Good Health and Well-Being

สร้างหลักประกันการมีสุขภาวะที่ดี และส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีสำหรับทุกคนในทุกช่วงวัย

มหาวิทยาลัยมหิดลมีความเข้มแข็งทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ โดยได้ผลิตผลงานวิจัยและนวัตกรรมที่มีส่วนช่วยในการพิจารณาการรักษาโรคและให้ความรู้ทางด้านสุขภาพแก่ประชาชน และในแต่ละปีมหาวิทยาลัยได้ผลิตบัณทิตทางการแพทย์อย่างต่อเนื่อง และมีโรงพยาบาลในสังกัดถึง 8 แห่งที่พร้อมให้การดูแลรักษาประชาชน ครอบคลุมในทุกโรค โดยได้ให้การรักษาผู้ป่วยในระยะเวลา 2 ปี (ตั้งแต่ พ.ศ. 2563 - 2564) แบ่งเป็นผู้ป่วยนอก 11,766,282 ราย ผู้ป่วยใน 284,931 ราย ผู้ป่วยทันตกรรม 1,094,908 ราย ซึ่งทางมหาวิทยาลัยได้ให้การสนับสนุนค่ารักษาพยาบาลแก่ผู้ป่วยที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ ระหว่างปี พ.ศ. 2563 - 2564 ไปกว่า 4,213,371,169.45 บาท ช่วยลดความเหลื่อมล้ำและเพิ่มสิทธิการเข้าถึงการรักษาพยาบาลให้ทั่วถึงยิ่งขึ้น นอกจากการรักษาพยาบาล มหาวิทยาลัยยังมีศูนย์วิจัยโรคเฉพาะทางหลากสาขา เช่น ศูนย์โรคหลอดเลือดสมอง ศูนย์ไตเทียม ศูนย์มะเร็ง เป็นต้น ทางมหาวิทยาลัยยังมีส่วนสำคัญในการผลักดันโครงการต่าง ๆ ที่ช่วยส่งเสริมการสร้างสุขภาพที่แข็งแรง ทั้งในระดับชุมชนและในระดับประเทศ รวมทั้งเป็นผู้จัดกิจกรรมในการให้ความรู้เกี่ยวกับโรคชนิดต่าง ๆ เช่น กิจกรรมถ่ายทอดสดการให้ความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์ในวันเอดส์โลก กิจกรรมงานสัปดาห์วันมะเร็งโลก กิจกรรมวันโรคอ้วน และแนะนำวิธีการออกกำลังกายที่ถูกต้อง เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีศูนย์ให้คำปรึกษาปัญหาทางด้านสุขภาพจิตให้กับนักศึกษาและประชาชนทั่วไป และ มีคลินิกวัยทีนที่พร้อมให้คำปรึกษาเยาวชนเกี่ยวกับปัญหาต่าง ๆ เมื่อเข้าสู่วัยรุ่น เช่น ปัญหาการติดยาเสพติดปัญหาการมีเพศสัมพันธ์ พร้อมบริการฟิตเนสและสนามกีฬาหลายประเภทสำหรับนักศึกษาและบุคลากร ในมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดลเป็นมหาวิทยาลัยปลอดบุหรี่ มีการรณรงค์ให้ประชาชนเห็นถึงผลเสีย ของการสูบบุหรี่และเลิกสูบบุหรี่เพื่อสุขภาพที่แข็งแรง ในระดับกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน มหาวิทยาลัยยังเป็นผู้นำในการขับเคลื่อนกิจกรรมส่งเสริมสุขภาวะ ในฐานะผู้นำองค์ความรู้ และเป็นต้นแบบสำหรับมหาวิทยาลัยสมาชิกเครือข่ายส่งเสริมสุขภาพในเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน (Asean University Network – Health Promotion Network : AUN – HPN) อีกด้วย

Highlights
  • thumb
    03
    20 ก.ค. 2566
    โครงการการศึกษาสถานการณ์ด้านสุขภาวะของคนไทยเพื่อจัดทำรายงานสุขภาพคนไทย 2566-2568
    สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ดำเนินโครงการจัดทำรายงานสุขภาพคนไทยประจำปี โดยการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ตั้งแต่ปี 2546 มาอย่างต่อเนื่อง จนถึงปัจจุบันเป็นเวลา 19 ปี ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา รายงานสุขภาพคนไทย มีบทบาทในการรวบรวม และนำเสนอข้อมูล สถานการณ์ รวมถึง บทวิเคราะห์ประเด็นสำคัญต่างๆ ด้านสุขภาพที่ทันต่อเหตุการณ์ปัจจุบัน โดยข้อมูลและองค์ความรู้ที่จัดทำและเผยแพร่ในแต่ละปีทำหน้าที่ในการชี้ประเด็นปัญหาและปรากฏการณ์ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพของคนไทยที่กำลังเกิดขึ้นหรือมีแนวโน้มเป็นเรื่องที่มีความสำคัญของประเทศ รวมถึงให้ข้อเสนอแนะแนวทางในการติดตามแก้ไขปัญหา หน่วยงานผู้กำหนดนโยบาย รวมถึงภาคีเครือข่ายขับเคลื่อนงานทางสุขภาพที่เกี่ยวข้องสามารถนำข้อมูลสถิติ บันทึกสถานการณ์และบทวิเคราะห์จากเนื้อหาในทุกส่วน ไปใช้ในการอ้างอิงและวิเคราะห์เพื่อเป็นแนวทางในการกำหนดทิศทางนโยบายในอนาคต สำหรับประชาชนผู้อ่านทั่วไป ข้อมูลเนื้อหาในเล่มรายงานช่วยเพิ่มความตระหนักต่อสถานการณ์ด้านสุขภาพในประเทศและเสริมความรอบรู้ทางสุขภาพ นักวิชาการสามารถนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ในด้านการเรียนการสอน เป็นแหล่งข้อมูลการอ้างอิงสถานการณ์ทางสุขภาพที่เป็นปัจจุบัน มีความน่าเชื่อถือ สามารถใช้ในการกำหนดประเด็นปัญหาและหัวข้อในการศึกษาวิจัย รวมถึงวิเคราะห์สถานการณ์และปัญหาทางสุขภาพของคนไทยเชิงลึกได้ต่อไป โครงสร้างเนื้อหาของรายงานสุขภาพคนไทยประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่ 1) ส่วนตัวชี้วัดสุขภาพ 2) ส่วนสถานการณ์เด่นและผลงานดีๆ ทางสุขภาพในรอบปี และ 3) ส่วนสุดท้ายซึ่งเป็นหัวข้อหลัก (theme) ประจำฉบับ คือ ส่วนเรื่องพิเศษประจำฉบับ องค์ประกอบโครงสร้างเนื้อหาทั้ง 3 ส่วนนี้ เป็นประโยชน์กับผู้อ่านหลากหลายกลุ่มโดยนำเสนอข้อมูลและบทวิเคราะห์ต่างๆ ที่มีจุดเน้นและรูปแบบการนำเสนอที่แตกต่างกันแต่สามารถสื่อสารได้กับคนทุกกลุ่ม โดยส่วนแรกหรือตัวชี้วัดสุขภาพเป็นประโยชน์กับผู้กำหนดนโยบาย ภาคีเครือข่ายการขับเคลื่อนงานทางสุขภาพ รวมถึงนักวิชาการ กลุ่มนักเรียนและนักศึกษาในการใช้ประโยชน์เป็นแหล่งอ้างอิงข้อมูลสุขภาพในแต่ละเรื่อง ส่วนสถานการณ์เด่นทางสุขภาพเป็นประโยชน์กับประชาชนผู้อ่านทั่วไปที่จะได้รับทราบสถานการณ์ทางสุขภาพสำคัญที่เกิดขึ้นในแต่ละปี บนพื้นฐานของการนำเสนอข้อมูลและบทวิเคราะห์ที่รอบด้านและเป็นกลาง และส่วนเรื่องพิเศษประจำฉบับเป็นประโยชน์แก่ผู้กำหนดนโยบาย และผู้อ่านทุกกลุ่มจากเนื้อหาที่มีการรวบรวมในประเด็นที่นำเสนอเป็นเรื่องพิเศษแต่ละปีอย่างเป็นระบบ มีบทวิเคราะห์ถึงประเด็นที่อาจเป็นทั้งปัญหาหรือโอกาสต่อสุขภาพของคนไทย เสนอแนะแนวทางที่เกี่ยวข้องในการจัดการหรือแก้ไขปัญหานั้นๆ ที่สามารถนำไปวิเคราะห์เชิงลึกและใช้ประโยชน์ทั้งในเชิงนโยบาย การขับเคลื่อนงาน หรือสร้างความตระหนักรอบรู้ทางสุขภาพในระดับบุคคลได้
  • thumb
    03
    25 มี.ค. 2567
    การพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์ยาที่ใช้รักษามะเร็ง ด้วยเซลล์และยีน (CAR - T cell)
    นวัตกรรมการวิจัยรักษาทางการแพทย์ผลิตภัณฑ์ยาที่ใช้รักษามะเร็งด้วยเซลล์และยีน (CAR - T cell) ภายใต้มาตรฐานสากลแห่งแรกในอาเซียน
  • thumb
    03 12
    30 มิ.ย. 2565
    ห้องปฏิบัติการประเมินความปลอดภัยทางอาหารและชีวภาพ (การตรวจวิเคราะห์สารตกค้างยาฆ่าแมลง ในผัก ผลไม้)
    คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้เริ่มโครงการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการทางเทคนิคการแพทย์ “ผักและผลไม้ที่ปลอดภัยเพื่อครัวโลก” มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2556 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อมุ่งส่งเสริมสุขภาพของประชาชนในการบริโภคอาหารที่มีความปลอดภัยจากสารตกค้างยาฆ่าแมลง หรือสารกำจัดศัตรูพืช ที่อาจปนเปื้อนอยู่ในผักและผลไม้
  • thumb
    03
    22 ส.ค. 2566
    การวินิจฉัยและการบริการรักษาสัตว์เลี้ยง
    สุขภาพสัตว์ที่ดีมีส่วนส่งเสริมสุขภาพของผู้เลี้ยงสัตว์
  • thumb
    03 10
    13 พ.ค. 2566
    เน็ตป๊าม้า (Net PAMA)
    การพัฒนาโปรแกรมอบรมการเลี้ยงดูเชิงบวกผ่านระบบอินเทอร์เน็ต (Internet-based Parent Management Training) โดยดำเนินงานเพื่อพัฒนาทักษะการเลี้ยงดูเด็กเชิงบวกให้กับผู้ปกครองที่มีข้อจำกัดในการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต
  • thumb
    03 04 09
    10 มี.ค. 2565
    Mobile Stroke Unit Stroke One Stop (MSU-SOS) เชื่อมต่อกับระบบปรึกษาทางไกลและการส่งต่อผู้ป่วยแบบครบวงจรสําหรับทุกคน
    MSU-SOS ถือเป็นโครงการต้นแบบการพัฒนาระบบปรึกษาทางไกล เพื่อรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันเฉียบพลันโดยใช้รถโมบาย สโตรคยูนิตให้มี ประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยนําเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ติดตั้งไว้บนรถ
  • thumb
    03
    7 พ.ค. 2567
    โครงการสานพลังสร้างภูมิคุ้มกัน ลด ละเลิก บุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้าในมหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา โดยแกนนำนักศึกษาพยาบาลสร้างสรรคสังคมไทยปลอดบุหรี่ และเครือข่ายสโมสรนักศึกษา ปี 2566- 2567
    โครงการ "สานพลังสร้างภูมิคุ้มกัน ลด ละเลิก บุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้า" โดยแกนนำนักศึกษาพยาบาลสร้างสรรคสังคมไทยปลอดบุหรี่ เป็นกิจกรรมเสริมพลังนักศึกษาในพื้นที่มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายาที่จะร่วมกันขับเคลื่อน สร้างสิ่งแวดล้อมปลอดบุหรี่ / ลดแรงสนับสนุนการสูบบุหรี่ และร่วมพลังเฝ้าระวังการละเมิดสูบยาสูบหรือบุหรี่ไฟฟ้า อันจะนำไปสู่การพัฒนามหาวิทยาลัยมหิดลเป็นมหาวิทยาลัยปลอดบุหรี่ในอนาคต
  • thumb
    03 11 12
    30 มิ.ย. 2565
    โครงการตรวจประเมินการปฏิบัติงานบริษัทรับกำจัดของเสียอันตราย
    มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นมหาวิทยาลัยที่มีการเรียนการสอน งานวิจัยทางการแพทย์และวิทยาศาสตร์เป็นหลัก จากนโยบายและแนวปฏิบัติด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2557 ว่าด้วยการสนับสนุนการใช้ทรัพยากรอย่างเหมาะสม และมีระบบการจัดการของเสียที่มีประสิทธิภาพ ศูนย์บริหารความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (COSHEM) จึงได้จัดทำโครงการบริหารจัดการของเสียนตรายภายในมหาวิทยาลัย โดยดูแลรับผิดชอบการบริหารจัดการของเสียอันตราย 2 ประเภท คือ ของเสียสารเคมี และของเสียอันตรายทางชีวภาพ ทั้งนี้ทางศูนย์ฯ มีระบบบริหารจัดการตั้งแต่ การคัดแยกของเสีย การจัดเก็บ และการส่งกำจัด ซึ่งทางศูนย์ฯ เป็นหน่วยงานกลางในการติดต่อประสานงาน และดำเนินการจัดหาบริษัทรับกำจัดของสียอันตราย ที่ดำเนินกิจการภายใต้การควบคุมและดูแลจากหน่วยงานของรัฐ และได้รับการรับรองมาตรฐานตามที่กฎหมายกำหนด เข้ารับกำจัดของเสียอันตรายภายในส่วนงาน
  • thumb
    2 มี.ค. 2565
    เพื่อนรักต่างศาสนา: ผู้นําถักทอสันติภาพและความปรองดองในสังคมไทย
    โครงการเพื่อนรักต่างศาสนา: ผู้นำกับการถักทอสันติภาพและความปรองดองในสังคมไทย ได้ใช้การสานเสวนาเรื่องสุขภาพเป็นจุดเริ่มต้นนำไปสู่การสร้างความไว้วางใจและปรองดอง เพื่อนำมาสู่สันติภาพในสังคมที่มีความขัดแย้งในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้
  • thumb
    03 04 17
    4 เม.ย. 2567
    เครือข่ายความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีสารสนเทศขั้นสูงสำหรับเวชศาสตร์เขตร้อน
    เป้าหมายโดยรวมของโครงการนี้คือการเสริมสร้างความสามารถของมหาวิทยาลัยมหิดลและเครือข่ายมหาวิทยาลัยอื่นๆ รวมถึงหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในการใช้กระบวนการแบบ One Health เพื่อศึกษาและวิจัยการจัดการกับโรคเขตร้อนและโรคติดต่อจากสัตว์สู่คน (zoonoses) ที่มีความสำคัญ
  • thumb
    1 ธ.ค. 2565
    คลินิกกายภาพบำบัดสัญจรสู่ชุมชน มหาวิทยาลัยมหิดล
    คลินิกกายภาพบำบัดสัญจรสู่ชุมชนได้ริเริ่มขึ้นมาให้สอดรับกับแผนพัฒนาระบบบริการสุขภาพของกระทรวงสาธารณสุข ประเทศไทย และเพื่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ โดยการให้ความรู้กับประชาชนร่วมกับเครือข่ายภายในและภายนอกประเทศผ่านการสร้างเสริมสุขภาพ ส่งเสริม ป้องกัน รักษา ฟื้นฟู โดยการใช้ปัญหาของชุมชนเป็นโจทย์ การออกแบบการบริการให้สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนในชุมชนทั้ง 5 กลุ่มวัย รวมไปถึงการสร้างชุมชนต้นแบบให้ชุมชนดูแลตนเองได้ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อปรับคุณภาพชีวิตของประชาชนในชุมชนรอบมหาวิทยาลัยมหิดล
  • thumb
    03
    19 มี.ค. 2567
    ระบบกรอบงานอัตโนมัติเพื่อการเรียนรู้ปัญญาประดิษฐ์แบบสหพันธรัฐสำหรับรูปภาพทางการแพทย์
    “ระบบกรอบงานอัตโนมัติเพื่อการเรียนรู้ปัญญาประดิษฐ์แบบสหพันธรัฐสำหรับรูปภาพทางการแพทย์” เป็นระบบเพื่อใช้ข้อมูลรูปภาพเอกซเรย์ทรวงอกและผลวินิจฉัยจากสถาบันทางการแพทย์ต่าง ๆ นำมาฝึกฝนแบบจำลองปัญญาประดิษฐ์เชิงลึกโดยไม่มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลรูปภาพทางการแพทย์ระหว่างสถาบันทางการแพทย์ เพื่อทำให้แบบจำลองปัญญาประดิษฐ์ส่วนกลางมีความสามารถและแม่นยำสูงเนื่องจากได้เรียนรู้และฝึกฝนจากชุดข้อมูลที่มีความหลากหลาย ตลอดจนสามารถเอาผลลัพธ์จากแบบจำลองปัญญาประดิษฐ์กลางไปใช้ในการสร้างระบบส่วนกลางและสนับสนุนสถาบันทางการแพทย์ที่ไม่มีระบบปัญญาประดิษฐ์ได้
จำนวนทั้งหมด 126 รายการ