ศูนย์สุขภาพชุมชนซอยสวนเงิน

detail

ศูนย์สุขภาพชุมชนซอยสวนเงิน เป็นรูปแบบการจัดการดูแลและสร้างเสริมสุขภาพของประชาชนในชุมชนอย่างเป็นระบบ ด้วยการเก็บข้อมูลสถานการณ์สุขภาพประชาชน เพื่อวิเคราะห์ วางแผน และพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพในหลายมิติ โดยใช้สมรรถนะหลักด้านสร้างเสริมสุขภาพของชุมชน ผ่านกลไกของศูนย์สร้างเสริมสุขภาพและสุขภาวะของคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี

ศูนย์สุขภาพชุมชนซอยสวนเงิน เป็นรูปแบบการจัดการดูแลและสร้างเสริมสุขภาพของประชาชนในชุมชนอย่างเป็นระบบ ด้วยการเก็บข้อมูลสถานการณ์สุขภาพประชาชน เพื่อวิเคราะห์ วางแผน และพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพประชาชนในหลายมิติ โดยใช้สมรรถนะหลักด้านสร้างเสริมสุขภาพของชุมชน ผ่านกลไกของศูนย์สร้างเสริมสุขภาพและสุขภาวะของคณะฯ เพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยแบ่งกลุ่มการทำงานร่วมกับชุมชน ดังนี้ 
1. ชุมชนที่รับผิดชอบบริเวณใกล้เคียงมี 8 ชุมชน 
2. ชุมชนผู้ป่วยตามกลุ่มโรค (Self – help Group) 
3. ชุมชนอื่นๆ (ชุมชนพื้นที่ปฏิบัติการ) 

การดำเนินการ
ระยะที่ 1 การศึกษาสถานการณ์ด้านสุขภาพของประชาชนในชุมชน
การวิเคราะห์สถานการณ์ด้านสุขภาพของประชาชนในชุมชนซอยสวนเงิน ปี พ.ศ.2561 โดยแบ่งเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มเด็ก (อายุ 0 – 14 ปี), กลุ่มวัยทำงาน (อายุ 15 – 59 ปี) และกลุ่มผู้สูงอายุ (อายุ 60 ปีขึ้นไป) พบว่ากลุ่มสูงอายุและกลุ่มวัยทำงานจะมีความเสี่ยงและปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับโรค NCDs สูงกว่ากลุ่มเด็ก เนื่องจากพฤติกรรมการดูแลสุขภาพส่วนบุคคล ในด้านการทานอาหารไม่ถูกต้องตามหลักโภชนาการ และขาดการออกกำลังกาย
 
ระยะที่ 2 การวางแผน กำหนดเป้าหมายและเตรียมความพร้อม 
จากข้อมูลปัญหาสถานการณ์ด้านสุขภาพของประชาชนในชุมชนสวนเงิน จึงจัดทำโครงการสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพ จำนวน 13 โครงการ เพื่อการสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคโดยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้ 
2.1 การดำเนินโครงการลักษณะกลุ่มขนาดใหญ่ (ผู้เข้าร่วม 50 คนขึ้นไป) มุ่งเน้นการสร้างเสริมสุขภาพแบบให้ความรู้ และวัดผลลัพธ์เชิงความรู้หลังการดำเนินโครงการ ได้แก่
- โครงการป้องกันโรคไข้เลือดออก
- โครงการป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า 
- โครงการเฒ่าทันโรค เท่าทันสื่อ
- โครงการคนต้นแบบสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโควิด – 19 
- โครงการวิถีชีวิตใหม่ ควบคุมโรคภัย ห่างไกลบุหรี่ 
2.2 การดำเนินโครงการลักษณะกลุ่มขนาดปานกลางและเล็ก (ผู้เข้าร่วม 2–50 คน) มุ่งเน้นการสร้างเสริมสุขภาพแบบมีส่วนร่วม วัดผลลัพธ์เชิงความเข้าใจและการนำไปปฏิบัติ ได้แก่
- โครงการเด็กดีมีสุขอนามัย 
- โครงการสูงวัยใส่ใจสุขภาพ 
- โครงการโภชนาการเพื่อลดโรคอ้วนในเด็ก 
2.3 การดำเนินโครงการลักษณะรายบุคคล มุ่งเน้นการสร้างเสริมสุขภาพเพื่อปฏิบัติจริง มีการติดตามอย่างต่อเนื่อง วัดผลลัพธ์เชิงการเปลี่ยนแปลงภาวะสุขภาพ ได้แก่
- โครงการคัดกรองและป้องกันโรคเบาหวาน 
- โครงการลดน้ำหนักในกลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรัง
- โครงการลดเค็ม ลดโรค 
- โครงการลดระดับน้ำตาลในผู้ป่วยโรคเบาหวาน 
- โครงการลด ละ เลิกสูบบุหรี่ในวัยทำงาน 
 
ระยะที่ 3 การดำเนินการขับเคลื่อนสู่การเปลี่ยนแปลง ตามปัญหาและความต้องการของชุมชน 
การดำเนินขับเคลื่อนสู่การเปลี่ยนแปลง มีกระบวนการดังนี้ 
 
 
ระยะที่ 4 การทดสอบและติดตามประเมินผลลัพธ์
การทดสอบและติดตามประเมินผลลัพธ์เพื่อปรับปรุงการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องในการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกัน รักษาและฟื้นฟูสภาพ การติดตามตัวชี้วัดจะใช้กระบวนการ 3C-PDCA ดังนี้
                               
 

 

Partners/Stakeholders

1. งานสร้างเสริมสุขภาพ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

2. โรงพยาบาลรามาธิบดี

3. โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี  

4. ชุมชนซอยสวนเงิน

5. สำนักงานเขตราชเทวี  

6. ศูนย์บริการสาธารณสุข 2  

7. สถานบริการสุขภาพรอบชุมชน เช่น สถาบันประสาทวิทยา สถาบันมะเร็งแห่งชาติ เป็นต้น

ผู้ดำเนินการหลัก
งานสร้างเสริมสุขภาพ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
ส่วนงานหลัก