Good Health and Well-Being

สร้างหลักประกันการมีสุขภาวะที่ดี และส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีสำหรับทุกคนในทุกช่วงวัย

มหาวิทยาลัยมหิดลมีความเข้มแข็งทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ โดยได้ผลิตผลงานวิจัยและนวัตกรรมที่มีส่วนช่วยในการพิจารณาการรักษาโรคและให้ความรู้ทางด้านสุขภาพแก่ประชาชน และในแต่ละปีมหาวิทยาลัยได้ผลิตบัณทิตทางการแพทย์อย่างต่อเนื่อง และมีโรงพยาบาลในสังกัดถึง 8 แห่งที่พร้อมให้การดูแลรักษาประชาชน ครอบคลุมในทุกโรค โดยได้ให้การรักษาผู้ป่วยในระยะเวลา 2 ปี (ตั้งแต่ พ.ศ. 2563 - 2564) แบ่งเป็นผู้ป่วยนอก 11,766,282 ราย ผู้ป่วยใน 284,931 ราย ผู้ป่วยทันตกรรม 1,094,908 ราย ซึ่งทางมหาวิทยาลัยได้ให้การสนับสนุนค่ารักษาพยาบาลแก่ผู้ป่วยที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ ระหว่างปี พ.ศ. 2563 - 2564 ไปกว่า 4,213,371,169.45 บาท ช่วยลดความเหลื่อมล้ำและเพิ่มสิทธิการเข้าถึงการรักษาพยาบาลให้ทั่วถึงยิ่งขึ้น นอกจากการรักษาพยาบาล มหาวิทยาลัยยังมีศูนย์วิจัยโรคเฉพาะทางหลากสาขา เช่น ศูนย์โรคหลอดเลือดสมอง ศูนย์ไตเทียม ศูนย์มะเร็ง เป็นต้น ทางมหาวิทยาลัยยังมีส่วนสำคัญในการผลักดันโครงการต่าง ๆ ที่ช่วยส่งเสริมการสร้างสุขภาพที่แข็งแรง ทั้งในระดับชุมชนและในระดับประเทศ รวมทั้งเป็นผู้จัดกิจกรรมในการให้ความรู้เกี่ยวกับโรคชนิดต่าง ๆ เช่น กิจกรรมถ่ายทอดสดการให้ความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์ในวันเอดส์โลก กิจกรรมงานสัปดาห์วันมะเร็งโลก กิจกรรมวันโรคอ้วน และแนะนำวิธีการออกกำลังกายที่ถูกต้อง เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีศูนย์ให้คำปรึกษาปัญหาทางด้านสุขภาพจิตให้กับนักศึกษาและประชาชนทั่วไป และ มีคลินิกวัยทีนที่พร้อมให้คำปรึกษาเยาวชนเกี่ยวกับปัญหาต่าง ๆ เมื่อเข้าสู่วัยรุ่น เช่น ปัญหาการติดยาเสพติดปัญหาการมีเพศสัมพันธ์ พร้อมบริการฟิตเนสและสนามกีฬาหลายประเภทสำหรับนักศึกษาและบุคลากร ในมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดลเป็นมหาวิทยาลัยปลอดบุหรี่ มีการรณรงค์ให้ประชาชนเห็นถึงผลเสีย ของการสูบบุหรี่และเลิกสูบบุหรี่เพื่อสุขภาพที่แข็งแรง ในระดับกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน มหาวิทยาลัยยังเป็นผู้นำในการขับเคลื่อนกิจกรรมส่งเสริมสุขภาวะ ในฐานะผู้นำองค์ความรู้ และเป็นต้นแบบสำหรับมหาวิทยาลัยสมาชิกเครือข่ายส่งเสริมสุขภาพในเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน (Asean University Network – Health Promotion Network : AUN – HPN) อีกด้วย

Highlights
  • thumb
    03 17
    29 ส.ค. 2565
    การมีส่วนร่วมของชุมชนในการดูแลแบบประคับประคองผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่บ้าน ตำบลเขาทอง อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์
    แนวโน้มของความต้องการการดูแลประคับประคองที่บ้านของประชาชนมีมากขึ้น ด้วยเพราะอุบัติการณ์โรคเรื้อรัง โรคร้ายแรง โรคที่คุกคามต่อชีวิต รวมทั้งสัดส่วนผู้สูงอายุที่เพิ่มสูงขึ้น ทำให้มีผู้ป่วยระยะสุดท้าย (Terminal illness) และผู้สูงอายุระยะบั้นปลายชีวิต (End of life) จำนวนเพิ่มขึ้นตามไปด้วย การดูแลแบบประคับประคองคือการดูแลอาการเจ็บป่วยทางกาย ปัญหาทางจิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ แบบองค์รวม ตั้งแต่ระยะแรกที่เริ่มวินิจฉัยว่าอยู่ในระยะประคับประคอง (Palliative) จนกระทั่งผู้ป่วยเสียชีวิต
  • thumb
    03 04
    25 ส.ค. 2565
    โครงการประชุมวิชาการอุปกรณ์การแพทย์ ครั้งที่ 32 เรื่อง "โรงพยาบาลอัจฉริยะและความมั่นคงด้านสุขภาพ (Smart Hospital and Health Security)
    ในสถานการณ์ปัจจุบันความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีดิจิทัล มีพัฒนาการขึ้นเป็นอย่างมาก ตลอดจนมีการนำเอาเทคโนโลยีดิจิทัลมาสนับสนุนในการทำงานทุกระบบ เพื่ออำนวยความสะดวกในการดำเนินชีวิต ในระบบของโรงพยาบาลก็เช่นกัน การนำเอาความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีดิจิทัลมาสนับสนุนการบริการภายในโรงพยาบาล หรือทำงานแทนระบบการทำงานของผุ้บริหาร แพทย์ พยาบาล หรือผู้เกี่ยวข้อง และระบบของเครื่องมือแพทย์พร้อมทั้งเครื่องอำนวยความสะดวกต่าง ๆ เพื่อให้แต่ละงานในโรงพยาบาลมีประสิทธิภาพสูงสุด ลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน และเพื่อความสะดวกรวดเร็วในการรับบริการที่มีคุณภาพดี มีความปลอดภัย และทันสมัยอย่างเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม อันทำให้เกิดความมั่นคงทางด้านสุขภาพของผู้เข้ารับบริการ
  • thumb
    03
    24 ส.ค. 2565
    ข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ เรื่อง "การศึกษาปัญหาธาลัสซีเมีย"
    เป็นการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับโรคธาลัสซีเมีย ซึ่งเป็นปัญหาทางสาธารณสุข เศรษฐกิจและสังคมของประเทศ งานวิจัยเกี่ยวกับธาลัสซีเมียนี้ทำทุกด้าน ตั้งแต่ระดับคลินิกจนถึงระดับโมเลกุล แนะนำผลงานวิจัยมาประยุกต์ใช้ในการตรวจวินิจฉัย การรักษา และการควบคุม ป้องกันโรคทั้งในประเทศและประเทศอื่นที่มีโรคนี้ซุกชุม ร่วมมือในด้านการวิจัยและการสอนทั้งภาคทฤษฏีและภาคปฏิบัติแก่นักศึกษาทุกระดับ ตั้งแต่ระดับต่ำกว่าปริญญาจนถึงปริญญาดุษฎีบัณฑิต ให้บริการตรวจรักษาและแนะนำแก่คนไข้โรคธาลัสซีเมีย รวมทั้งครอบครัว และศึกษาวิจัยเพื่อวางแผนการควบคุมโรคนี้ในระดับจังหวัดและระดับประเทศ
  • thumb
    17 ส.ค. 2565
    เติมเต็มสุขภาวะผู้ใช้แรงงาน จัดอบรมออนไลน์ตรวจสมรรถภาพการได้ยิน ในงานอาชีวอนามัย โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
    "เติมเต็มสุขภาวะผู้ใช้แรงงาน จัดอบรมออนไลน์ตรวจสมรรถภาพการได้ยิน ในงานอาชีวอนามัย โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย" องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ได้กำหนดให้เสียงที่ดังเกิน 85 dBA (เดซิเบลเอ) เป็นเสียงที่เป็นอันตราย จึงกลายเป็นที่มาของข้อกำหนด เพื่อสุขภาวะของผู้ใช้แรงงานทั่วโลก ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน(SDGs) แห่งสหประชาชาติ ข้อที่ 3 ที่ว่าด้วยเรื่องสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี ซึ่งครอบคลุมเรื่องการลดการป่วยจากมลพิษต่าง ๆ รองศาสตราจารย์ ดร.อรวรรณ แก้วบุญชู รองคณบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ และอาจารย์ประจำภาควิชาการพยาบาลสาธารณสุข คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้สอนหลักรายวิชาออนไลน์ "การตรวจสมรรถภาพการได้ยินในงานอาชีวอนามัย” ซึ่งเปิดให้ผู้เกี่ยวข้อง ได้แก่ พยาบาลอาชีวอนามัย และเจ้าหน้าที่สุขภาพจากหน่วยงานต่าง ๆ ทั่วประเทศ เข้ารับการอบรมได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ผ่าน MUx โดยได้กล่าวถึงประเด็นที่น่าเป็นห่วงเกี่ยวกับเรื่องสุขภาวะแรงงานไทยว่าแม้กฎหมายแรงงานไทย ได้กำหนดให้นายจ้างจัดให้มีการเฝ้าระวังการได้ยิน โดยให้ดำเนินการทดสอบสมรรถภาพการได้ยินแก่ลูกจ้างอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง แต่พบว่ายังไม่ได้มีการกำหนดมาตรฐานคุณสมบัติของผู้ทดสอบแต่อย่างใด มหาวิทยาลัยมหิดล โดย คณะสาธารณสุขศาสตร์ ถือเป็นภารกิจสำคัญในการริเริ่มจัดอบรมออนไลน์ที่ได้มาตรฐานในเรื่องดังกล่าว จุดเด่นของรายวิชาออนไลน์ "การตรวจสมรรถภาพการได้ยินในงานอาชีวอนามัย" นอกจากการเปิดอบรมโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายแล้ว ยังได้ออกแบบให้มีครบทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ ซึ่งในภาคทฤษฎีนั้น ได้มีการสาธิตให้ผู้เรียนสามารถฝึกปฏิบัติตามได้โดยง่าย และหลังจากจบบทเรียนทั้งหมดแล้ว ยังเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ส่งคลิปการฝึกปฏิบัติกลับมาให้ผู้สอนประเมิน และสามารถรับประกาศนียบัตร E-Certificate เมื่อผ่านเกณฑ์ที่กำหนดอีกด้วย
  • thumb
    17 03 04
    25 ก.ค. 2565
    โครงการ MFA – MU Capacity Building for Medical and Health Science Education Hub
    มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับกรมความร่วมมือระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ ตกลงทำบันทึกความเข้าใจ ในปี ๒๕๖๔ เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาศักยภาพบุคลากรทางการแพทย์และวิทยาศาสตร์สุขภาพของมหาวิทยาลัยมหิดลด้วยเทคนิควิธีการที่ทันสมัยผ่านผู้เชี่ยวชาญจากสถาบันระดับโลก (Train the Trainers) ซึ่งนำไปสู่การถ่ายทอดองค์ความรู้ที่ได้รับจากผู้เชี่ยวชาญต่อไปยังบุคลากรในภาคส่วนนั้นๆ ทั้งในการรักษาพยาบาลประชาชนในประเทศและการกระจายองค์ความรู้สู่การพัฒนาทางการแพทย์นอกประเทศ (Training the Others) ในประเทศกำลังพัฒนาโดยเฉพาะในกลุ่ม CLMV ตลอดจนเป็นการสร้างเครือข่ายทางการแพทย์ในระดับภูมิภาคและนานาชาติ เพื่อส่งเสริมยุทธศาสตร์ทางการทูตเพื่อการพัฒนา (Development Diplomacy) และการทูตเชิงเวชการ (Medical Diplomacy) โดยความร่วมมือดังกล่าวสอดคล้องกับ Sustainable Development Goals ในด้าน Partnerships for the goals ตอบโจทย์ยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยในด้าน Education for Sustainability เนื่องจากมุ่งเน้นในด้านของการพัฒนาองค์ความรู้ของบุคลากรด้านการแพทย์ในประเทศไทย ซึ่งจะเป็นผู้ทำหน้าที่ส่งต่อองค์ความรู้ไปยังประเทศที่กำลังพัฒนาต่อไป ซึ่งภายใต้ความร่วมมือดังกล่าวมีโครงการจาก ๓ ส่วนงาน
  • thumb
    03 16 17
    7 ก.ค. 2565
    โครงการวัคซีนเพื่อรับมือปัญหา: การศึกษาภูมิคุ้มกันในโลกดิจิทัล (Digital Resilience) และ Cyberbullying ของกลุ่มนักเรียนระดับมัธยมศึกษาใน 5 ภูมิภาคของประเทศไทย
    ปัญหาการรังแกกันในพื้นที่ออนไลน์ (Cyberbullying) ในกลุ่มเยาวชนอยู่ในภาวะที่น่าเป็นห่วง จากงานวิจัยพบว่าเยาวชนเป็นผู้กระทำ ร้อยละ 43 เป็นผู้ถูกกระทำ ร้อยละ 49 และเป็นผู้พบเห็น ถึงร้อยละ 76 ซึ่งรูปแบบความรุนแรงที่พบมากที่สุด คือ การถูกด่าทอ โจมตี ข่มขู่ออนไลน์ ซึ่งจากการวิจัยยังพบว่าพฤติกรรมการรังแกในพื้นที่ออนไลน์มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมเสี่ยงต่าง ๆ มากมาย เช่น ผู้ถูกรังแกมีแนวโน้มที่จะมีเกรดเฉลี่ยน้อย มีแนวโน้มที่จะขาดเรียน ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ มีเพศสัมพันธ์ที่ไม่มีการป้องกัน อยู่ในภาวะซึมเศร้าที่สูงกว่ากลุ่มที่ไม่ถูกรังแก และจากการศึกษาหลาย ๆ ชิ้นก็สะท้อนให้เห็นอย่างชัดเจนว่าการถูกรังแกในพื้นที่ออนไลน์นั้น นำไปสู่ผลกระทบในมิติสุขภาพ คือ ทำให้เกิดความเครียด วิตกกังวล หดหู่ และไม่สบายใจ ความรู้สึกเหล่านี้ก็จะส่งผลต่อสุขภาพในระยะยาว อาจทำให้นอนไม่หลับ คิดมาก และในกรณีที่ร้ายแรงมาก อาจนำไปสู่การฆ่าตัวตายได้ในที่สุด จากสถานการณ์ดังกล่าวทำให้เห็นถึงความไม่ปลอดภัยของโลกออนไลน์ที่สามารถคุกคามสุขภาวะของผู้ใช้สื่อออนไลน์ได้ ถ้าผู้ใช้เหล่านั้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเยาวชนที่ขาดภูมิคุ้มกันในการใช้สื่ออย่างปลอดภัย การรับมือกับความไม่ปลอดภัยในโลกออนไลน์รูปแบบต่าง ๆ จำเป็นต้องใช้องค์ความรู้ ในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น การส่งเสริมให้เยาวชนแค่มี “ทักษะการรู้เท่าสื่อ” เพียงอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอแล้วสำหรับโลกยุคดิจิทัลที่มีความสลับซับซ้อนมากขึ้นในปัจจุบัน การมีภูมิคุ้มกันในโลกดิจิทัล (Digital Resilience) จึงอาจจะเป็นในวิธีการใหม่ที่จะช่วยส่งเสริมให้เยาวชนเกิดการใช้สื่อออนไลน์ได้อย่างปลอดภัยและสร้างสรรค์ และสร้างให้พวกเขาเป็นพลเมืองดิจิทัลที่มีวัคซีนที่จะสามารถรับมือกับปัญหาความไม่ปลอดภัยในโลกออนไลน์ได้ ซึ่งทักษะที่สำคัญของคนที่มีภูมิคุ้มกันในโลกดิจิทัล คือ ทักษะการคิดวิเคราะห์ มีความรับผิดชอบต่อสังคมออนไลน์ รู้วิธีและแหล่งที่จะขอความช่วยเหลือ รู้จักที่จะปกป้องผู้อื่น และรู้กฎหมายสื่อออนไลน์
  • thumb
    1 ก.ค. 2565
    การบริหารยาเคมีบำบัดทางหลอดเลือดดำส่วนกลางที่บ้าน Ramathibodi Home Chemotherapy Model (RHCM)
    การบริหารยาเคมีบำบัดทางหลอดเลือดดำส่วนกลางที่บ้าน เพิ่มประสิทธิผลการรักษา ลดค่าใช้จ่าย สร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับผู้ป่วย ยกระดับระบบการดูแลรักษาผู้ป่วยมะเร็งของประเทศไทย เพื่อความยั่งยืนทางด้านสุขภาพของประชากรไทย
  • thumb
    30 มิ.ย. 2565
    การเฝ้าระวังควบคุมป้องกันโรค COVID-19 5 ชุมชน หน้าคณะสาธารณสุขศาสตร์ ถอดบทเรียน: Factory Isolation (FAI)
    การเฝ้าระวังควบคุมป้องกันโรค COVID-19 5 ชุมชน หน้าคณะสาธารณสุขศาสตร์ ถอดบทเรียน: Factory Isolation (FAI)
  • thumb
    27 มิ.ย. 2565
    "อาหารริมบาทวิถี" ต้องพัฒนาอย่างไร เพื่อสุขภาพคนเมือง
    อาหารริมบาทวิถี หรือ “สตรีทฟู้ด” (Street Food) ในประเทศไทยมีเอกลักษณ์และขึ้นชื่อในเรื่องความหลากหลาย และเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตประชาชนในกรุงเทพมหานคร ปัจจุบันขยายตัวไปยังจังหวัดต่าง ๆ ทั่วประเทศ โดยเฉพาะเมืองที่เป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวทั้ง 4 ภาคของประเทศ
  • thumb
    23 มิ.ย. 2565
    พัฒนาอาหารริมบาทวิถี สะอาด ปลอดภัย ลดหวาน-มัน-เค็ม เพิ่มใยอาหาร กระตุ้นผู้ขายใส่ใจสุขภาพ
    สมาคมโภชนาการแห่งประเทศไทยฯ – สสส. ร่วมพัฒนาอาหารริมบาทวิถี สะอาด ปลอดภัย ลดหวาน-มัน-เค็ม เพิ่มใยอาหาร กระตุ้นผู้ขายใส่ใจสุขภาพ เปิด 3 พิกัด ร้านสตรีทฟู้ด ย่านซอยอารีย์ฟู้ดทรัค กทม. ตลาดราชบุตร จ.อุบลราชธานีเกิน 60% ปรับเพิ่มคุณค่าโภชนาการ
  • thumb
    03 12
    30 มิ.ย. 2565
    ห้องปฏิบัติการประเมินความปลอดภัยทางอาหารและชีวภาพ (การตรวจวิเคราะห์สารตกค้างยาฆ่าแมลง ในผัก ผลไม้)
    คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้เริ่มโครงการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการทางเทคนิคการแพทย์ “ผักและผลไม้ที่ปลอดภัยเพื่อครัวโลก” มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2556 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อมุ่งส่งเสริมสุขภาพของประชาชนในการบริโภคอาหารที่มีความปลอดภัยจากสารตกค้างยาฆ่าแมลง หรือสารกำจัดศัตรูพืช ที่อาจปนเปื้อนอยู่ในผักและผลไม้
  • thumb
    03
    27 มิ.ย. 2565
    โครงการบริการผู้ป่วยติดเตียงแบบต่อเนื่องโดยสหสาขาวิชาชีพ
    ปัจจุบันมีผู้ป่วยสูงอายุหรือผู้ป่วยติดเตียงที่ไม่สามารถเดินทางมารับการรักษาที่โรงพยาบาลในการดูแลสุขภาพช่องปากและฟันได้ และมีจำนวนมากขึ้นทุกๆปี อันเนื่องมาจากผู้ดูแลหรือญาติไม่สะดวกในการรับ-ส่ง ในการเดินทางมาที่โรงพยาบาล ขณะเดียวกันผู้ป่วยและญาติยังให้ความสำคัญและให้ความสนใจในการดูแล สุขภาพช่องปากและฟันเพราะสุขภาพช่องปากและฟันเป็นดัชนีชี้วัดความแข็งแรงของสุขภาพโดยรวมของผู้ป่วย โรงพยาบาลทันตกรรมมหาจักรีสิรินธร คณะทันตแพทยศาสตร์ ม.มหิดล ร่วมกับศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก เห็นความสำคัญในการดูแลสุขภาพช่องปากและการรักษาที่มีคุณภาพและปลอดภัย ของผู้ป่วยที่มีปัญหาในการเดินทางเข้ามารับบริการในโรงพยาบาล และเพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกแก่ผู้ป่วยและญาติ รพ.ทันตกรรมฯที่มีความพร้อมทั้งทางด้านบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถ อุปกรณ์เครื่องมือ ครุภัณฑ์ที่จะให้การดูแลผู้ป่วยได้เป็นอย่างดี มีมาตรฐานและปลอดภัย มีการใช้เทคโนโลยีการตรวจและวินิจฉัยโรคในช่องปากโดยการใช้กล้องตรวจฟัน และถ่ายภาพในช่องปากด้วยระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อการบริการให้ความรู้ การบริบาลทางการแพทย์และทางทันตสุขภาพ แก่ผู้ป่วยที่ไม่สามารถเดินทางมาโรงพยาบาลได้ รวมทั้งสามารถนำมาพัฒนาให้เป็นระบบ Teleconference เพื่อการรักษาผู้ป่วยร่วมกับฝ่ายการแพทย์ได้อีกด้วย อาทิ การตรวจสภาพช่องปากและการดูแลสภาพช่องปากของ ผู้ป่วยติดเตียงด้วยกล้องตรวจในช่องปาก พร้อมระบบคอมพิวเตอร์ ที่สามารถนำผลข้อมูลมาเก็บ และนำข้อมูลเข้าสู่ระบบสารสนเทศ เพื่อการวิเคราะห์ วิจัย และใช้เป็นแนวทางการรักษาต่อไป
จำนวนทั้งหมด 99 รายการ