Good Health and Well-Being

สร้างหลักประกันการมีสุขภาวะที่ดี และส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีสำหรับทุกคนในทุกช่วงวัย

มหาวิทยาลัยมหิดลมีความเข้มแข็งทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ โดยได้ผลิตผลงานวิจัยและนวัตกรรมที่มีส่วนช่วยในการพิจารณาการรักษาโรคและให้ความรู้ทางด้านสุขภาพแก่ประชาชน และในแต่ละปีมหาวิทยาลัยได้ผลิตบัณทิตทางการแพทย์อย่างต่อเนื่อง และมีโรงพยาบาลในสังกัดถึง 8 แห่งที่พร้อมให้การดูแลรักษาประชาชน ครอบคลุมในทุกโรค โดยได้ให้การรักษาผู้ป่วยในระยะเวลา 2 ปี (ตั้งแต่ พ.ศ. 2563 - 2564) แบ่งเป็นผู้ป่วยนอก 11,766,282 ราย ผู้ป่วยใน 284,931 ราย ผู้ป่วยทันตกรรม 1,094,908 ราย ซึ่งทางมหาวิทยาลัยได้ให้การสนับสนุนค่ารักษาพยาบาลแก่ผู้ป่วยที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ ระหว่างปี พ.ศ. 2563 - 2564 ไปกว่า 4,213,371,169.45 บาท ช่วยลดความเหลื่อมล้ำและเพิ่มสิทธิการเข้าถึงการรักษาพยาบาลให้ทั่วถึงยิ่งขึ้น นอกจากการรักษาพยาบาล มหาวิทยาลัยยังมีศูนย์วิจัยโรคเฉพาะทางหลากสาขา เช่น ศูนย์โรคหลอดเลือดสมอง ศูนย์ไตเทียม ศูนย์มะเร็ง เป็นต้น ทางมหาวิทยาลัยยังมีส่วนสำคัญในการผลักดันโครงการต่าง ๆ ที่ช่วยส่งเสริมการสร้างสุขภาพที่แข็งแรง ทั้งในระดับชุมชนและในระดับประเทศ รวมทั้งเป็นผู้จัดกิจกรรมในการให้ความรู้เกี่ยวกับโรคชนิดต่าง ๆ เช่น กิจกรรมถ่ายทอดสดการให้ความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์ในวันเอดส์โลก กิจกรรมงานสัปดาห์วันมะเร็งโลก กิจกรรมวันโรคอ้วน และแนะนำวิธีการออกกำลังกายที่ถูกต้อง เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีศูนย์ให้คำปรึกษาปัญหาทางด้านสุขภาพจิตให้กับนักศึกษาและประชาชนทั่วไป และ มีคลินิกวัยทีนที่พร้อมให้คำปรึกษาเยาวชนเกี่ยวกับปัญหาต่าง ๆ เมื่อเข้าสู่วัยรุ่น เช่น ปัญหาการติดยาเสพติดปัญหาการมีเพศสัมพันธ์ พร้อมบริการฟิตเนสและสนามกีฬาหลายประเภทสำหรับนักศึกษาและบุคลากร ในมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดลเป็นมหาวิทยาลัยปลอดบุหรี่ มีการรณรงค์ให้ประชาชนเห็นถึงผลเสีย ของการสูบบุหรี่และเลิกสูบบุหรี่เพื่อสุขภาพที่แข็งแรง ในระดับกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน มหาวิทยาลัยยังเป็นผู้นำในการขับเคลื่อนกิจกรรมส่งเสริมสุขภาวะ ในฐานะผู้นำองค์ความรู้ และเป็นต้นแบบสำหรับมหาวิทยาลัยสมาชิกเครือข่ายส่งเสริมสุขภาพในเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน (Asean University Network – Health Promotion Network : AUN – HPN) อีกด้วย

Highlights
  • thumb
    03 17
    9 มิ.ย. 2565
    โครงการสร้างพื้นที่ปลอดโรคพิษสุนัขบ้า
    โรคพิษสุนัขบ้าเป็นโรคติดต่อจากสัตว์สู่คนที่อันตรายร้ายแรงซึ่งก่อให้เกิดความสูญเสียทั้งชีวิต ทรัพยากร และเศรษฐกิจ สำหรับประเทศไทยในปัจจุบันยังคงพบรายงานการติดเชื้อโรคพิษสุนัขบ้าได้ทั้งในคนและในสัตว์ ด้วยเหตุนี้ปัญหาดังกล่าวจึงมีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งที่จักต้องเร่งรัดกำจัดโรคพิษสุนัขบ้าให้หมดไป เพื่อร่วมขจัดปัญหาข้างต้น โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล จึงได้ร่วมกับองค์กรต่างๆ อาทิเช่น คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดนครสวรรค์ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ร่วมจัดโครงการสร้างเขตปลอดโรคพิษสุนัขขึ้นมา โดยมีกิจกรรมการรณรงค์ให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันโรคพิษสุนัข พร้อมกับมีการให้บริการการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า และการให้บริการทำหมันแก่สุนัขและแมวจรจัด ในพื้นที่ต่างๆ โดยเริ่มต้นที่ ต.เขาทอง อ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์แล้วขยายความร่วมมือไปยังพื้นที่อื่นๆ ในจ.นครสวรรค์เพิ่มเติม ซึ่งกิจกรรมเหล่านี้ได้มีการจัดขึ้นอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2557
  • thumb
    03
    20 ก.ค. 2566
    การบูรณาการการเรียนการสอน Healthy School และปรับสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการลดความเสี่ยงโรคติดต่อไม่เรื้อรัง (NCDs)
    จากสถานการณ์ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคติดต่อไม่เรื้อรังที่เพิ่มสูงขึ้น ประเทศไทยตระหนักถึงปัญหาสำคัญที่ส่งผลเสียและเป็นภัยคุกคามต่อสุขภาพนี้ และถือว่าเป็นความท้าทายอย่างยิ่งสำหรับการดำเนินงานเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาดังกล่าว ซึ่งนำไปสู่วางแผนการดำเนินการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ต่าง ๆ เช่น ยุทธศาสตร์การป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อ และยุทธศาสตร์สุขภาพที่ดีวิถีชีวิตไทย เป็นต้น โดยใช้แนวทางการทำงานหลายภาคส่วนในการร่วมกัน (multi-sectoral collaboration) ผลักดันให้เกิดแนวทางแก้ไขปัญหา รวมถึงมาตรการต่าง ๆ เพื่อควบคุมและหาแนวทางการลดความเสี่ยงของการเกิดโรค NCDs โดยมีกระทรวงสาธารณสุขและกระทรวงการคลังที่มีบทบาทสำคัญในการถ่ายทอดองค์ความรู้ และหลักฐานเชิงประจักษ์ ที่สำคัญและจำเป็นในการดำเนินงาน ทั้งนี้ประเทศไทยได้มีการขับเคลื่อนการป้องกัน NCDs อย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้นตามกรอบการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ในปี 2030 เพื่อให้ผลของการขับเคลื่อนการป้องกันและควบคุมโรค NCDs มีความยั่งยืน สร้างองค์ความรู้ให้ประชาชน ให้มีความรอบรู้ด้านสุขภาพ ส่งผลต่อการป้องกันปัจจัยเสี่ยงที่มีโอกาสเกิดโรค NCDs แก่เด็ก และการเกิดโรค NCDs เมื่ออายุมากขึ้น สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ในฐานะที่เป็นหน่วยงานที่มีความสำคัญในการขับเคลื่อนการสร้างความรอบรู้ในการดูแลสุขภาพของกลุ่มวัยเด็ก ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนที่ 4 ที่เน้นคุณภาพทางการศึกษา (Goal 4: Quality Education) เพราะการศึกษามีอิทธิพลต่อการป้องกันและควบคุมโรค NCDs โดยเฉพาะในช่วงวัยเรียนและวัยรุ่น ซึ่งจากอดีตจนถึงปัจจุบันกระทรวงศึกษาธิการได้พยายามดำเนินการจัดการเรียนการสอนเกี่ยวกับการสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี และกิจกรรมโครงการเกี่ยวกับสุขภาพในโรงเรียนต่าง ๆ ร่วมกับหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และมีศักยภาพอย่างเต็มที่ในการที่จะเชื่อมโยงเนื้อหาที่เป็นเหตุปัจจัยและผลของพฤติกรรมที่เป็นความเสี่ยงของการเกิดโรคอย่างชัดเจนและเป็นรูปธรรม หากมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง และมีกลไกในการเพิ่มองค์ความรู้ ตลอดจนได้รับการสนับสนุนจากผู้บริหารระดับสูงภายใน สพฐ. ดังนั้นเพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนที่มีประสิทธิภาพสู่การบรรลุเป้าหมายอย่างยั่งยืน และให้การเรียนการสอนสุขศึกษาและพฤติกรรมสุขภาพของเด็กเป็นการเรียนการสอนเพียงแค่ในตำรา แต่ปรับรูปแบบนำไปสู่การปฏิบัติจริง โดยให้ความสำคัญมุ่งเน้นไปที่การทำองค์ความรู้ที่ได้ไปถ่ายทอดให้ผู้บริหาร (Knowledge Translation) นำไปผลักดันให้เกิดเป็นนโยบายในการแก้ไขปัญหา อีกทั้งการเรียนการสอนไม่ใช่หน้าที่ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานองค์กรเดียว แต่เป็นการนำแนวคิดของความร่วมมือของภาคส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องร่วมกันดำเนินการ (multi-sectoral collaboration) เพื่อมุ่งเตรียมทรัพยากรที่มีคุณภาพในอนาคต ด้วยการบูรณาการรวมกันระหว่างสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน องค์กรภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ผู้ปกครอง และเด็ก เพราะกิจกรรมไม่ใช่มุ่งเน้นเฉพาะเด็กอย่างเดียว แต่ต้องดำเนินการกิจกรรมผสานกันระหว่างโรงเรียนและบ้าน จึงนำมาสู่แนวทางการศึกษาในครั้งนี้ด้วยการทบทวนและสังเคราะห์กระบวนการทางนโยบาย และการนำไปใช้ประโยชน์ของการป้องกันโรค NCDs รวมถึงการสร้างต้นแบบกิจกรรม (Showcase) เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาคู่มือสุขภาพเด็กนักเรียนที่จะนำไปสู่การป้องกันโรค NCDs อย่างยั่งยืน และสร้างข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและการขับเคลื่อนไปสู่การปฏิบัติอย่างแท้จริง
  • thumb
    03 16 17
    28 มิ.ย. 2566
    โครงการเสวนาวิชาการ เรื่อง “กัญชา เสรี จะดีหรือร้าย?”
    การเสวนาวิชาการ เรื่อง “กัญชา เสรี จะดีหรือร้าย” เสวนาในมิติกฎหมายการแพทย์ และผลกระทบต่อเยาวชน เป็นโครงการเสวนาวิชาการภายใต้ความร่วมมือระหว่างหลักสูตรปรัชชาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาอาชญาวิทยา การบริหารงานยุติธรรมและสังคม (ภาคพิเศษ) คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และฝ่ายบริการวิชาการ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัย มีจุดมุ่งหมายเพื่อแสดงสาระสำคัญของข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับกัญชา และเปิดโอกาสให้สาธารณชนได้ทราบถึงประโยชน์ทางการแพทย์ และโทษของกัญชาที่ส่งผลกระทบต่อเยาวชนซึ่งจะทำให้ประชาชนเข้าใจวิธีการและรูปแบบการใช้กัญชาที่ถูกต้องเหมาะสม และยังช่วยลดปัญหาการใช้กัญชาไม่เหมาะสมในเยาวชนที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต โดยได้จัดขึ้นในวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ.2565 เวลา 09.00-11.00 น. ในรูปแบบออนไลน์ผ่านระบบ Zoom Meeting
  • thumb
    03
    27 มิ.ย. 2566
    กิจกรรม “การดูแลกายใจตัวเองด้วยรูปแบบการช่วยเหลือทางจิตวิทยาแบบความเข้มข้นต่ำ (Low intensity-Intervention)” ภายใต้โครงการเพื่อนใจวัยรุ่น
    กิจกรรม “การดูแลกายใจตัวเองด้วยรูปแบบการช่วยเหลือทางจิตวิทยาแบบความเข้มข้นต่ำ (Low intensity-Intervention)” ภายใต้โครงการเพื่อนใจวันรุ่น ในวันที่ 24 มีนาคม 65 เวลา 13.00 - 16.30 น.รูปแบบออนไลน์ผ่านโปรแกรม Zoom Meeting เพื่อมาทำความรู้จัก รูปแบบการช่วยเหลือทางจิตใจที่ผนวกวิธีกระตุ้นการทำงานของสมอง รวมกำลังข้ามสิ่งที่ขัดขวางเพื่อไปสู่เป้าหมายใหม่ ความมั่นคงภายในใจ ความเข้มแข็ง ให้คำแนะนำปรึกษาเกี่ยวกับการดูแลกายใจ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นในประเด็นทางสังคม พร้อมทั้งเป็นช่องทางหนึ่งในการพบปะและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ร่วมกันระหว่างพี่น้องนักศึกษาปัจจุบันและศิษย์เก่าภาควิชาสังคมและสุขภาพที่เรียนรายวิชาจิตวิทยาสุขภาพ
  • thumb
    03 12 17
    11 มี.ค. 2565
    ประเทศไทยปลอดไขมันทรานส์
    งานวิจัยเรื่อง “ประเทศไทย, ประเทศปลอดไขมันทรานส์” ดำเนินการโดยสถาบันโภชนาการมหาวิทยาลัยมหิดลพบว่าความเข้มข้นของกรดไขมันทรานส์ในอาหารต่าง ๆ สูงกว่าค่ามาตรฐาน WHO (> 0.5 กรัม / มื้อ) เพิ่มความเสี่ยงของ โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ
  • thumb
    03 04 17
    9 มี.ค. 2565
    การควบคุมป้องกันโรคธาลัสซีเมีย
    โรคธาลัสซีเมียและฮีโมโกลบินผิดปกติ เป็นโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมที่พบบ่อยที่สุดในโลกรวมถึงประเทศไทย ประมาณร้อยละ 5.2 ของประชากรโลกเป็นพาหะของโรคธาลัสซีเมียและฮีโมโกลบินผิดปกติ ความเสี่ยงของการมีบุตรที่เป็นโรคธาลัสซีเมียและฮีโมโกลบินผิดปกติสูงถึงร้อยละ 1.1 ของคู่แต่งงานของประชากรทั้งโลก หรือ 2.7 คน ใน 1,000 คน การป้องกันและควบคุมโรคธาลัสซีเมียชนิดรุนแรงให้มีผู้ป่วยเกิดใหม่ลดลงจึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง โดยในช่วงระหว่างปีพ.ศ 2560-2564 ศูนย์วิจัยธาลัสซีเมียได้ให้บริการปรึกษาทางพันธุศาสตร์แก่หญิงตั้งครรภ์และสามีที่มีความเสี่ยงต่อการมีบุตรเป็นโรคธาลัสซีเมีย ณ คลินิกธาลัสซีเมีย โรงพยาบาลนครปฐม จำนวน 129 ราย และได้ให้คำแนะนำเพื่อทำการตรวจวินิจฉัยก่อนคลอดด้วยวิธีการเจาะน้ำคร่ำ (amniocentesis) สำหรับหญิงตั้งครรภ์ที่มีโอกาสมีบุตรเป็นโรคธาลัสซีเมียชนิดรุนแรง 3 โรค ที่ทางกระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายในการควบคุมและป้องกัน อีกจำนวน 49 ราย ทำให้ลดภาระค่าใช้จ่ายในการรักษาผู้ป่วยธาลัสซีเมียของครอบครัวและกระทรวงสาธารณสุขได้ วัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาการตรวจวินิจฉัยโรคและพาหะด้วยเทคนิคระดับเซลล์ โปรตีน และอณูพันธุศาสตร์ ที่รวดเร็วแม่นยำ และนำไปใช้ประโยชน์สำหรับเป็นแนวทางการวินิจฉัยและการรักษาโรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย และเป็นแนวทางสำหรับดูแลรักษาผู้ป่วยธาลัสซีเมียในเวชปฏิบัติทั่วไป
  • thumb
    16 พ.ค. 2566
    งานนิทรรศการทันตสุขภาพ “เพื่อฟันที่คุณรัก”
    คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และสโมสรนักศึกษาทันตแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลปิ่นเกล้า เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร ในการจัดกิจกรรมดังกล่าว เพื่อเป็นการหารายได้สมทบทุนมูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวเริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2527 จนถึงปัจจุบัน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการให้ความรู้ คำแนะนำในการป้องกันโรคและแนวทางการรักษาทางทันตกรรม เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนเล็งเห็นถึงความสำคัญของการรักษาสุขภาพช่องปากและฟัน เพื่อเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับทันตสุขภาพให้กับประชาชน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมเสริมหลักสูตรให้กับนักศึกษาทันตแพทย์ ในการสร้างจิตสำนึกในการทำงานเพื่อสังคม กิจกรรมภายในงานประกอบด้วยนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร นิทรรศการทันตสุขภาพ การประกวดหนูน้อยฟันสวยชิงถ้วยประทาน พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าโสมสวลีพระวรราชาทินัดดามาตุ พร้อมทุนการศึกษา การให้บริการตรวจสุขภาพช่องปากและฟันแก่ประชาชนทั่วไปโดยไม่คิดมูลค่า และการออกร้านสอยดาวหารายได้สมทบทุนมูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย สมทบทุนมูลนิธิคณะทันตแพทยศาสตร์มหิดล เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยยากไร้และด้อยโอกาส และมอบทุนการศึกษาแก่นักเรียนที่เรียนดีแต่ขาดแคลนทุนทรัพย์ของคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลด้วย
  • thumb
    15 พ.ค. 2566
    การศึกษาเปรียบเทียบความพึงพอใจของอุปกรณ์ดามที่ผลิตจากเทอร์โมพลาสติกที่พัฒนาขึ้นเองโดยมีต้นทุนต่ำกับอุปกรณ์ดามที่ผลิตจากเทอร์โมพลาสติกที่ใช้ในทางการค้า
    งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาเปรียบเทียบความพึงพอใจในการใช้งานอุปกรณ์ดามที่ผลิตจากเทอร์โมพลาสติกที่พัฒนาขึ้นเองโดยมีต้นทุนต่ำกับอุปกรณ์ดามที่ผลิตจากเทอร์โมพลาสติกที่ใช้ในทางการค้า โดยใช้แบบสอบถามอิเล็กทรอนิกส์และการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก
  • thumb
    03 09 17
    9 มิ.ย. 2565
    สภาพแวดล้อมเสมือนสำหรับการฝึกฝนผ่าตัดทางทันตกรรม
    ระบบจำลองทางทันตกรรมภายในความเป็นจริงเสมือนที่จำลองสภาพแวดล้อมของห้องผ่าตัดทางทันตกรรมแบบสามมิติ
  • thumb
    25 ส.ค. 2565
    โครงการปฐมวัยสาธิต
    ศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัย ส่งเสริมประสบการณ์ และการเรียนรู้ เพื่อเตรียมความพร้อมและส่งเสริมศักยภาพเด็กปฐมวัย ทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม จิตใจ และกระบวนการรู้คิด
  • thumb
    26 ส.ค. 2565
    โครงการการขยายผลและพัฒนาความช่วยเหลือ กลุ่มเด็กปฐมวัยยากจนในสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย และ เด็กปฐมวัยนอกระบบ ในกรุงเทพมหานคร
    การพัฒนาและสร้างความเข้มแข็งให้กับกลไกสร้างความเสมอภาคทางการศึกษาร่วมกับภาคีความร่วมมือของหน่วยงานในการดูแลช่วยเหลือกลุ่มเด็กปฐมวัยในเขตกรุงเทพมหานคร และพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศเพื่อการวางแผนลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา และติดตามช่วยเหลือกลุ่มเด็กปฐมวัย
  • thumb
    03 04
    23 ม.ค. 2566
    การปลูกถ่ายสเต็มเซลล์ของผิวกระจกตาโดยไม่ต้องอาศัย การเพาะเลี้ยงและใช้ สเต็มเซลล์ปริมาณน้อย (วิธี SLET: Simple Limbal Epithelial Transplantation)
    ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัด ปลูกถ่ายสเต็มเซลล์ผิวกระจกตาด้วยวิธี SLET สามารถกลับมามองเห็นได้ ใช้ชีวิตได้อีกครั้ง
จำนวนทั้งหมด 126 รายการ