พัฒนามาตรการคุ้มครองความเสี่ยงเด็ก

detail

การบาดเจ็บเป็นปัญหาสำคัญที่เป็นสาเหตุนำการตายในเด็กไทยในปัจจุบัน และยังมีแนวโน้มที่จะก่อปัญหามากขึ้นอีกในอนาคต ดังนั้นจึงมีความจำเป็นเพื่อสร้างองค์ความรู้และนำไปสู่การปฏิบัติ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเปลี่ยนแปลงทั้งพฤติกรรม สิ่งแวดล้อม และนโยบายสาธารณะ การให้ความรู้แก่ประชาชนในวงกว้าง สร้างกระแสสังคม เคลื่อนไหวผู้กำหนดนโยบายในเวลาเดียวกัน

พัฒนามาตรการคุ้มครองความเสี่ยงเด็ก
 
ศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก Child Safety Promotion and Injury Prevention Research Center (CSIP) คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ทำการวิจัยเพื่อพัฒนามาตรการเพื่อลดความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตของเด็กจากอุบัติเหตุทางรถจักรยานยนต์และการจมน้ำ พบว่ามีเด็กเสียชีวิตจากมอเตอร์ไซค์ปีละ 600-700 คน โดยไม่สวมหมวกกันน็อก ความยุ่งยากคือการไม่มีความรู้เดิมในการสวมหมวกกันน็อก จึงทําการศึกษาตลาดหมวกกันน็อกว่ามีขนาดเท่าใดบ้าง ซึ่งพบว่าหมวกกันน็อกเล็กสุดยังหนักเกือบ 1 กิโลกรัม ขนาดก็ใช้ได้ตั้งแต่ 7-8 ขวบขึ้นไป และไม่มีขนาดเล็กกว่านั้นเลย

ต่อมามีการประชุมผู้ผลิตหมวกกันน็อก และให้ผู้ผลิตจัดทําหมวกกันน็อกในแบบที่เหมาะสมออกมา แล้วนําไปทดสอบตามกระบวนการมาตรฐานต่างๆ โดยพบว่าใช้ได้ในเด็กตั้งแต่อายุ 2 ขวบขึ้นไป ทำให้มีผู้ผลิตทําออกมาขายกันมากขึ้น และได้ทําวิจัยต่อไปอีกว่ามีการสวมหมวกกันน็อกจริงหรือไม่ โดยพบว่าการสวมหมวกกันน็อกมีอัตราที่ไม่น่าพึงพอใจ ยังไม่พบการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอย่างที่ควร จึงกลับมาเน้นเรื่องการรณรงค์ให้เข้มข้นมากขึ้นไปอีก

การวิจัยนี้ก็แสดงให้เห็นว่า  งานวิจัยทางด้านอุบัติเหตุ  ต้องค้นพบแนวทางการป้องกันแล้วยังต้องสามารถเปลี่ยนพฤติกรรมอีกด้วย  งานวิจัยจึงต้องมีหลายมิติ  หากผู้รับนโยบายนําไปทําแล้วไม่สําเร็จ ควรมีงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับผลลัพธ์ของการนํานโยบายไปใช้ด้วยโดยผลลัพธ์ของการวิจัยนี้ได้รับการยอมรับจากกระทรวงสาธารณสุขสำหรับการพัฒนานโยบายเพิ่มเติม

 
Partners/Stakeholders

-

ผู้ดำเนินการหลัก
รศ.นพ.อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์
ส่วนงานหลัก