โปรแกรมบูรณาการเพื่อเยียวยาและป้องกันประสบการณ์ไม่พึงประสงค์ในวัยเด็ก (ภายใต้แผนงานวิจัยการพัฒนาสุขภาพ พัฒนาการ การเรียนรู้เด็กทั้งมวลและนำสู่การขับเคลื่อนนโยบาย)

detail

โครงการวิจัยนี้ศึกษาผลกระทบจากการได้รับประสบการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ในวัยเด็ก และความสามารถในการก้าวผ่านเหตุการณ์สะเทือนใจ และจัดโปรแกรมบูรณาการฯ เพื่อส่งเสริมความเข็มแข็งและศักยภาพทางจิตใจ และสุขภาพจิตของกลุ่มผู้ปกครองที่ได้รับประสบการณ์ที่ไม่พึงประสงค์

           ประสบการณ์ในวัยเด็กที่ไม่พึงประสงค์ (ACEs) หมายถึง ประสบการณ์ที่เด็กต้องเผชิญต่อในช่วงวัยเด็กที่มีความสำคัญหรือเป็นสาเหตุของความเครียดที่มีความรุนแรงและพบบ่อย อาทิเช่น การถูกละเลย การละเมิด ความรุนแรงระหว่างเด็กและผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเด็ก เพื่อนร่วมชุมชน หรือพฤติกรรมเสี่ยงในครอบครัว เช่น การบริโภคแอลกอฮอล์ หรือสารเสพติด (WHO, 2020; อัฉริยา อภิวัฒนกุล และปริชวัน จันทร์ศิริ, 2020) ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ ประเวศ วะสี รับรู้ถึงความสำคัญของการป้องกันและแก้ไขปัญหาสถานการณ์ 'ปริแยกแตกร้าว' ที่เด็กและเยาวชนต้องเผชิญหน้าในประสบการณ์ชีวิตที่ไม่พึงประสงค์ (Foundation for children, 2566) เมื่อเด็กและเยาวชนต้องเผชิญหน้ากับสถานการณ์ที่ไม่พึงประสงค์โดยที่ไม่ทันตั้งตัวหรือไม่ได้รับการปกป้องดูแล ส่งผลให้เด็กต้องปรับตัวหรือเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งอาจสร้างก่อให้เกิดความเครียดในระดับสูงอย่างฉับพลัน (acute stress)  การเผชิญกับสถานการณ์ที่ไม่พึงประสงค์อย่างต่อเนื่องยังส่งผลต่อความเครียดระยะยาว (chronic stress) (กรมสุขภาพจิต, 2564) ซึ่งอาจเป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลให้เกิดปัญหาสุขภาพจิต โรคซึมเศร้าและการฆ่าตัวตายได้

                                      

       โครงการวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโปรแกรมบูรณาการเพื่อการเยียวยาและป้องกันประสบการณ์ที่ไม่พึงประสงค์สำหรับครอบครัว เพื่อช่วยส่งเสริมความเข้มแข็งทางใจ และความสามารถในการก้าวผ่านเหตุการณ์สะเทือนใจในครอบครัวที่ได้รับประสบการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ในวัยเด็ก เพื่อเป็นการเยียวยาผู้ปกครอง ส่งเสริมความเข้มแข็งในครอบครัวและป้องกันไม่ให้เกิดการส่งต่อความรุนแรงไปยังเด็กและครอบครัว โดยพัฒนาโปรแกรมบูรณาการฯ ที่ใช้สติเป็นฐาน และผสมผสานกิจกรรมจากศาสตร์ต่างๆ อาทิเช่น ดนตรี ศิลปะ การเคลื่อนไหวร่างกาย นิเวศวิทยา เพื่อส่งเสริมสุขภาพจิตและช่วยในการรับมือกับประสบการณ์ที่ไม่พึงประสงค์

 

 

 

 
  • การเรียนรู้โดยใช้สติเป็นฐาน: ใช้กิจกรรมที่เน้นการตระหนักรู้อารมณ์และความคิดของตนเอง
  •   เช่น ส่งเสริมสติผ่านกิจกรรม การรับชมภาพและวิดีโอที่สร้างความตระหนักรู้ และฝึกฝนสติ
  • ดนตรี: ใช้ดนตรีและเนื้อเพลงเพื่อช่วยในการแสดงอารมณ์และประสบการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ ส่งเสริมความเข้าใจตนเองและสร้างสุขภาพจิต โดยเฉพาะสำหรับเด็ก วัยรุ่น และผู้ปกครองที่อาจเผชิญกับประสบการณ์ ACEs
  • ศิลปะ: ใช้ศิลปะเป็นเครื่องมือในการถ่ายทอดประสบการณ์ และความรู้สึก ผ่านกิจกรรมเช่นการระบายสี การวาดภาพ และการจัดวางวัสดุธรรมชาติ เพื่อสะท้อนความต้องการ ความคิด และความรู้สึก
  • การเคลื่อนไหวร่างกาย: ใช้การเคลื่อนไหวร่างกาย และการบริหารลมหายใจ โยคะและกิจกรรมการออกกำลังกาย เพื่อกลับมาทำความรู้สึกตัว และสร้างสมดุลทางกายและใจ
  • การมส่งเสริมสุขภาพจิต: ใช้กิจกรรมที่ส่งเสริมความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการอารมณ์ ความยืดหยุ่นทางจิตใจ และสร้างสัมพันธภาพในครอบครัว เพื่อส่งเสริมความเข้าใจตนเองและผู้อื่น
  • การเรียนรู้บนฐานธรรมชาติ: ใช้กิจกรรมจากธรรมชาติ นิเวศวิทยา เพื่อส่งเสริมสติและความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับธรรมชาติ ให้โอกาสในการเรียนรู้และรู้จักตนเองในสภาพแวดล้อมธรรมชาติ ซึ่งช่วยเพิ่มความสุขและลดความเครียดในชีวิต  

Partners/Stakeholders

โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์

ผู้ดำเนินการหลัก
อาจารย์ ดร.นนทสรวง กลีบผึ้ง หัวหน้าโครงการ รศ.ดร.วิมลทิพย์ มุสิกพันธ์ (ที่ปรึกษา), ดร.ธีรตา ขำนอง, ดร.สุพัทธ แสนแจ่มใส, ดร.ประภัสสร พวงสำลี, นพ.ศุภณัฐ วิโนทัย, อ.ธนวัฒน์ ธรรมโชติ, นางสาวกนกพร ดอนเจดีย์, ดร.จิรพล จิรไกรศิริ, ดร.เอกลักษณ์ คันศร (วิทยาเขตนครสวรรค์), ดร.วันพร คันธวิวรณ์ (บริษัท จีโนมโมเลกุล แลบบอราตอรี่ จำกัด)
ส่วนงานหลัก
ผู้ดำเนินการร่วม
บริษัท จีโนมโมเลกุล แลบบอราตอรี่ จำกัด สำนักอนามัย (สำนักป้องกันและบำบัดการติดยาเสพติด)
ส่วนงานร่วม