิดของการวิจัยดําเนินการจึงมีความสําคัญอย่างยิ่งในการวางแผนการดําเนินการอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป