การวิจัยชายฝั่งทะเลไทยจะเป็นประโยชน์ต่อรัฐบาลและผู้กำหนดนโยบาย ซึ่งจำเป็นต้องมีการวางแผนสำหรับผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และเป็นไปเพื่อการพัฒนากลยุทธ์ที่มีความยืดหยุ่นเพื่อจัดการกับผลกระทบต่อระบบธรรมชาติและสังคม
การวิจัยชายฝั่งทะเลไทยจะเป็นประโยชน์ต่อรัฐบาลและผู้กำหนดนโยบาย ซึ่งจำเป็นต้องมีการวางแผนสำหรับผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และเป็นไปเพื่อการพัฒนากลยุทธ์ที่มีความยืดหยุ่นเพื่อจัดการกับผลกระทบต่อระบบธรรมชาติและสังคม
ในประเทศไทย ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งและอุทกภัยจำเป็นต้องได้รับการแก้ไขโดยด่วน เนื่องจากปัญหาดังกล่าวส่งผลกระทบต่อผู้คนกว่า 11 ล้านคนที่อาศัยอยู่ในเขตชายฝั่งทะเล (17% ของประชากรทั้งประเทศ)
กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ของรัฐบาลไทย ได้คำนวณว่าการกัดเซาะในแต่ละปีทำให้ประเทศไทยสูญเสียพื้นที่ชายฝั่งราว ๆ 30 ตารางกิโลเมตร ขณะที่สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมคาดการณ์ว่าระดับน้ำทะเลจะเพิ่มขึ้นอีก 1 เมตรในอีก 40-100 ปีข้างหน้า ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อพื้นที่ชายฝั่งอย่างน้อย 3,200 ตารางกิโลเมตรจากการกัดเซาะและอุทกภัย ซึ่งอาจทำให้ประเทศไทยต้องสูญเงินกว่า 3 พันล้านบาท (หรือเกือบ 70 ล้านปอนด์) ในระยะเวลาดังกล่าว
โครงการชายฝั่งทะเลไทยนั้นตอบสนองต่อความต้องการเร่งด่วนในการเพิ่มความยืดหยุ่นและศักยภาพในการปรับตัวของชุมชนชายฝั่ง ผ่านการดำเนินงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์เพื่อกระตุ้นและส่งเสริมการกำกับดูแลที่มีประสิทธิภาพและคุ้มค่ามากขึ้นจากหน่วยงานภาครัฐและองค์กรต่าง ๆ
โครงการชายฝั่งทะเลไทยมีเป้าหมายเพื่อ:
- สร้างความเชื่อมโยงเชิงสาเหตุระหว่างการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การกัดเซาะชายฝั่ง และอุทกภัย
- การใช้ข้อมูลเพื่อประเมินปฏิสัมพันธ์ของกระบวนการทางธรรมชาติและสังคมเพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นของชุมชนชายฝั่งและความยั่งยืนในอนาคต
โครงการมุ่งเน้นไปที่พื้นที่ศึกษา 2 แห่ง ได้แก่ จังหวัดนครศรีธรรมราชและจังหวัดกระบี่ ผ่านการคัดเลือกจากข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการกัดเซาะชายฝั่งของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ซึ่งพื้นที่ดังกล่าวมีลักษณะทางธรรมชาติและทางเศรษฐกิจและสังคมที่แตกต่างกัน
โครงการชายฝั่งทะเลไทยใช้แนวทางแบบสหวิทยาการ โดยบูรณาการวิทยาศาสตร์ภูมิอากาศ ธรณีสัณฐานวิทยา เศรษฐศาสตร์สังคม วิทยาศาสตร์สุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี และเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศเพื่อพัฒนาความเข้าใจเกี่ยวกับอันตรายจากอุทกวิทยา ผลกระทบทางกายภาพและทางเศรษฐกิจและสังคม สุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีของประเทศไทย เขตชายฝั่ง และการใช้ธรรมาภิบาลและการบริหารจัดการในระดับองค์กรเพื่อลดผลกระทบ
คณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบสถานการณ์ในอนาคตของอุทกวิทยาที่เีก่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ธรณีสัณฐานชายฝั่ง การเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน และการประเมินและสร้างแบบจำลองผลกระทบ (การกัดเซาะชายฝั่ง น้ำท่วมในแม่น้ำ-ทะเล ผลกระทบต่อสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี) ตลอดจนการปรับตัวของประชากรและชุมชน และสังคม - สถานการณ์เศรษฐกิจสำหรับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (เมืองที่ยั่งยืน คุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ ธรรมาภิบาล) ทีมนักวิจัยวิทยาศาสตร์สังคมจากสถาบันวิจัยในสหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา และไทย ที่มีความเชี่ยวชาญได้ดำเนินงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดเคียงข้างไปกับรัฐบาลไทย สหราชอาณาจักร และพันธมิตรในอุตสาหกรรมของประเทศไทย เพื่อผลลัพธ์จากการดำเนินงานที่เป็นไปตามนโยบายและแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง
การวิจัยชายฝั่งทะเลไทยจะเป็นประโยชน์ต่อรัฐบาลและผู้กำหนดนโยบายที่ต้องวางแผนรับมือผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และยังต้องพัฒนากลยุทธ์ที่มีความยืดหยุ่นในการจัดการกับผลกระทบต่อระบบธรรมชาติและสังคม การดำเนินงานจะช่วยสร้างเครือข่ายที่เชื่อมโยงหน่วยงานรัฐบาลที่มีหน้าที่ดูแลผลประโยชน์ทางธุรกิจ/อุตสาหกรรมในเขตชายฝั่งทะเลของประเทศไทย ทั้งด้านการท่องเที่ยว ด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และด้านอุตสาหกรรมและธุรกิจที่เกี่ยวข้อง เพื่อประเมินความต้องการและพัฒนาความเข้าใจเกี่ยวกับความยืดหยุ่นของชายฝั่งเพื่อการลงทุนเชิงกลยุทธ์และการบริหารจัดการ
ประชาชนทั่วไปที่อาศัยอยู่ในชุมชนชายฝั่งของประเทศไทยไม่ว่าจะถาวรหรือชั่วคราวหรือเดินทางมาเพื่อทำงานหรือพักผ่อนจะได้รับประโยชน์จากองค์ความรู้ที่ทันสมัยและความตระหนักต่อปัญหา ตลอดจนกระบวนการเรียนรู้เพื่อการแก้ไขปัญหาดังกล่าว
ผลลัพธ์ของโครงการชายฝั่งทะเลไทยจะเป็นประโยชน์ต่อชุมชนชายฝั่งทะเลในวงกว้างในพื้นที่ทุกจังหวัดชายฝั่งทะเลของไทย ผ่านการมีส่วนร่วมในการสร้างความเข้มแข็ง จากการกำกับดูแลที่มีประสิทธิภาพและคุ้มค่ามากขึ้นโดยหน่วยงานของทั้งทางภาครัฐและองค์กรต่าง ๆ
วัตถุประสงค์
การวิจัยโครงการชายฝั่งทะเลไทยจัดขึ้นโดยมีจุดมุ่งหมายหลัก 3 ประการ โดยแต่ละเป้าหมายมีชุดของวัตถุประสงค์เฉพาะ: จุดมุ่งหมายหลัก 1. เพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นของชุมชนชายฝั่งและความยั่งยืนในอนาคตภายใต้สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (WP 5 และ 6) จุดมุ่งหมายหลัก 2. เพื่อใช้การเชื่อมโยงเชิงปริมาณที่ได้รับการพัฒนาขึ้นจาก WP 1 และ 2 ในการประเมินปฏิสัมพันธ์ของกระบวนการทางธรรมชาติและสังคมภายใต้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในปัจจุบันและอนาคต (WP 3, 4, 5) จุดมุ่งหมายหลัก 3. เพื่อสร้างการเชื่อมโยงเชิงปริมาณระหว่างการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การกัดเซาะชายฝั่ง และอุทกภัย (WP 1 และ 2)
ชุดงานที่ 1: การประเมินขั้นพื้นฐานเงื่อนไขขอบเขตทางอุทก-อุตุนิยมวิทยา
ชุดงานที่ 2: การสร้างแบบจำลองสถานการณ์และการประเมินอันตราย
ชุดงานที่ 3: การประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคม กลไกการเผชิญปัญหาและความยืดหยุ่น
ชุดงานที่ 4: การประเมินความเปราะบางชายฝั่ง
ชุดงานที่ 5: ชุมชนชายฝั่ง ที่มีธรรมาภิบาล ความยืดหยุ่นและยั่งยืน
ชุดงานที่ 6: ผลกระทบในมิติของการมีส่วนร่วมของประชาชน การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารและปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้กำหนดนโยบายและชุมชนชายฝั่ง
Foreign Government Agencies:
- Egypt's Ministry of Environment
- Key Laboratory Of River and Coastal engineering, Vietnam
- Vietnam Institute of Geosciences and Mineral Resources (VIGMR)
- Science and Technology Division in Vietnam
International organizations:
- Center for Biodiversity Conservation and Endangered Species
- GIZ
- Green Climate Fund , United Nations Development Programme
- Myanmar KOEI International Co. Ltd.
- Vietnam National Space Center (VNSC)
Government agencies in Thailand:
- Department of Disaster Prevention and Mitigation, Thailand
- Department of Marine and Coastal Resources
- Department of Mineral Resources
- Department of Land Development
- Environmental Research and Training Center (ERTC)
- Hydro – Informatics Institute (HII)
- National Research Council of Thailand
- Office of Natural Resources and Environmental Policy and Planning
- Office of National Higher Education Science Research and Innovation Policy Council
- Office of the National Economic and Social Development Council
- Royal Irrigation Department
- Thai Meteorological Department
- GISTDA
Academics:
- BOKU, Austria
- Duy Tân university, Vietnam
- Hanoi University of Mining and Geology, Vietnam
- Hanoi University of Natural Resources and Environment (HUNRE)
- Madhyanchal Professional University, India
- Nagasaki University, Japan
- National Central University, Taiwan
- Vietnam Maritime University (VMU)
- VNU Hanoi University of Science
- University of Manchester, UK
Academics in Thailand:
- Chulalongkorn University
- Coastal Oceanography and Climate Change Research Center (COCC)
- Department of Biology, Faculty of Science, Ramkhamhaeng University
- Department of Geography, Faculty of Humanities and Social Sciences, Mahasarakham University, Maha Sarakham, Thailand
- Nakhon Ratchasima Rajabhat University
- Thammasat University
Regional organizations in Thailand:
- North Andaman Network Foundation, Thailand
- Provincial Office of Natural Resources and Environment Nakhon Si Thammarat
- The Council of Scientific and Technological Associations of Thailand (COSTAT)