การวินิจฉัยและการบริการรักษาสัตว์เลี้ยง

detail
SDGs ที่่เกี่ยวข้อง

สุขภาพสัตว์ที่ดีมีส่วนส่งเสริมสุขภาพของผู้เลี้ยงสัตว์

ความเป็นมาและผลกระทบต่อสังคม 

      โรงพยาบาลสัตว์ประศุอาทร เป็นสถานพยาบาลสัตว์ของคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลเปิดให้บริการรักษาสัตว์ป่วย และดูแลสุขภาพสัตว์ โดยเน้นการรักษาสัตว์เลี้ยง ได้แก่ สุนัข และแมวเป็นหลัก นอกจากนี้ยังมีบริการรักษา ม้า สัตว์ชนิดพิเศษ และสัตว์น้ำ โดยสัตวแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง ซึ่งการให้บริการรักษาสัตว์ป่วยตั้งแต่ระดับปฐมภูมิ ทุติยภูมิ และตติยภูมิ และด้วยในสภาวะปัจจุบันสังคมคนโสดเพิ่มสูงขึ้นใน Generation Z และจากสภาวะเศรษฐกิจเงินเฟ้อทำให้คนมีลูกน้อยลง แล้วหันมาสนใจในการเลี้ยงสัตว์เลี้ยงแทน รวมถึงในด้านกฎหมายมีการใช้ พ.ร.บ.คุ้มครองสัตว์ ซึ่งเป็นประโยชน์ในเชิงของสัตว์ที่มีอัตราการเสียชีวิตต่ำลง ส่งผลให้มีการรักษาสัตว์เพิ่มขึ้น

 

รูปแบบการดำเนินงานและผลการดำเนินงานที่สำคัญ

     โรงพยาบาลสัตว์ประศุอาทรให้บริการวิชาการด้านสุขภาพสัตว์เลี้ยง โดยสัตว์เลี้ยงที่เข้ารับการรักษาในปี พ.ศ. 2565 มีจำนวนทั้งสิ้น 38,603 ตัว ประกอบด้วย สุนัข 34,979 ตัว แมว 12,765 ตัว กระต่าย 1,676 ตัว สัตว์ชนิดพิเศษอื่นๆ 1,603 ตัว นก 777 ตัว ปศุสัตว์ 419 ตัว ม้า 127 ตัว และสัตว์น้ำ 61 ตัว ตามภาพ

 

      ในปัจจุบันความรู้ทางการตรวจวินิจฉัยและการรักษาทางการสัตวแพทย์มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เกิดองค์ความรู้และวิทยาการใหม่ๆ ทางสัตวแพทย์ตลอดเวลา โรงพยาบาลสัตว์รวมถึงสัตวแพทย์ที่ดีจึงควรมีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องและมีการถ่ายทอดองค์ความรู้ภายในองค์กรอย่างสม่ำเสมอ เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ไม่ใช่แค่การพัฒนาส่วนบุคคล ดังนั้นโรงพยาบาลสัตว์ประศุอาทรจึงได้จัดทำโครงการ “ส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาบุคลากรด้วยการศึกษาทางไกล” ขึ้น เพื่อให้เกิดการจัดการความรู้โดยการสร้างความรู้ที่ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) คือ ความรู้ที่เห็นได้ชัดเจนเป็นรูปธรรม ที่ได้มาจากการเรียนในห้องเรียน การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ความรู้ที่อยู่ในตำรา ซึ่งจะทำให้การพัฒนาการจัดการความรู้ (Knowledge management) ของโรงพยาบาลสัตว์ประศุอาทรให้เป็นรูปธรรมและเกิดองค์ความรู้สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะส่งผลดีต่อการให้บริการตรวจรักษา ความน่าเชื่อถือ และภาพลักษณ์องค์กร

      โรงพยาบาลสัตว์ประศุอาทร ได้เริ่มจัดทำโครงการ “ส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาบุคลากรด้วยการศึกษาทางไกล” มาตั้งแต่ปี 2562 โดยได้คัดเลือกสัตวแพทย์ที่มีคุณสมบัติตามที่กำหนด เข้าอบรมคอร์ส การศึกษาทางไกลระยะสั้น ที่เกี่ยวข้องกับวิชาการทางการสัตวแพทย์ จำนวน 1 คอร์ส หลังจากนั้นสัตวแพทย์ผู้เข้าร่วมโครงการจะมีหน้าที่เรียบเรียงความรู้ที่ได้รับจัดทำรายงานเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อเผยแพร่และเก็บรวบรวมเป็นองค์ความรู้สำหรับให้สัตวแพทย์หรือบุคลากรของโรงพยาบาลสัตว์ประศุอาทรได้ใช้ในการศึกษาและใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงานต่อไป

      โดยในปีงบประมาณ 2566 มีสัตวแพทย์ที่เข้าร่วมโครงการ 2 ท่าน คือ น.สพ.สุรชาติ เบญจธรรมรักษ์ เข้าฝึกงานในห้องผ่าตัด เพื่อฝึกทักษะในการผ่าตัดทั้งส่วนของการผ่าตัดออโธพีดิกส์และผ่าตัดเนื้อเยื่ออ่อน ณ แผนกศัลยกรรม โรงพยาบาลสัตว์ มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ระหว่างวันที่ 1 – 28 กุมภาพันธ์ 2566 (1 เดือน) และ สพ.ญ.กฤตยา สกุณา เข้าคอร์สการศึกษาระยะสั้น Dentistry 1: Introduction to dentistry; Diagnostic & Extraction จัดโดย ESAVS ระหว่างวันที่ 10-14 กรกฎาคม 2566 (5 วัน)

      นอกจากนั้น โรงพยาบาลสัตว์ประศุอาทรยังได้ริเริ่มโครงการ “จัดตั้งธนาคารเลือด โรงพยาบาลสัตว์ประศุอาทร” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้บริการในส่วนของเลือดและผลิตภัณฑ์จากเลือดแก่สัตว์ป่วยที่เข้ารับการรักษาภายในโรงพยาบาลสัตว์ประศุอาทร เป็นการลดภาระของเจ้าของสัตว์ด้านการหาเลือดจากภายนอกและช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในส่วนนี้  สำหรับในส่วนของสุนัขและแมวผู้บริจาคเลือด (Donor) โรงพยาบาลสัตว์ฯ จะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ donor ที่มาบริจาคเลือดที่โรงพยาบาลสัตว์ฯ และส่วนที่ธนาคารเลือดออกไปรับบริจาคจากหน่วยงานของรัฐ เช่น กรมการสัตว์ทหารบก และอาสาสมัครที่ติดต่อไว้ ซึ่งผู้บริจาคจะได้รับสิทธิต่าง ๆ ดังนี้ การตรวจสุขภาพประจำปี ตรวจร่างกายเบื้องต้น ตรวจค่าโลหิตวิทยา ได้แก่ CBC, Blood parasite, ค่าเคมีเลือด ได้แก่ BUN, Creat, ALT, ALP, TP, ALB, GLU ได้รับวัคซีนประจำปี ได้รับผลิตภัณฑ์ป้องกันปรสิตภายนอก และได้รับผลิตภัณฑ์บำรุงเลือด  

 

                          จำนวนสัตว์ป่วยที่เข้ารับการรักษา ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2561 – 2566 (ตัว)

                          ร้อยละของรายได้และจำนวนสัตว์ป่วยที่เพิ่มขึ้น(ลด) ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2561 – 2566

Partners/Stakeholders

ประชาชนทั่วไป

ผู้ดำเนินการหลัก
รศ.ดร.สพ.ญ.สุกัญญา มณีอินทร์ (ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสัตว์ประศุอาทร)
ส่วนงานหลัก