Good Health and Well-Being

สร้างหลักประกันการมีสุขภาวะที่ดี และส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีสำหรับทุกคนในทุกช่วงวัย

มหาวิทยาลัยมหิดลมีความเข้มแข็งทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ โดยได้ผลิตผลงานวิจัยและนวัตกรรมที่มีส่วนช่วยในการพิจารณาการรักษาโรคและให้ความรู้ทางด้านสุขภาพแก่ประชาชน และในแต่ละปีมหาวิทยาลัยได้ผลิตบัณทิตทางการแพทย์อย่างต่อเนื่อง และมีโรงพยาบาลในสังกัดถึง 8 แห่งที่พร้อมให้การดูแลรักษาประชาชน ครอบคลุมในทุกโรค โดยได้ให้การรักษาผู้ป่วยในระยะเวลา 2 ปี (ตั้งแต่ พ.ศ. 2563 - 2564) แบ่งเป็นผู้ป่วยนอก 11,766,282 ราย ผู้ป่วยใน 284,931 ราย ผู้ป่วยทันตกรรม 1,094,908 ราย ซึ่งทางมหาวิทยาลัยได้ให้การสนับสนุนค่ารักษาพยาบาลแก่ผู้ป่วยที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ ระหว่างปี พ.ศ. 2563 - 2564 ไปกว่า 4,213,371,169.45 บาท ช่วยลดความเหลื่อมล้ำและเพิ่มสิทธิการเข้าถึงการรักษาพยาบาลให้ทั่วถึงยิ่งขึ้น นอกจากการรักษาพยาบาล มหาวิทยาลัยยังมีศูนย์วิจัยโรคเฉพาะทางหลากสาขา เช่น ศูนย์โรคหลอดเลือดสมอง ศูนย์ไตเทียม ศูนย์มะเร็ง เป็นต้น ทางมหาวิทยาลัยยังมีส่วนสำคัญในการผลักดันโครงการต่าง ๆ ที่ช่วยส่งเสริมการสร้างสุขภาพที่แข็งแรง ทั้งในระดับชุมชนและในระดับประเทศ รวมทั้งเป็นผู้จัดกิจกรรมในการให้ความรู้เกี่ยวกับโรคชนิดต่าง ๆ เช่น กิจกรรมถ่ายทอดสดการให้ความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์ในวันเอดส์โลก กิจกรรมงานสัปดาห์วันมะเร็งโลก กิจกรรมวันโรคอ้วน และแนะนำวิธีการออกกำลังกายที่ถูกต้อง เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีศูนย์ให้คำปรึกษาปัญหาทางด้านสุขภาพจิตให้กับนักศึกษาและประชาชนทั่วไป และ มีคลินิกวัยทีนที่พร้อมให้คำปรึกษาเยาวชนเกี่ยวกับปัญหาต่าง ๆ เมื่อเข้าสู่วัยรุ่น เช่น ปัญหาการติดยาเสพติดปัญหาการมีเพศสัมพันธ์ พร้อมบริการฟิตเนสและสนามกีฬาหลายประเภทสำหรับนักศึกษาและบุคลากร ในมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดลเป็นมหาวิทยาลัยปลอดบุหรี่ มีการรณรงค์ให้ประชาชนเห็นถึงผลเสีย ของการสูบบุหรี่และเลิกสูบบุหรี่เพื่อสุขภาพที่แข็งแรง ในระดับกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน มหาวิทยาลัยยังเป็นผู้นำในการขับเคลื่อนกิจกรรมส่งเสริมสุขภาวะ ในฐานะผู้นำองค์ความรู้ และเป็นต้นแบบสำหรับมหาวิทยาลัยสมาชิกเครือข่ายส่งเสริมสุขภาพในเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน (Asean University Network – Health Promotion Network : AUN – HPN) อีกด้วย

Highlights
  • thumb
    03
    29 ก.ย. 2566
    โครงการสร้างสุขปลูกจิต พิชิตโรคภัยทุกกลุ่มวัย ในชุมชนวัดไทรย์ อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์
    ปัญหาทางด้านสุขภาพจิตและการเจ็บป่วยทางจิต กลายเป็นอีกปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศ จากการสำรวจขององค์การอนามัยโลกพบว่าในประชากร 4 คนจะมีผู้มีปัญหาสุขภาพจิต 1 คน และอีก 2 คน เป็นผู้ได้รับผลกระทบจากปัญหาสุขภาพจิต เช่น เป็นญาติพี่น้อง คนในครอบครัว เป็นต้น (WHO, 2020)
  • thumb
    26 ก.ย. 2566
    การบริหารจัดการศูนย์อาหารคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
    คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ให้ความสำคัญต่อการเข้าถึงอาหารที่ปลอดภัยและมีคุณค่าทางโภชนาการ จึงจัดให้มีศูนย์อาหารคณะฯ ให้บริการแก่นักศึกษา บุคลากรและประชาชนทั่วไป โดยมีนโยบายเป็นศูนย์อาหารที่สะอาด อร่อย มีคุณภาพ ราคาเหมาะสม และดีต่อสุขภาพ
  • thumb
    03 11 17
    11 มี.ค. 2565
    ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ (ศจย.)
    ศูนย์กลางด้านวิชาการเพื่อการควบคุม ป้องกัน และแก้ไขปัญหาการบริโภคยาสูบของประเทศไทย
  • thumb
    03 02 17
    21 ก.ย. 2566
    ศูนย์สุขภาพชุมชนซอยสวนเงิน
    กระบวนการพัฒนาสร้างเสริมสุขภาพประชาชนแบบบูรณาการร่วมกับชุมชน ลดปัจจัยเสี่ยงและเพิ่มคุณภาพชีวิตที่ดี เพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน
  • thumb
    11 มี.ค. 2565
    โรงเรียนการบริหารงานโรงพยาบาล
    หลักสูตรการบริหารโรงพยาบาล CEO : Hospital Management for Chief Executive Officer เป็นหลักสูตรพัฒนาผู้บริหารโรงพยาบาลให้รอบรู้ มีภาวะผู้นำ เพื่อบริหารงานในองค์การที่มีการเปลี่ยนแปลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • thumb
    03 10
    11 ต.ค. 2565
    คลินิกเพศหลากหลาย (Gen V Clinic) คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
    คลินิกเพศหลากหลาย (Gender Variation Clinic: Gen V Clinic) คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ให้บริการกลุ่มคนเพศหลากหลายทุกช่วงวัย โดยแพทย์ผู้เชี่ยใชาญและทีมสหสาขาวิชาชีพ
  • thumb
    03 04 17
    13 พ.ค. 2566
    โครงการสนับสนุนการมีส่วนร่วมในการจัดการระบบสุขภาพชุมชนบางกอกน้อย ร่วมกับคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
    การพัฒนา “ฐานข้อมูลสุขภาพของชุมชน” เครื่องมือสำหรับพัฒนากิจกรรม โครงการ และองค์ความรู้ที่ตอบสนองต่อสถานการณ์ระบบสุขภาพชุมชน เพื่อยกระดับการขับเคลื่อน และเชื่อมโยงกลไกการบริหารในระบบสุขภาพ
  • thumb
    03
    1 ก.ย. 2566
    การพัฒนาโมบายแอปพลิเคชันเพื่อสนับสนุนให้ออกกำลังกายอย่างถูกต้องและเพิ่มคุณภาพชีวิตให้แก่ผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อม: การวิจัยทางคลินิก
    โรคข้อเข่าเสื่อมเป็นปัญหาสำคัญของผู้สูงอายุ เกิดจากความเสื่อมของกระดูกอ่อนบริเวณข้อเข่าและมีการอักเสบของเนื้อเยื่อบริเวณข้อเข่า ทำให้เกิดความเจ็บปวดและอาจต้องได้รับการผ่าตัดซึ่งมีค่าใช้จ่ายสูง หากผู้ป่วยมาพบแพทย์ด้วยอาการปวดเข่า ข้อเข่าผิดรูป หรือมีปัญหาเรื่องการเดิน อาจหมายถึงความเสื่อมของข้อเข่าที่เป็นมานานหลายปี ดังนั้นจึงมีความพยายามอย่างต่อเนื่องที่จะวินิจฉัยความเสื่อมตั้งแต่ยังไม่แสดงอาการ โดยอาจใช้แบบสอบถามไปจนถึงเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ ตลอดจนใช้วิธีการต่าง ๆ ที่จะช่วยชะลอความเสื่อมของกระดูกอ่อนบริเวณข้อ เช่น การลดน้ำหนัก และการออกกำลังกายด้วยท่าที่เหมาะสม (ผู้ป่วยหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าก็ควรออกกำลังกายเช่นกัน) ในงานวิจัยนี้มีการพัฒนาโมบายแอปพลิเคชันเพื่อช่วยให้ผู้ป่วยออกกำลังกายอย่างถูกต้อง ระยะเวลาการออกกำลังกายในแต่ละครั้งเหมาะสม ผลการวิจัยพบว่า โมบายแอปพลิเคชันทำให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยดีขึ้นและผู้ป่วยพึงพอใจต่อวิธีการนี้ ในอนาคตอาจพัฒนาต่อยอด เช่น ใช้ปัญญาประดิษฐ์เพื่อออกแบบท่าออกกำลังกายที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยเฉพาะรายต่อไป
  • thumb
    10 มี.ค. 2565
    มาตรฐาน MU Organic
    เกิดมาตรฐานข้าวอินทรีย์มหิดล ที่เกิดจากการร่วมคิด ระหว่างชาวนาผู้ปลูกข้าว ผู้บริโภค และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง จนได้ข้อสรุปในการจัดทำมาตรฐาน เพื่อใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติเดียวกัน เพื่อแก้ปัญหาการเข้าถึงมาตรฐานของชาวนาอินทรีย์เพื่อการรับรองการผลิต และแก้ปัญหาความไม่มั่นใจของผู้บริโภคในการตัดสินใจเลือกซื้อข้าวอินทรีย์
  • thumb
    21 ต.ค. 2565
    โครงการฟาร์มสร้างสุขรามาธิบดี
    ฟาร์มสร้างสุขรามาธิบดี เกษตรอินทรีย์วิถีธรรมชาติ เพื่อผู้ป่วยและประชาชนคนไทย ได้ตระหนักและเรียนรู้ต้นทางของการดูแลสุขภาพแบบครบวงจร
  • thumb
    03 17
    8 ส.ค. 2566
    โครงการ Service Solution Design Competition
    โครงการ Service Solution Design Competition เป็นโครงการที่เกิดจากความร่วมมือระหว่างวิทยาลัยนานาชาติ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล และกองวิเทศสัมพันธ์ เพื่อพัฒนาและบูรณาการการเรียนการสอนเชิงสหวิทยาการที่สอดคล้องกับเป้าหมายเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน SDGs 3 เพื่อการมีสุขภาวะที่ดี (Good Health and Well-being)
จำนวนทั้งหมด 126 รายการ