การพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์ยาที่ใช้รักษามะเร็ง ด้วยเซลล์และยีน (CAR - T cell)

detail
SDGs ที่่เกี่ยวข้อง

การต่อยอดนวัตกรรมการวิจัยการแพทย์ขั้นสูง เพื่อรักษาผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวด้วยเทคโนโลยีเซลล์และยีนบำบัด (CAR - T cell) เป็นรายแรกของประเทศไทย และเป็นศูนย์กลางของภูมิภาคเอเชีย

โรคมะเร็งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้นๆของโลก และเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 ของประเทศไทย โดยเฉพาะโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวที่มีอัตราการเสียชีวิตค่อนข้างสูง ศ.นพ.สุรเดช หงส์อิง และ รศ.นพ.อุษณรัศมิ์ อนุรัฐพันธ์ พร้อมคณะที่ศึกษาค้นคว้าการรักษาโรคเกี่ยวกับความผิดปกติทางพันธุกรรม ได้เริ่มวิจัยตั้งแต่ปี 2557 จนปัจจุบันเกิดผลสำเร็จในการคิดค้นพัฒนานวัตกรรมทางการแพทย์การรักษามะเร็งด้วยภูมิคุ้มกันบำบัด (Cancer Immunotherapy) เพื่อเป็นวิธีการรักษาโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวในเด็ก โดยการดึงเอาเซลล์พิเศษในเม็ดเลือดขาวที่ทำหน้าที่สร้างภูมิคุ้มกันในร่างกาย หรือ T-cell จากผู้ป่วยมาดัดแปลงพันธุกรรมด้วยการติดตั้งรีเซ็ปเตอร์ใหม่ (CAR : Chimeric Antigen Receptor) แล้วพัฒนาปรับแต่งจนเป็น CD19-specific CAR T-cell เพื่อฉีดกลับไปให้ผู้ป่วย โดยแบ่งการทำวิจัยเป็น 3 ช่วง ดังนี้

1.การผลิตและทดลอง CAR - T cell ในหลอดทดลอง
   
   
 
 
2.การทดลอง CAR - T cell ในสัตว์ทดลอง
 
 
 
 
3.การทำวิจัยทางคลินิกในผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิด บี เซลล์ ที่ดื้อต่อการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดและยามุ่งเป้า ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ จำนวน 10 ราย สามารถทำลายเซลล์มะเร็งได้หลังจากผู้ป่วยได้รับ CAR - T cell
 
   
 
ปัจจุบันโรงพยาบาลรามาธิบดีได้ใช้วิธีการนี้รักษาผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิด บีเซลล์หายขาดมาแล้วหลายราย รวมถึงได้ใช้รักษาผู้ป่วยมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิด บี เซลล์ด้วย โดยงานวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (TCELS) ต่อยอดเป็นนวัตกรรมทางการแพทย์ขั้นสูงเพื่อรักษาผู้ป่วยมะเร็งที่เกี่ยวกับเลือด ด้วยเทคโนโลยีเซลล์และยีนบำบัดเป็นรายแรกของประเทศไทย ด้วยการร่วมทุนกับบริษัท เจเนพูติก ไบโอ จำกัด พัฒนาออกสู่เชิงพาณิชย์ภายใต้มาตรฐานสากลแห่งแรกในอาเซียน โดยได้จดเป็นสิทธิบัตรของคนไทย เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถเข้าถึงการรักษาที่มีประสิทธิภาพสูงในราคาที่ถูกลง (เฉลี่ยเข็มละ 1-2 ล้านบาท) เมื่อเทียบกับการสั่งซื้อยาจากบริษัทยาต่างชาติที่จำหน่าย CD19 CAR T-cell ในราคาประมาณเข็มละ 13 ล้านบาท รวมถึงขายเป็นสิทธิบัตรให้ต่างชาติเพื่อสร้างรายได้เข้าประเทศ 
 
 
ในอนาคตมีแผนต่อยอดการวิจัยไปสู่การรักษาโรคมะเร็งชนิดอื่น เช่น มะเร็งกระดูก มะเร็งสมอง มะเร็งต่อมหมวกไต และมะเร็งทางโลหิตวิทยา ที่เรียกว่า Multiple Myeloma ในผู้ใหญ่ และขยายไปใช้กับผู้ป่วยในวงกว้าง ปัจจุบันได้รับการติดต่อจากประเทศเพื่อนบ้านในการถ่ายทอดเทคโนโลยีดังกล่าว

 

 

Partners/Stakeholders

1. สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
2. บริษัท เจเนพูติก ไบโอ จำกัด 
3. บริษัท ไทยฟู้ดส์ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)
4. ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (TCELS) 

5. คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

6. คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

7. สถาบันชีววิทยาโมเลกุล มหาวิทยาลัยมหิดล

8. กระทรวงสาธารณสุข

ผู้ดำเนินการหลัก
ศ.นพ. สุรเดช หงส์อิง / รศ.นพ.อุษณรัศมิ์ อนุรัฐพันธ์
ส่วนงานหลัก
ผู้ดำเนินการร่วม
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) / บริษัท เจเนพูติก ไบโอ จำกัด / ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (TCELS)
ส่วนงานร่วม